กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
นิทรรศการเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน – 27 ตุลาคม 2562
งานต้อนรับเปิดตัว: 20 กันยายน 2562 เวลา 18.00-21.00 น.
ในนิทรรศการดังกล่าว ผู้เข้าชมจะได้ฟังเรื่องราวที่ได้รับการเล่าผ่านรูปทิวทัศน์เชิงอนุเสาวรีย์สีโทนดำ-ขาว อันเป็นผลงานในนิทรรศการเดี่ยวของ มารีอันโต นิทรรศการ 'การเดินทางของทางแยกแห่งวิถีโลก (A Journey of Forking Paths)' นำเสนอโดย ยีโอ เวิร์คช็อป นิทรรศการดังกล่าวนำเสนอผลงานต่างๆ จวบจนถึงปัจจุบันของศิลปินจาก ยอกยาการ์ตา ในงานจะมีการนำเสนอผลงานล่าสุดของศิลปินโดยใช้เทคนิคสีเดียวลงบนผ้าใบและกระดาษ
มารีอันโต ขอบเขตระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ (Border Between North and South) พ.ศ. 2562 เทคนิคสีอะคริลิกบนผ้าใบ ขนาด 150 x 200 ซม.
ผลงานทางศิลปะของมารีอันโต มักจะแฝงด้วยความเร้นลับ หากแต่ก็สูงส่ง โดยมักจะพรรณาถึงลักษณะของทิวทัศน์ของสถานที่ที่มีความเรียบง่ายและมีเสน่ห์แบบชนบท หากแต่ได้รับการทำลายจากพลังอำนาจ ศิลปินแสดงภาพทิวทัศน์เหล่านี้โดยนำเสนอให้เห็นถึงความงดงามและความกว้างใหญ่ไพศาล หากแต่ในความเป็นจริงกลับได้รับแรงบันดาลใจจากการแสวงหาผลประโยชน์จากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ชื่อของนิทรรศการมาจากการที่มารีอันโตค้นพบว่าภาพทางแยกแห่งวิถีโลกมีความเหมาะสมที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นคู่ที่เขาพบเจอในกระบวนการความคิดของเขา เมื่อเขามองดูทิวทัศน์ต่างๆที่มีความน่าสนใจ ศิลปินได้ประจันหน้ากับเรื่องเล่ามากมายของทิวทัศน์ที่เขาจะต้องทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวในอดีตของมัน รวมทั้งจินตนาการถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของการอนุรักษ์หรือการทำลาย คำอุปมาสำหรับทางแยกแห่งวิถีโลกยังคงมุ่งไปที่ว่าทิวทัศน์เหล่านี้ไม่สามารถคงอยู่ได้ชั่วนิรันดร์ และกำลังได้รับผลกระทบจากทุกๆการตัดสินใจของพวกเรา ทุกๆเส้นทางที่เราเลือก ดังนั้น ชื่อของนิทรรศการจึงเสนอสมมติฐานของสิ่งแวดล้อมที่ศิลปินได้บันทึกในผลงานของเขา และเขาก็หวังว่าจะสามารถดลใจให้ผู้ชมสามารถสะท้อนเกี่ยวกับผลกระทบที่มนุษย์ได้สร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
มารีอันโตจับภาพทิวทัศน์เหล่านี้ผ่านกรรมวิธีที่จำเจด้วยการเรียงและละเลง รังสรรภาพวาดในรูปแบบภาพวาดไฮเปอร์เรียลลิซึ่ม ศิลปินมีความจดจ่ออยู่กับวิธีการ เมื่อเขาทำการแกะสลักเส้นและรูปทรงอย่างละเอียดและพิถีพิถัน ในขณะที่ค่อยๆทำการเผยภาพที่ซ่อนอยู่ในผ้าใบที่คลุมด้วยอะคริลิกสีดำ ผลงานยังคงประกอบไปด้วยภาพวาดลายเส้นจากแกรไฟต์ขนาดใหญ่รวมถึงจิตรกรรมฝาผนังที่ที่เขาทำการพรรณาทิวทัศน์ผ่านหลากหลายกรรมวิธี แต่หากยังมีความรุนแรงไม่ต่างกัน ในการเผยภาพต่างๆเหล่านี้ เขายังคงเปิดเผยเรื่องราวความเป็นจริงที่ไม่เคยถูกกล่าวถึง โดยการนำข้อความที่ซ่อนอยู่ในภาพที่ดูเหมือนเรียบง่าย ว่ามันยังคงแฝงด้วยความอันตรายและพื้นที่ทางการเมือง
เนื่องจากมารีอันโตเป็นศิลปินที่เน้นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้มีรูปแบบเหมือนกับงานวิจัย ดังนั้นองค์ประกอบสุดท้ายของผลงานคือ การบรรลุเป้าหมายในการตรวจสอบหาความจริงแก่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ผลงานของเขามุ่งเน้นไปที่ปัญหาเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยศิลปินทำการพิเคราะห์แต่ละหัวข้อและพัฒนาเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวคิดหลังอาณานิคมในประเทศอินโดนีเซีย ทำโดยการปรับเปลี่ยนภาพทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการที่มักจะพบเห็นบ่อยครั้งในภาพวาดทิวทัศน์ดั้งเดิมของชาวอินโดนีเซีย ความพยายามในการใส่ใจรายละเอียดของศิลปินอาจจะถูกมองว่าเป็นการประท้วงแบบเงียบๆ เพื่อต่อต้านการทำลายล้างอย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลลัพธ์จากการพึ่งพิงองค์กรที่เกียวกับที่ดิน และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลที่ตามมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น
