กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--เอ็ม เอส แอล กรุ๊ป
ศาสตราจารย์ฌอน ดิโอนี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็ก (MRI) ในผู้หญิงและทารกของโรงพยาบาล Rhode Island และศาสตราจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัย Brown University และมีวารสารทางวิชาการตีพิมพ์ถึง 69 ฉบับ และท่านยังได้รับทุนจากสถาบัน National institutes of Health (NIH) แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาสมองของมนุษย์เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด
ในโอกาสที่ศาสตราจารย์ฌอน ดิโอนี ได้มาร่วมประชุมสัมมนาวิชาการ Meet the expert in nutrition for Brain connection- the evidence support from the past to present จัดโดยชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ซึ่งเราได้มีโอกาสฟังสัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับผลการวิจัยสมองเด็กซึ่งเราได้รับข้อมูลใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากมาย และอยากแนะนำให้คุณแม่ทุกท่านได้ลองอ่านกัน โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีลูกวัยทารกค่ะ
พิธีกร: ตอนนี้ท่านศาสตรจารย์ฌอนกำลังให้ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดครับ
ศาสตราจารย์ฌอน: มีงานวิจัยที่ได้รับทุนจากองค์กรสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) สิ่งที่ผมกำลังศึกษาค้นคว้าอยู่ก็คือ "เราจะทำอย่างไรให้ทารกเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง และมีสมองที่ชาญฉลาด" โดยผมจะทำการทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม โภชนาการที่เด็กได้รับ รวมไปถึงการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ กับการพัฒนาการ ความฉลาดของเด็ก ส่วนอีกศึกษาหนึ่งที่สำคัญคือ ศึกษาถึงสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาการของสมองและความฉลาดของเด็กโดยเฉพาะสารอาหารที่มีในนมแม่
พิธีกร: ศาสตรจารย์ฌอนมีแรงบันดาลใจจากเรื่องใด ที่ทำให้ท่านเริ่มศึกษาในเรื่องของการพัฒนาการสมอง โดยเฉพาะในวัยทารกครับ?
ศาสตรจารย์ฌอน: ผมเชื่อว่า เด็กในวันนี้ จะเป็นอนาคตของสังคมต่อไปในวันข้างหน้า ผมจึงมีความตั้งใจจริงที่อยากจะศึกษาค้นคว้าว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของพวกเขาให้ดีขึ้นตั้งแต่วันแรกของชีวิต เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน บ้านที่เริ่มสร้างนั้น เราสามารถออกแบบและย้ายสวิตซ์ หรือสายไฟต่างๆ ง่ายกว่าบ้านที่สร้างเสร็จไปแล้ว ซึ่งก็เหมือนสมองเด็ก ผมเชื่อว่าเราสามารถช่วยเสริมสร้างสมองของทารกได้สมบูรณ์กว่าเด็กที่พ้นช่วงทารกไปแล้ว ดังนั้นผมจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมองเด็กตั้งแต่ช่วงที่เขายังเป็นวัยทารกและเด็กเล็กอยู่ครับ
พิธีกร: รบกวนท่านศาสตราจารย์เล่าถึงผลการวิจัยที่ท่านค้นพบ และปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองของทารกครับ
ศาสตราจารย์ฌอน: การวิจัยของผมจะทำการติดตามเด็ก 1,500 คน ซึ่งเด็ก 500 คน มีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์จนกระทั่งเด็กคลอดและติดตามต่อมาส่วนเด็กอีก 1,000 คนเข้าร่วมการศึกษาตั้งแต่อายุน้อยกว่า 6 เดือนและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และเก็บข้อมูลในเรื่องต่างๆ เช่น กรรมพันธุ์ คุณภาพอากาศ เวลาการนอน โภชนาการ รวมถึงการสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ทำให้เรารู้ว่า โภชนาการที่ดี คือปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กฉลาด โดยเฉพาะนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็กครับ
พิธีกร: สารอาหารใดบ้างในนมแม่ที่มีผลต่อการพัฒนาสมองเด็กครับ
ศาสตราจารย์ฌอน: การสร้างไมอีลินในสมองเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ เพื่อให้มีการเชื่อมต่อของสมองที่ดีและรวดเร็วขึ้น ซึ่งนมแม่มีสารอาหารมากมาย เช่น สฟิงโกไมอีลิน DHA โคลีน และสารอาหารอื่นๆ ซึ่ง"สฟิงโกไมอีลิน" ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ช่วยสร้างไมอีลินในสมอง ถ้าสมองมีไมอิลีนสมบูรณ์ทารกก็จะฉลาด มีพัฒนาการดี และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วครับ
พิธีกร: สฟิงโกไมอีลินช่วยพัฒนาสมองของทารกได้อย่างไรครับ
ศาสตราจารย์ฌอน: สมองทุกส่วนของมนุษย์จะต้องทำงานเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการมองเห็น การขยับตัว การจะฝึกเดินตั้งแต่เด็ก ซึ่งการเชื่อมต่อกันนั้นจะทำได้เร็วมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับไมอิลีนในสมองในนมแม่มีสารอาหารหลายชนิด และมีสฟิงโกไมอิลีนที่ช่วยสร้างและพัฒนาไมอีลินในสมองทารกให้ดีขึ้น การเชื่อมโยงของสมองก็รวดเร็วขึ้น ดังนั้นเด็กที่กินนมแม่จึงมีการเรียนรู้ที่มีศักยภาพกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่นั่นเองครับ
พิธีกร: มีผลการวิจัยใดบ้างที่สามารถยืนยันได้ว่า สฟิงโกไมอีลินช่วยให้ทารกสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วครับ
ศาสตราจารย์ฌอน: ผมทำการศึกษาในนมแม่พบว่า DHA โคลีน และสฟิงโกไมอีลิน เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลิน ไมอีลินมีโครงสร้างพิเศษที่ทำให้สมองทำงานได้เร็วขึ้นและส่งผลต่อศักยภาพการเรียนรู้และสติปัญญาของเด็ก สมองของเด็กที่มีไมอีลินมากกว่าจะเรียนรู้ได้ไวกว่า โดยเฉพาะเด็กที่กินนมแม่ จะมีการสร้างไมอีลินที่มากกว่า ส่งผลให้สติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่
พิธีกร: ทำไม 1,000 วันแรกของชีวิต จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากครับ
ศาสตราจารย์ฌอน: 1,000 วันแรกของชีวิต เราจะนับตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 40 สัปดาห์ และหลังคลอดอีก 2 ปี โดยช่วงเวลานี้สมองของเราจะพัฒนาใกล้เคียงกับสมองของผู้ใหญ่ หรือพูดอีกนัยนึงว่า 1,000 วันแรกจะเป็นช่วงเวลาที่สมองมีพัฒนาการมากที่สุดก็ว่าได้ ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาสมองของลูก และเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้ต่าง ๆ ในอนาคตนั้นของลูกนั้นดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น
พิธีกร: คุณพ่อคุณแม่จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูกได้อย่างไรบ้างครับ ?
ศาสตราจารย์ฌอน: คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจโภชนาการและการเลี้ยงดูลูกครับ หมั่นกระตุ้นฝึกฝนทักษะต่างๆ ให้ความรักความผูกพันกับลูกตั้งแต่ยังเป็นทารก รวมไปถึงการดูแลโภชนาการที่ดีครับ ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมได้ ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาของเด็กต้องมีโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต หากเราสามารถสร้างสมดุลทั้งสองเรื่องนี้ได้
ผมเชื่อว่าลูกน้อยของคุณแม่ก็จะมีพัฒนาการที่ดีอย่างแน่นอนครับ