เอชเอสบีซีชี้สมดุลระหว่างนวัตกรรมและกฎระเบียบนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday September 9, 2019 15:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ก.ย.--ธนาคารเอชเอสบีซี การให้ความสำคัญกับนวัตกรรมดิจิทัลและกฎระเบียบอย่างเท่าเทียมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนที่กำลังขยายตัว ทั้งนี้ใจความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญจากธนาคารเอชเอสบีซีในงาน ASEAN-EU Business Summit ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่า 31,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 และคาดว่าจะขยายตัวเป็น 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม นายจอห์น ชู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารเอชเอสบีซี ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า ความร่วมมือเพิ่มเติมในแนวทางการกำกับดูแลและกฎระเบียบทั่วทั้งภูมิภาคเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้อานิสงส์อย่างเต็มที่จากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเจริญเติบโตนี้ "ขณะที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไร้พรมแดน แต่กฎระเบียบที่กำกับดูแลกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยสามารถก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับธุรกิจระดับโลกที่ประกอบกิจการเทคโนโลยีระดับโลก วิถีทางที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหานี้ทำได้ด้วยการที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่กำกับดูแล และองค์กรภาคธุรกิจต้องทำงานร่วมกันโดยอาศัยความร่วมมือในระดับภูมิภาค" ในอีก 10 ปีข้างหน้า มีประเด็นสำคัญบางเรื่องที่จะเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ รวมถึงการปรับข้อมูลให้เข้ากับท้องถิ่น (Data localisation) เทคโนโลยี Cloud Computing ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ในการแสดงปาฐกถา ธนาคารเอชเอสบีซีได้ให้ข้อเสนอแนะ 4 ประการถึงวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่มีพลวัตและความร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างองค์กรธุรกิจ รัฐบาล และผู้กำกับดูแลกฎระเบียบแบบองค์รวม (Holistic Regulation) เพื่อดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องและชอบธรรมของระบบการเงินระดับโลก การพัฒนากรอบการกำกับดูแลที่เหมาะสมโดยไม่คำนึงถึงแบบจำลองธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กรธุรกิจ คำนึงถึงกิจกรรมเป็นหลัก (Activities-Based) ต้องหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์การกำกับดูแล 2 ชั้น (two-tier regulatory regime) เพื่อลดความเสี่ยงในการหาประโยชน์จากความแตกต่างในการกำกับดูแล (regulatory arbitrage) การให้บริการแบบเดียวกันด้วยความเสี่ยงระดับเดียวกันต้องหมายถึงการบังคับใช้กฎระเบียบเดียวกันตั้งแต่การปฏิบัติงานอย่างรอบคอบและระมัดระวังไปจนถึงการคุ้มครองลูกค้าและข้อมูล การประสานงานระดับภูมิภาค (Regional coordination) ผู้กำหนดนโยบายของอาเซียนควรพิจารณาแผนกลยุทธ์ในอนาคต เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้แผนแม่บทไอซีที (ICT Masterplan 2020) การพัฒนาแผนปฏิบัติการกรอบการบูรณาการอาเซียน (DIFAP) และกรอบการกำกับดูแลข้อมูลดิจิทัล (Framework on Digital Data Governance) อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระบวนการบริหารองค์กรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมวัตถุประสงค์เหล่านี้ การดำเนินการดังกล่าวจะเพิ่มความน่าเชื่อถือของอาเซียนในการเป็นฐานการผลิตทางเลือกสำหรับธุรกิจระดับโลก มาตรฐานระดับโลก (Global standards) ควรมีการประสานงานระดับโลกในด้านต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ เรามุ่งหวังจะกระตุ้นให้ผู้กำกับดูแลภาคบริการการเงิน เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลและการแข่งขันทางการค้า รัฐบาลแห่งชาติ (national governments) องค์กรเหนือชาติ (supranational bodies) และอุตสาหกรรมให้ทำงานร่วมกันในเวทีเสวนาระดับโลกเพื่อมุ่งไปสู่ความต้องการที่สอดคล้องต้องกันมากยิ่งขึ้น นายชู กล่าวต่อว่า "ผู้กำหนดนโยบายควรพิจารณาว่าจะสามารถกำหนดกฎเกณฑ์การกำกับดูแลแบบองค์รวมที่เชื่อมโยงและสอดประสานกันได้อย่างไร โดยเป็นกฎเกณฑ์ที่องค์กรธุรกิจทุกขนาดและทุกประเภทสามารถที่จะพัฒนานวัตกรรมตามศักยภาพ และผู้กำหนดนโยบายมีความสามารถเพียงพอในการตรวจสอบดูแลและบังคับใช้กฎระเบียบ" 1. ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เอชเอสบีซีเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสำนักงานให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2431 ธนาคาร เอชเอสบีซีเปิดให้บริการด้านการเงินและการธนาคาร ทั้งบริการด้านเงินฝาก สินเชื่อธุรกิจ พาณิชย์ธนกิจ ธุรกิจสถาบันการเงิน บริการด้านบริหารเงินและตลาดทุน บริการหลักทรัพย์ บริการการค้าและเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ และบริการจัดการด้านการเงินและบริหารสภาพคล่องแก่ลูกค้าประเภทองค์กร 2. เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มเอชเอสบีซี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กลุ่ม เอชเอสบีซีให้บริการลูกค้าทั่วโลกด้วยเครือข่ายสาขาใน 66 ประเทศและเขตปกครองทั้งในยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอชเอสบีซี เป็นสถาบันผู้ให้บริการด้านการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีสินทรัพย์รวม 2,558 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