กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--ชนัฎพลัส กรุ๊ป
บริษัท ชนัฎพลัส กรุ๊ป จำกัด ผุดโปรเจค "แม่ให้เล่น" ภายใต้สโลแกน แค่คุณหยิบมือถือออกจากมือลูกคุณได้ ลูกคุณก็ก้าวนำหน้าคนอื่นไปหนึ่งก้าวแล้ว" โดยคุณสรัลรัศมิ์ สุวรรณโน ได้มองเห็นกระแสและการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ของวงการ AI รวมถึงอยากจะทำอะไรก็ได้ที่ทำให้เด็กได้เรียนที่เหมือนกับการเล่น จึงมีการนำเข้านวัตกรรมใหม่ Education Robot เข้ามาเพื่อตอบโจทย์ทุกอย่างให้ง่ายขึ้น
ทำไมถึงคิดว่าเด็กวัยอนุบาลจะต้องมี Education Robot
คุณสรัลรัศมิ์ ผู้บริหาร บริษัท ชนัฎพลัส กรุ๊ป จำกัด ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปที่คิดว่าจะนำเจ้าตัวนี้เข้ามาคือมองเห็นโจทย์ 2 โจทย์ที่อยากจะแก้ คือ โจทย์ข้อแรก เห็นว่าตอนนี้ในเรื่องของ หุ่นยนต์ AI มันมาแน่ๆ ตามกระแสของโลก คำจำกัดความของหุ่นยนต์ คนไทยส่วนใหญ่ ยังคิดว่ามันคือเรื่องของอุตสาหกรรม หรือรถยนต์บังคับที่วิ่งตามเซ็นเซอร์ และอยู่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน สิ่งที่ใกล้ตัวของคนไทยมากที่สุดในตอนนี้คือ โทรศัพท์มือถือ และแทบเบล็ต เลยมีไอเดียว่าหากมี Education Robot ที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่ได้เริ่มสัมผัส กับคำว่าหุ่นยนต์มากขึ้น เปลี่ยนแปลงความคิดที่ว่าหุ่นยนต์ไม่ใช่แค่เรื่องที่ไกลตัว รวมถึงอยากจะให้เด็กไทยไม่มีแค่ การสื่อสารทางเดียวกับมือถือที่มือถือป้อนอะไรมาเด็กก็จะเป็นแค่ผู้รับอย่างเดียว แต่มันมีทั้งการสื่อสารสองทางที่สามารถตอบโต้ในเรื่องของการเรียนรู้ด้วยตนเอง และบางทีอาจจะเป็นการสื่อสารสามทางโดยที่พ่อแม่ได้เข้ามาส่วนร่วมในการสอน แล้วสนุกไปกับเค้า ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
โจทย์ข้อที่สองคือปัญหาที่หลายๆบ้านเจอคือเด็กเล็กๆ เริ่มงอแง ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่ยอมทำการบ้าน หรือทบทวนบทเรียน เอาจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเด็กเล็กๆ เพราะเด็กมักจะสนุกกับการเล่น หรือติดตามอะไรที่ตัวเองสนใจมากกว่า หลายๆครั้งที่พ่อแม่ ก็คอยหาของล่อตาล่อใจให้เจ้าตัวน้อยยอมลดความเกเรลงบ้าง บางทีก็ให้เล่นเกม เล่นแทบเบล็ต หรือปล่อยให้ดูการ์ตูน ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ผิดแต่ถ้าหากมากจนเกินไป หรือปล่อยให้ทีวีสอนเลี้ยงลูกแทนคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสร้างผลเสียระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมและนิสัยบางอย่างที่อาจจะไม่เป็นผลดีกับเด็กๆในอนาคตได้
