กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล
ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำและผู้ที่อยู่ในกลุ่มชายขอบจะมีโอกาสปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้อย่างไร
แนวทางในการปรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การทำงานร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ สามารถแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยได้อย่างไร
ประเด็นเหล่านี้จะเป็นประเด็นที่ใช้ในการร่วมอภิปรายในการประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 7 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16-19 กันยายน 2562 ที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ฟอรัมนี้จัดขึ้นโดยองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล และพันธมิตร โดยงานนี้จะรวบรวมผู้นำวงการ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัย และนักคิดรุ่นใหม่ในวงการธุรกิจที่อยู่อาศัย ภายใต้หัวข้อ "การร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผลกระทบด้านที่อยู่อาศัย" ซึ่งเป็นประเด็นที่จะดึงดูดผู้เกี่ยวข้องจากหลากหลายภาคส่วนมาร่วมค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่พักอาศัยไม่เพียงพอและย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำ
ฟอรัมนี้มีจุดประสงค์ในการอภิปรายให้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ การสร้างและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มีความสามารถในการส่งผลกระทบในเชิงบวกและผลักดันความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำ การรับรู้และดำเนินการเกี่ยวกับความสำคัญของที่พักพิงในฐานะตัวขับเคลื่อนของการรวมความยืดหยุ่นและความยั่งยืนในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และการส่งเสริมผู้นำและผู้เกี่ยวข้องด้วยนวัตกรรมและโครงการบ้านจัดสรรที่มีผลกระทบสูงผ่านการแบ่งปันแนวทางในการปฏิบัติที่ดีที่สุด
"การประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นั้นเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในประเด็นด้านที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรการเงินระดับฐานรากที่ให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อย" คุณอรุนา โลกัส ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งก่อน และ ผู้จัดการบริษัท Micro Housing and Enterprise Development LOLC Finance สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในศรีลังกา กล่าว นอกจากนี้ เธอยังกล่าวเสริมว่า "การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ฉันสามารถรวบรวมความรู้และความคิดจากการประชุมนำไปต่อยอดได้ โดยการนำไปใช้ในบริบทท้องถิ่นได้อีกด้วย"
การประชุมที่ผ่านมายังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ต่อยอดและปฏิบัติจริงทั่วประเทศโดยเฉพาะแคมเปญ "Sensitise 2 Sanitise" ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแคมเปญที่มูลนิธิที่อยู่อาศัย อินเดีย ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลอีก 15 แห่งจากภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน การร่วมมือกันครั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมซึ่งได้มาจากการประชุมด้านที่อยู่อาศัย ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จัดขึ้นในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียอีกด้วย
ความสำเร็จที่เกิดจากการร่วมมือกันนั้นสามารถช่วยเหลือประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยผ่านแนวทางที่มีความยั่งยืนและหลักฐานเชิงประจักษ์
โดยการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมมากกว่า 400 คน นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมของเยาวชนและหลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการเสริมสร้างความมั่นคงของที่ดินเพื่อการฟื้นฟูจากภัยพิบัติจัดโดยมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล ร่วมกับมหาวิทยาลัย ITC-University of Twente ที่มากไปกว่านั้น จะมีการให้รางวัลนวัตกรรมการแก้ปัญหาทันสมัยที่นำไปสู่บ้านเมืองปลอดภัยยืดหยุ่นและยั่งยืน การประชุมครั้งนี้ยังมีการแทรกและแสดงตัวอย่างที่อยู่อาศัยที่ประสบความสำเร็จในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองภัยพิบัติความยืดหยุ่นและการพัฒนาชุมชน โครงการและความคิดริเริ่มจากการประชุมครั้งนี้ได้ผ่านการปฏิบัติจริงมาแล้วจากองค์กรต่างๆ และขยายขอบเขตการปฏิบัติไปในระดับภูมิภาค
คุณทิม โล้ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิที่อยู่อาศัย ประเทศไทย กล่าวว่า "งานของมูลนิธิที่อยู่อาศัยยึดหลักการ "'Through shelter, we empower" ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและราคาไม่แพงนั้นเป็นพื้นฐานในการช่วยให้มนุษย์มีความแข็งแกร่ง มั่นคง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ พวกเขาต้องการที่อยู่อาศัยในการสร้างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับตนเองและครอบครัว สิ่งที่ดีไปกว่าการระดมอาสาสมัครและสร้างบ้านที่อยู่อาศัย คือการสร้างผลกระทบที่แท้จริง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับโลกที่ทุกคนมีที่อยู่อาศัยที่คุณภาพดี"
"การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมากของ Habitat ที่มีจุดมุ่งหมายในการเป็นผู้นำในการสร้างการรับรู้ที่อยู่อาศัยในฐานะที่เป็นรากฐานที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคเพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี รวมไปถึงมีความมั่นคงทางการเงิน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนกี่ยวข้องทุกภาคส่วน"
ฟอรัมการเคหะแห่งเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 7 ได้รับการสนับสนุนโดย Ananda Development, Hilti Foundation, HMTX Industries และ Bloomberg พันธมิตรอื่นๆ ได้แก่ UN-Habitat Cities Alliance สภากาชาดระหว่างประเทศและสภาเสี้ยววงเดือนแดง World Bank Arup และมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย