กรุงเทพฯ--28 ส.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
ชื่อผลงาน การตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงโดยใช้ผงฝุ่นนาโนซิลิกาที่สังเคราะห์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
คณะผู้จัดทำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
แนวคิดที่มา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ผงฝุ่นนาโนซิลิกาจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวของวัตถุพยาน โดยนำแกลบมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลิกา (SiNPs) ที่มีความบริสุทธิ์สูงถึง 99.8 % หลังจากนั้นจึงนา SiNPs ที่สังเคราะห์ได้มาเคลือบพื้นผิวอนุภาคด้วยสีย้อมจากธรรมชาติและสีย้อมเรืองแสง จะได้ผงฝุ่นสีที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 42 nm และผงฝุ่นเรืองแสงที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 25 nm ซึ่งสามารถนาไปใช้ในการหารอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิววัตถุพยานได้ทุกประเภท ทั้งพื้นผิวที่มีรูพรุน เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร และกระดาษเทอร์มอล พื้นผิวกึ่งรูพรุน เช่น ธนบัตร และแผ่นหนัง และพื้นผิวไม่มีรูพรุน เช่น กระจก โลหะ อลูมิเนียมฟอยล์ และถุงพลาสติก โดยผงฝุ่นสีเหมาะสมสาหรับการนาไปหารอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวเรียบและผงฝุ่นเรืองแสงเหมาะสมสำหรับพื้นผิวขรุขระ โดยอาศัยวิธีการกดทับซึ่งไม่ทาลายลายเส้นแทนการใช้วิธีการปัดผงฝุ่นดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สำหรับรอยลายนิ้วมือที่ปรากฏขึ้น สามารถนำไปใช้ยืนยันอัตลักษณ์บุคคลได้ โดยการชี้จุดลักษณะสำคัญพิเศษตามมาตรฐานสากล ผลจากงานวิจัยนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดการใช้งบประมาณภาครัฐในการนาเข้าสารเคมีสำเร็จรูปสาหรับหารอยลายนิ้วมือแฝง
รางวัลที่ได้รับ รางวัลถ้วยพระราชทาน ระดับอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไป หมวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี