กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--เอสเอพี
ทีม "NT" ซึ่งประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด (ขวา) และ นางสาวบาวเจิง โงเล (ซ้าย) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers ระดับประเทศ ประจำปี 2562
มูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers หรือ ASEANDE ระดับประเทศไทย ประจำปี 2562 ซึ่งมีขึ้น ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผลการตัดสินมาจากการพิจารณาระดับความเร่งด่วนของปัญหาทางสังคมที่แต่ละทีมนำเสนอ สตอรี่บอร์ดแนวทางการแก้ไขปัญหา และความกระจ่างชัดของรูปแบบการนำเสนอ ทั้งนี้ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม "NT" จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคในเดือนตุลาคมปีนี้
รายละเอียดผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน ASEANDE ระดับประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
ทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม "NT" ประกอบด้วย นางสาวนพวรรณ รักถิ่นกำเนิด และ นางสาวบาวเจิง โงเล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโครงการ Workforce gender gaps ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศในสถานที่ทำงาน
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง คือ ทีม "Humble" ประกอบด้วย นายกันตพงศ์ ชนะฤทธิชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นายณัฐพล ศรีกนกสินธุ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับโครงการ Quality Education ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนด้านการแบ่งปันและบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างยั่งยืน
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่สอง คือ ทีม "Ant CC" ประกอบด้วย นางสาวปัณณพร ตงพิพัฒน์ และ นางสาวพนิตตา ตั้งศรีสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับโครงการ Achieving Better English Education in ASEAN ซึ่งมุ่งยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษของกลุ่มประเทศอาเซียน
การแข่งขันรอบดังกล่าว เป็นหนึ่งในการแข่งขัน ASEANDSE ระดับประเทศ ประจำปี 2562 จำนวน 10 รอบ ซึ่งมีขึ้นทั่วภูมิภาคอาเซียนในเดือนกันยายน โดยเป็นการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนสูงสุดของแต่ละประเทศจำนวน 10 ทีม เพื่อค้นหาทีมที่จะเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศไปแข่งขันต่อในรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ทั้งนี้ด้วยซอฟต์แวร์ดาต้าอนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี เยาวชนผู้เข้าแข่งขันได้พัฒนาโซลูชั่น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเป็นพื้นฐานในการระบุและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางสังคม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ได้แก่ (1) สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี, (2) การศึกษาที่มีคุณภาพ, (3) ความเท่าเทียมทางเพศ, (4) การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, (5) อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน และ (6) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน โดยการแข่งขันรอบตัดสินชิงชนะเลิศรอบภูมิภาคในปีนี้ จะมีขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับวาระการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย
ในปี 2561 เยาวชนไทยที่คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ คือ ทีม "UTCC ASEAN RANGER" ประกอบด้วย นายอัมรินทร์ อุดมผล และนายธีระพงษ์ ศรีสุพรรณ จากคณะบริหารธุรกิจ (วิทยาลัยนานาชาติ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งนำเสนอโครงการ Let's talk: Closely เจาะจงปัญหาความขาดแคลนของบุคลากรทางด้านสุขภาพจิตในกลุ่มประเทศอาเซียน อันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตายของเด็กนักเรียนในภูมิภาค ทั้งนี้เยาวชนผู้เข้าแข่งขันทั้งสองจากไทยได้แสดงความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ASEANDSE และได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม และเทคโนโลยีดิจิตอล
ในปีนี้ มีเยาวชนกว่า 2,500 คนจากทั่วภูมิภาคอาเซียน ที่เข้าร่วมโครงการอบรมทักษะด้านดาต้าอนาลิติกส์ จากการใช้ซอฟต์แวร์อนาลิติกส์ คลาวด์ ของเอสเอพี ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นความพยายามร่วมของมูลนิธิอาเซียนและเอสเอพี ในการเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของภูมิภาคในปัจจุบันในแบบเรียลไทม์ เพื่อระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาว เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า "ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ ยุคดิจิตอลอีโคโนมี ดาต้าได้กลายเป็นปัจจัยชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชากรทุกคน การสร้างความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมให้แก่คนรุ่นใหม่ในด้านการบริหารจัดการดาต้าให้เกิดคุณประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ จากโครงการความร่วมมือระหว่างเอสเอพี และ มูลนิธิอาเซียนในครั้งนี้ นอกเหนือจากการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็น เราคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับความรับผิดชอบของเยาวชนในการนำเอาทักษะเหล่านี้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาสังคม เพราะพวกเขาคือผู้นำในอนาคต ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนของภูมิภาค"