เลยคิดว่าตอนนี้ มันมี 2 อย่างแล้วที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและสนับสนุนอย่างจริงจัง เลยมีการศึกษาว่าอะไรจะตอบโจทย์ ของทั้ง 2 คำถามได้ พอดีไปเจอกับเจ้า Wedraw Robot เข้า ข้อแรกคือเค้าคือ AI จริงๆ เหมือนจำลอง แขนกลทางด้าน อุตสาหกรรม แล้วลดขนาดให้มาเป็นของที่เด็กๆ จับต้องได้จะทำให้เด็กรู้สึกคุ้นชินกับคำว่าหุ่นยนต์ AI มากขึ้น ข้อที่ 2 อันนี้สำคัญมากคือ เค้าจะเน้นความสำคัญในเรื่องการตอบโจทย์ของกิจกรรมที่สนุกและเรียนรู้ไปในตัวซึ่งเด็กสามารถทั้งเรียนและเล่นได้โดยไม่รู้สึกเบื่อเลยและพ่อแม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ด้วย ทุกอย่างมันเลยครบจบที่ตัวนี้เลย
เด็กๆ หรือผู้ปกครองจะได้อะไรจากเจ้าตัวนี้บ้าง
คุณสรัลรัศมิ์ ได้เล่าให้ฟังว่า Wedraw เป็นของเล่นที่พัฒนามาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ รวมถึงทักษะการเรียนรู้ของลูกเป็นหลัก ซึ่งเหมาะกับเด็กในวัย 3-8 ปี โดยมีฟังก์ชั่น ต่างๆที่ช่วยให้ลูกรักเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น และมีสมาธิมากขึ้นด้วย รับรองอาการติดเกม ติดแทบเบล็ตจะหายไปในพริบตาเลยทีเดียว คุณสมบัติของเจ้าตัวนี้คือ
- Wedraw เป็นหุ่นยนต์สอนวาดรูป โดยทั้ง สาธิตและอธิบายขั้นตอนการวาดรูป แบบ step by step เลยทีเดียว เหมือนอย่างมีคุณครูสอนศิลปะมาคอยนั่งสอนอยู่ข้างๆยังไงอย่างงั้นเลย
- Wedraw ยังเป็นตัวช่วยสอนภาษาอังกฤษให้เจ้าตัวน้อยของคุณอีกด้วย เพราะหุ่นยนต์ Wedraw นั้น มีฟังก์ชั่นอ่านข้อมูลเพียงนำการ์ดรูปภาพ ซึ่งเป็น การ์ด RFID ที่ใส่ชุดคำสั่งลงไป แล้วนำไปแตะที่ตัวเครื่อง Wedraw ก็ จะอ่านออกมาเป็นภาษาอังกฤษ แบบสำเนียงและสำเนาถูกต้อง แถมแต่ละสเต็ปในการสอนวาดรูปก็สอนเป็นภาษาอังกฤษด้วยอีก
- นอกจากนี้ Wedraw ยังเป็นครูพี่เลี้ยงช่วยติวเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบสนุกสนาน เพราะWedrawจะสอนภาษาอังกฤษ คล้ายๆกับการเล่นเกม เช่นการทายคำศัพท์ โดย Wedraw จะทำการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง ทำให้ลูกคุ้นชินและรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ภาษาไปในตัว
- Wedraw ยังแปลงร่างเป็นครูสอนเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เพราะ Wedraw มีความสามารถในการสอนนับเลขแบบขั้นพื้นฐาน รวมถึงการคิดเลขง่ายๆที่เหมาะกับเด็กเล็กในวัย 3-8 ปี ให้เด็กเพลิดเพลินกับตัวเลขอย่างสนุกสนานไปในตัวเลย
คุณสรัลรัศมิ์ ยังกล่าวอีกว่า ได้เปิดตัวเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ ไปเมื่อวันที่ 29 กันยายน – 1 ตุลาคม 2562 ที่งานไทยเที่ยวไทย เป็นที่แรกในไทย มีพ่อแม่และเด็กๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจที่มีการตอบรับเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังสามารถติดตามข่าวสารของ แม่ให้เล่นได้ ใน
FB: https://www.facebook.com/letusplearn/
Linead : @letusplearn