กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล
เครื่อง Digital I/O Converter Kit และ Quick Changer รุ่นใหม่สำหรับอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ออนโรบอต ทำให้ระบบอัตโนมัติมีการทำงานบนแพล็ตฟอร์มเชิงเดี่ยวที่เรียบง่ายอย่างน่าอัศจรรย์
ครอบคลุมทุกการใช้งานของระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมน้ำหนักเบาเพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์
ออนโรบอต บริษัทสัญชาติเดนมาร์ก ผู้นำด้านอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์หรือ End-of-Arm Tooling (EoAT) เพื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ นำเสนอ 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ Digital I/O Converter Kit (ชุดสลับกระแสอินพุต/เอาต์พุตระบบดิจิทัล) และ Quick Changer (เครื่องเปลี่ยนชิ้นส่วนแบบรวดเร็ว) สำหรับติดตั้งร่วมกันบนอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ของออนโรบอต เพื่อสร้างโซลูชั่นการทำงานรวมบนระบบเดียว "One-System Solution" อันโดดเด่นที่ทำให้ระบบอัตโนมัติมีการทำงานที่เรียบง่ายอย่างน่าอัศจรรย์
Digital I/O Converter Kit ของออนโรบอตช่วยให้อุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ ทำงานได้ครอบคลุมเต็มประสิทธิภาพในระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมน้ำหนักเบาสำหรับการทำงานร่วมกับมนุษย์ และด้วยประสิทธิภาพดังกล่าว ทำให้ผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นของออนโรบอตมีอินเตอร์เฟซสั่งงานกลไกและการสื่อสารรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของอุปกรณ์ Quick Changer ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนติดตั้งรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นของออนโรบอต และเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ Dual Quick Changer เพิ่มเติม ก็จะสามารถผสานขีดความสามารถใหม่ ๆ และช่วยให้ใช้งานอุปกรณ์ 2 ตัวได้ในหนึ่งวงจร โดยสามารถผสมและจับคู่ให้เหมาะสมกับความจำเป็นในการทำงาน จึงทำให้ใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบันด้วยระบบการทำงานหุ่นยนต์เชิงเดี่ยว แพล็ตฟอร์มเชิงเดี่ยวสำหรับการตั้งโปรแกรมและการฝึกฝน และความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายรายเดียว ทำให้บรรดาผู้ผลิตสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่ครอบคลุม ขีดความสามารถของหุ่นยนต์ที่เต็มประสิทธิภาพ และโอกาสอันไร้ข้อจำกัดอย่างแท้จริงของระบบการทำงานร่วมกับมนุษย์ โซลูชั่น One-System Solution รูปแบบใหม่นี้จึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการนำระบบไปใช้งาน เพื่อให้บรรดาผู้ผลิตสามารถประหยัดเวลาและเงิน และตระหนักถึงประโยชน์ของระบบอัตโนมัติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
"ผู้ผลิตมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในการใช้งานหุ่นยนต์ของพวกเขา และการติดตั้งอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ก็ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญในการใช้เงินลงทุนอย่างคุ้มค่าสูงสุด" เอนริโก คร็อก ไอเวอร์เซน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ออนโรบอต กล่าว "การผสานอุปกรณ์ Quick Changer เข้ากับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของเราในปัจจุบัน ทำให้การสลับเครื่องมือและประเภทหุ่นยนต์สามารถทำได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดช่วงเวลาหยุดชะงักของเครื่องจักร เพื่อประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นและการคืนผลตอบแทนจากการลงทุนด้านระบบอัตโนมัติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เราก้าวเข้าใกล้โซลูชั่นระบบการทำงานเชิงเดี่ยวของออนโรบอตไปอีกขั้น ซึ่งทำให้การใช้งานระบบมีความง่ายดาย รวดเร็ว และคุ้มค่ายิ่งขึ้นสำหรับผู้ผลิต เมื่อหันมาติดตั้งระบบการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าพวกเขาจะเลือกใช้หุ่นยนต์รุ่นใดก็ตาม"
การใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
การเปิดตัว One-System Solution ของออนโรบอต เกิดขึ้นในช่วงเวลาเหมาะสมที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเปิดรับการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่รวดเร็วมากกว่าในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลของสหพันธ์หุ่นยนต์ระหว่างประเทศ (International Federation of Robotics) ระบุว่าประเทศสิงคโปร์เป็นผู้นำในภูมิภาคนี้และเป็นผู้ใช้งานหุ่นยนต์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีอัตราความหนาแน่นหุ่นยนต์ 658 ตัวต่อคนงาน 10,000 คน รายงานยังเน้นย้ำด้วยว่า ประเทศไทย แม้จะมีอัตราความหนาแน่นหุ่นยนต์ที่ 48 ตัวต่อคนงาน 10,000 คน แต่มีอัตราการนำหุ่นยนต์มาใช้งานถึง 159% สูงกว่าระดับค่าจ้างที่คาดการณ์ไว้
