SACICT จัด Business Matching จับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้ผลิตกับองค์กรชั้นนำ สืบสานต่อยอดอัตลักษณ์และภูมิปัญญาในศิลปหัตถกรรมไทย สู่ชิ้นงานล้ำค่าและใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 11, 2019 08:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) SACICT เดินหน้าสืบสานภารกิจ ดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และภูมิปัญญาของหัตถศิลป์ไทย ผลักดันให้สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนและชุมชนท้องถิ่น สืบสานให้คนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจ มาศึกษาหาความรู้ และทำงานเพื่อต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ให้ศิลปหัตถกรรมคงอยู่ และให้ครูผู้มีความรู้ในงานศิลป์พื้นถิ่นแขนงต่างๆ ได้ใช้ความรู้เพิ่มพูนรายได้ มีอาชีพเสริม และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT ได้กล่าวว่า "การจัดงานวันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ SACICT จัดให้มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างหน่วยงานและองค์กรชั้นนำของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนกับสมาชิกในกลุ่มที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม นักสร้างสรรค์งานหัตถกรรมร่วมสมัยที่มีผลงานที่มีความโดดเด่น เพื่อเป็นขยายช่องทางการตลาด พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานศิลปหัตถกรรมให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความตระหนักในคุณค่าของงานศิลปหัตถรรมให้กับคนในยุคปัจจุบัน หนึ่งในบทบาทสำคัญขององค์กรคือเราต้องชี้ทาง และสร้างโอกาส ทั้งการสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตพัฒนาฝีมือของตนเอง พัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างโอกาสทางการตลาด ที่ผ่านมาจึงมีทั้งกิจกรรมอบรมพัฒนาต่างๆ มากมาย กิจกรรมในวันนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการจับคู่ธุรกิจเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มของ SACICT ได้พบกับองค์กรชั้นนำ ที่ต้องการเลือกสรรงานศิลปหัตถกรรมระดับพรีเมี่ยมมีอัตลักษณ์โดดเด่น เพื่อนำไปมอบเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลปลายปี ซึ่งการพบปะเจรจาทางธุรกิจโดยตรงครั้งนี้ ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ดีสำหรับสมาชิก และเจ้าหน้าที่ของเราทุกคน ผ่านขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่การเตรียมงานล่วงหน้า เพื่อให้มีช่วงเวลาตระเตรียมวัตถุดิบและวัสดุต่างๆ รวมถึงจินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงาน มีเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คำนวนระยะเวลาผลิต จำนวนแรงงาน จำนวนชิ้นงาน องค์กรหน่วยงานต่างๆ ก็มีเวลาในการตัดสินใจเลือกของขวัญให้แก่บุคคลสำคัญ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้จริง และจัดสรรงบประมาณล่วงหน้าได้ตามความเหมาะสม นอกจากการสร้างโอกาสทางการตลาดแล้ว เรายังได้สร้างโอกาสการรับรู้ในคุณค่าศิลปหัตถกรรม กล่าวคือ การเลือกซื้อในยุคก่อนอาจตัดสินเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอก ความสวยงาม แต่ปัจจุบัน สินค้าศิลปหัตถกรรมมีจำนวนขึ้น การแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น สมาชิกฯ ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องรู้จักปรับตัวเพื่อให้อยู่ในตลาดได้ ต้องมีองค์ความรู้ที่มากขึ้น ทำงานด้วยฝีมือที่งดงาม โดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่น สร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์การใช้งาน เป็นงานหัตถศิลป์ที่ สอดคลัองกับชีวิต หรือเรียกว่า "หัตถศิลป์ในชีวิตปัจจุบัน" นั่นเอง เมื่อผลงานมีความสอดคล้อง แต่ต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าและฝีมือที่งดงาม ก็จะได้รับความสนใจจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เพื่อนำไปมอบเป็นของขวัญระดับพรีเมี่ยมในโอกาสต่างๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะทำให้ครูช่างผู้ทรงความรู้ ครูศิลป์ของแผ่นดิน รวมถึงทายาทผู้สืบทอดได้รับการยกย่องเชิดชูเป็นที่ยอมรับ เมื่อนั้นก็จะมีการกระจายต่อองค์ความรู้ ทำให้ชุมชนโดยรอบแข็งแรง มีการจ้างผลิตผลงาน สร้างรายได้มากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ครอบครัวมีรายได้เสริมมากขึ้น เศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะพัฒนา ดีขึ้นเป็นวงกว้างต่อไป ปัจจุบันงานศิลปหัตถกรรมไทยเติบโตสูงมากเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก โดยทุกปีจะมีผู้ที่สนใจ องค์กร หน่วยงาน และพาร์เนอร์ใหม่ๆ ที่ต้องการมาร่วมกับ SACICT ในการพัฒนาวงการศิลปหัตถกรรมของไทยให้เติบโตต่อไป ผ่านการวางกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ที่เป็นสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาบุคคล การพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่จะมีส่วนช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงงานหัตถศิลป์ไทยได้มากขึ้น ล่าสุดได้มีการเปิดตัว "SACICT Archive" เพื่อยกระดับ SACICT สู่การเป็นศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปหัตถกรรมของประเทศ ที่มีทั้งหอนิทรรศการ SACICT Shop, SACICT Library (ห้องสมุด) และ SACICT Archive ระบบสืบค้นบนดิจิตัลแพลตฟอร์ม โดยสามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกมุมโลก ผ่านเว็บไซต์ SACICT.or.th โดยจะปรากฎไอคอน SACICT Archive ให้คลิกเข้าสู่ระบบ หรือเข้าสืบค้นได้โดยตรงทาง archive.sacict.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