นาง อีเลน ตัน ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า "มูลนิธิอาเซียน รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจกับความร่วมมือของเรากับเอสเอพีที่ได้ก้าวมาสู่ปีที่สามในปีนี้ เอสเอพีนั้นมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลักดันโครงการดังกล่าว เราต่างยึดมั่นต่อแนวทางการพัฒนาเยาวชนในช่วงหลังปี 2563 ด้วยการเสริมทักษะเชิงดิจิตอลให้แก่เยาวชนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมสำหรับอนาคต โดยโครงการแข่งขัน ASEANDSE มีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการคว้าโอกาสในชีวิตประจำวันแก่เยาวชนอาเซียน อีกทั้งเสริมทักษะเชิงดิจิตอลที่จำเป็นต่อการจัดการความท้าทายในยุคอุตสาหกรรม 4.0"
โครงการแข่งขัน ASEANDSE คือ โครงการแข่งขันระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนในภูมิภาคอาเซียนหันมามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม นับตั้งแต่การริเริ่มโครงการในปี 2560 โครงการแข่งขัน ASEANDSE ได้มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดาต้า อนาลิติกส์ให้แก่เยาวชนแล้วกว่า 9,000 คน จาก 230 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ในปีนี้มีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงเท่าตัว โดยมีผู้สมัครจำนวน 1,300 ทีม จากหลากหลายสาขาวิชา เช่น สาชาวิชารัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เข้าร่วมพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคม
เกี่ยวกับ เอสเอพี (SAP)
ในฐานะบริษัทด้านคลาวด์ที่ขับเคลื่อนด้วย SAP HANA(R) เอสเอพี เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กร ที่ได้ช่วยเหลือองค์กรขนาดต่างๆในทุกอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดย 77% ของรายได้จากการทำธุรกรรมของโลกนั้นเกิดขึ้นบนระบบของเอสเอพี นอกจากนี้เทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิ่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงของเอสเอพี ช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เอสเอพีช่วยให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจในธุรกิจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เราลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราได้อย่างที่ต้องการและต่อเนื่อง ชุดแอพพลิเคชั่นและบริการครบวงจรของเอสเอพี ช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและภาครัฐกว่า 437,000 ราย สามารถทำกำไร ปรับตัว และสร้างความแตกต่างได้ ด้วยเครือข่ายลูกค้าพาร์เนอร์ พนักงาน และผู้นำทางความคิดที่มีอยู่ทั่วโลก เอสเอพีช่วยให้โลกดำเนินงานได้ดีขึ้นและปรับปรุงชีวิตของผู้คน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com
เกี่ยวกับ มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)
หลังจากที่ประชาคมอาเซียนก่อตั้งมาได้ 3 ทศวรรษ บรรดาผู้นำอาเซียนต่างตระหนักได้ว่า การแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันในหมู่สมาชิก การสร้างจิตสำนึกของความเป็นอาเซียน และการติดต่อสื่อสารกันหว่างประชาชนยังคงไม่เพียงพอ ซึ่งความวิตกกังวลดังกล่าวส่งผลมีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 มูลนิธิอาเซียนก่อตั้งโดยอาเซียนเพื่ออาเซียน ด้วยวิสัยทัศน์เพียงหนึ่งเดียวคือการสร้างประชาคมอาเซียนให้มีความมั่งคั่งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีหน้าที่สนับสนุนการสร้างจิตสำนึก อัตลักษณ์ ปฏิสัมพันธ์ และพัฒนาการของประชาชนในอาเซียน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียนได้ที่ www.aseanfoundation.org
คำแถลงการณ์ใด ๆ ที่มีอยู่ในเอกสารฉบับนี้ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์เอกชนของปีพ. ศ. 2538 คำต่างๆเช่น "คาดการณ์" "เชื่อ" "ประมาณการณ์" "คาดว่า", "ตั้งใจ" "อาจ" "ควร" และ "จะ" และสำนวนที่คล้ายคลึงกันที่เกี่ยวข้องกับเอสเอพี ถือเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า เอสเอพีไม่มีข้อผูกมัดในการเผยแพร่หรือแก้ไขแถลงการณ์ที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าใด ๆ ต่อสาธารณชน แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆที่อาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงแตกต่างอย่างมากจากที่คาดการณ์ไว้ ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการทางการเงินในอนาคตของเอสเอพี จะถูกกล่าวถึงอย่างละเอียดยิ่งขึ้นในเอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) รวมถึงรายงานประจำปีล่าสุดของเอสเอพี ในแบบฟอร์ม 20-F ที่ยื่นต่อ SEC ผู้อ่านต้องได้รับการเตือนว่าอย่าให้เชื่อมั่นในแถลงการณ์เชิงคาดการณ์เหล่านี้เกินควร ซึ่งได้ระบุไว้ในวันที่พูดเท่านั้น
(C) 2018 SAP SE สงวนลิขสิทธิ์.
SAP และผลิตภัณฑ์และบริการของ SAP อื่น ๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้รวมถึงโลโก้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ SAP SE ในประเทศเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ โปรดดู https://www.sap.com/copyright สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและประกาศต่างๆ