รายงานฉบับล่าสุดประมาณการณ์ว่า ยอดขายทั่วโลกของอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT จะมีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2019 โดยเพิ่มขึ้นจาก 1.9 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2018 แรงกดดันที่ต่อเนื่องอันเกิดจากระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตและลดต้นทุนการดำเนินงาน กำลังผลักดันให้เกิดความต้องการหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอต) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้อุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการมอบประสิทธิภาพการทำงานที่พึงประสงค์ เพื่อตอบโจทย์บทบาทการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของโคบอต
เจมส์ เทย์เลอร์ ผู้จัดการทั่วไป ออนโรบอต ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "ความต้องการต่ออุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT ในประเทศไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชั่นหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์อย่างสมบูรณ์ของเราในภูมิภาคนี้ ก็ได้รับการส่งเสริมผ่านการนำเสนอโซลูชั่น One-System Solution โดยนวัตกรรมอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT รูปแบบใหม่นี้ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับวงการอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้บรรดาผู้ผลิต โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถผสานการทำงานระบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้ระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง"
แพล็ตฟอร์มรวมแบบข้ามอุปกรณ์และครอบคลุมแบรนด์หุ่นยนต์อื่น ๆ
ด้วยการใช้อุปกรณ์ Quick Changer ของออนโรบอต ซึ่งปัจจุบันได้ติดตั้งรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นของออนโรบอต จะใช้สายเคเบิ้ลเพียงสายเดียวที่มีอินเตอร์เฟซแบบสากลสำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องมือและรูปแบบการสื่อสารต่าง ๆ จึงไม่จำเป็นต้องดึงสายเคเบิ้ลออกเมื่อต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ ออปชั่นการสื่อสารเพิ่มเติมยังช่วยสนับสนุนการทำงานของแพล็ตฟอร์มหุ่นยนต์รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม
การปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์ตัวจับที่ต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้า
ออนโรบอตยังปรับปรุงคุณภาพอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ EoAT ของบริษัทอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับการนำเสนอโซลูชั่น One-System Solution รูปแบบใหม่ในการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างง่ายดาย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด โดยตัวจับรุ่น RG2 และ RG6 ได้ถูกออกแบบใหม่ให้แข็งแรง ไวต่อการสัมผัส และติดตั้งง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งตัวจับนี้ยังมาพร้อมกับอุปกรณ์นิรภัย Cat. 3, PLd level ที่ผ่านการรับรองโดย TÜV โดยแผ่นบุของ Gecko Gripper ได้รับการปรับปรุงคุณภาพให้สามารถหยิบจับวัตถุที่มีน้ำหนักได้มากถึง 6.5 กิโลกรัม โดยขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุ
ดาวน์โหลดข้อมูลคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ที่ https://onrobot.com/en/downloads
เกี่ยวกับออนโรบอต (OnRobot)
บริษัทก่อตั้งในปี ค.ศ. 2015 และได้ควบรวมกิจการกับ Perception Robotics และ OptoForce ในปี ค.ศ. 2018 และได้ถูกซื้อกิจการโดย Purple Robotics หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน โดยเมื่อเดือนเมษายน 2019 ออนโรบอตได้ซื้อทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท Blue Workforce บริษัทสัญชาติเดนมาร์กซึ่งเป็นผู้ผลิตตัวจับและระบบการมองภาพ ปัจจุบัน กลุ่มผลิตภัณฑ์ของออนโรบอตนำเสนออุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์หลายประเภท ซึ่งรวมถึง ตัวจับระบบไฟฟ้า, เซ็นเซอร์รับแรงกระทำและแรงบิด ตัวจับสุญญากาศ ตัวจับเจ้าของรางวัลรุ่น Gecko Gripper และอุปกรณ์สลับเครื่องมือรูปแบบต่าง ๆ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบของออนโรบอตทำให้การทำงานผ่านระบบอัตโนมัติมีความรวดเร็วและเรียบง่ายกว่าเดิม อาทิ การบรรจุภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ การขนถ่ายวัสดุ การลำเลียงด้วยเครื่องจักร การประกอบชิ้นส่วน และการเคลือบพื้นผิว โดยบริษัทวางแผนสร้างการเติบโตผ่านการซื้อกิจการอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคต ปัจจุบัน บริษัทมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองโอเดนเซ เดนมาร์ก นอกจากนี้ ยังมีสำนักงานทั้งในดัลลัส โซสท์ (เยอรมนี) บาร์เซโลนา วอร์ซอ เซี่ยงไฮ้ โตเกียว อันยัง (เกาหลีใต้) สิงคโปร์ และ บูดาเปสต์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.onrobot.com