นิทรรศการล่าสุดของศิลปินไม่เหมือนนิทรรศการก่อนๆที่ใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านการสร้างสรรค์ธีมในแต่ละรูปแบบสำหรับแต่ละนิทรรศการเดี่ยว หากแต่ประกอบด้วยผลงานเดี่ยวที่ผ่านการสร้างสรรค์ในแบบของตนเอง ผลงาน การเดินทางของทางแยกแห่งวิถีโลก (A Journey of Forking Paths) เน้นเกี่ยวกับการบรรลุซึ่งวิถีแห่งจิต สังคมและการเมือง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมถึงการแสวงหาผลประโยชน์จากแหล่งทางธรรมชาติ ในขณะที่นิทรรศการก่อนๆ มักจะมุ่งเน้นไปที่การแกะสลักหรือศิลปะจากการร่างภาพแบบคร่าวๆบนสมุด เกี่ยวกับคำถามอย่างเช่นวา "ดินแดนในอุดมคติของคุณเป็นอย่างไร" นิทรรศการในปัจจุบันต้องการการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับเร่องราวที่ภาพดังกล่าวพยายามจะสื่อสารกับเรา เราหวังว่าผู้ชมจะรู้สึกเต็มตื้นจากการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างตั้งใจผ่านทางลายเส้นและลายละเอียดพิถีพิถันผ่านการใช้เทคนิคการกะกรดและการแรเส้นเงาขวางบนพื้นผ้าใบ ผลงานแต่ละผลงานคือภาพวาดทิวทัศน์ในแบบของมันเอง โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างผลงานรวมใหม่ เหมือนดั่งที่ศิลปินเคยทำในนิทรรศการก่อนๆของเขา
เกี่ยวกับศิลปิน
มารีอันโต (เกิดปี พ.ศ. 2520 ประเทศอินโดนีเซีย) สร้างผลงานภาพวาดโทนดำขาวและผลงานศิลปะที่รำลึกถึงอดีต และทำลายจินตนาการทิวทัศน์ดั้งเดิม เพื่อที่จะพิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างการเมืองและสังคมในพื้นที่ทางกายภาพ เขาสร้างผลงานผ่านรูปแบบฉากเสมือนนิทานและละคร ทิวทัศน์เหล่านี้มาจากการความคิดเรื่องอาณานิคมและทุนนิยมผ่านการพัฒนาด้านเทคโนโลยี การพัฒนาอุตสาหกรรม และมลพิษในแต่ละพื้นที่และการแสวงหาประโยชน์จากแหล่งธรรมชาติ
มารีอันโตจบการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ สถาบันศิลปะ ประเทศอินโดนีเซีย เมือง ยอกยาการ์ตาในปี 2548 และได้เป็นศิลปินในพำนักที่ สถาบันทัศนศิลป์หลวงกรุงอัมสเตอร์ดัมในปี พ.ศ. 2556 ล่าสุด มารีอันโตได้มีนิทรรศการแสดงเดี่ยวที่ยีโอ เวิร์คช็อป สิงค์โปร (พ.ศ. 2560 และ 2558) อาร์ต บาเซิล ฮ่องกง ดิสคัฟเวอรี่ เซกชั่น (พ.ศ. 2559) สถาบันทัศนศิลป์ กรุงอัมสเตอร์ดัม อาร์ต แอฟแฟร์ กรุงอัมสเตอร์ดัม และ เฮเดน กรุงเฮก (พ.ศ. 2556) เขายังได้เข้าร่วมในนิทรรศการกลุ่มที่ โคกาเนอิ อาร์ต สปอต ชาโตว์ กรุงโตเกียว (พ.ศ. 2561) พิพิธภัณฑ์ศิลป์ Samstag เมืองแอดิเลด ศูนย์วัฒนธรรมเอเชีย กวางโจว พิพิธภัณฑ์ศิลปะ โบซาร์ กรุงบรัสเซลส์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ สิงค์โปร (พ.ศ. 2558) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ กรุงอัมเสตอร์ดัม (พ.ศ. 2556) มารีอันโตยังได้รับเสนอชื่อในงานศิลปะอย่างเช่น งานศิลปะอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ที่เมือง ลาบิน ประเทศโครเอเชีย (พ.ศ. 2561) เซโตะอุจิ ไทรเอนเนล เกาะนาโอชิมะ ประเทศญีปุ่น (พ.ศ. 2559) งานแสดงศิลปะ เดอะ จาการ์ตา และ ยอกยา ประเทศอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2558) และ งานแสดงศิลปะมอสโคว์ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย (พ.ศ. 2556) มารีอันโตอาศัยและทำงานที่เมืองยอกยาการ์ตา