กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--แกร็บ ประเทศไทย
- แกร็บ ประกาศเป้าหมายของโปรแกรม 'Grab for Good แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า' เพื่อยกระดับทักษะและมอบโอกาสให้แก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้พร้อมรับอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี พ.ศ. 2568
- จับมือพันธมิตรกับบริษัทไมโครซอฟท์ในโครงการ 'Tech for Good เทคโนโลยีสร้างสรรค์สังคม' เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านทักษะเชิงเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจัดโครงการพิเศษสำหรับพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ของแกร็บและครอบครัว
- เตรียมเปิดตัวโครงการระดับภูมิภาค 'Break the Silence' เพื่อสร้างโอกาสให้กับคนหูหนวก และ ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน แกร็บ เปิดเผยรายงานผลลัพธ์ทางสังคมฉบับแรก ที่คาดการณ์ว่าบริษัทได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปแล้ว 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.7 แสนล้านบาท ภายในระยะเวลา 12 เดือน จนถึงมีนาคม พ.ศ. 2562
- แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวโปรแกรมเพื่อสังคม 'Grab For Good แกร็บเพื่อชีวิตทีดีกว่า' เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกสำหรับบางคน รวมถึงพัฒนาทักษะและบริการด้านดิจิทัล เพื่อสร้างความพร้อมให้ผู้คนเหล่านี้ในการเป็นส่วนหนี่งในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงเพิ่มโอกาสในการมีทางเลือกที่มากขึ้นและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยการผสานกันระหว่างเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม และพันธมิตร แกร็บได้ตั้งเป้าการดำเนินการโปรแกรม 'แกร็บเพื่อชีวิตทีดีกว่า' ที่จะบรรลุภายเป้าหมายในปีพ.ศ. 2568 ไว้ดังนี้
- พัฒนาการมีส่วนร่วมและทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล: สร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคน ไม่ว่าจะมีภูมิหลังแบบใดหรือศักยภาพเช่นไร สามารถได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยแกร็บตั้งเป้าที่จะส่งมอบทักษะความเข้าใจ รวมถึงการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับประชาชนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 3 ล้านคน ภายในปีพ.ศ. 2568 ด้วยการร่วมมือกับรัฐบาล บริษัทเอกชนและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
- ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดเล็ก: ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อมเป็นกลุ่มที่สำคัญในโมเดลธุรกิจของแกร็บ ทั้งยังเป็นเส้นเลือดสำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แกร็บมุ่งมั่นที่จะช่วยธุรกิจดั้งเดิมและร้านค้าขนาดเล็กกว่า 5 ล้านแห่งในการใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์เข้ากับขั้นตอนและกระบวนการทำงาน เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการจัดการค่าใช้จ่ายและเพิ่มการผลิต
- เสริมสร้างแรงงานที่พร้อมก้าวสู่อนาคต: 16 เปอร์เซ็นต์ของเยาวชนในอาเซียนต้องการทำงานด้านเทคโนโนโลยีในอนาคต แกร็บมีแผนการจะให้การอบรมแก่นักศึกษาจำนวน 20,000 คน ผ่านโครงการค้นหาผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยการเป็นพันธมิตรกับสถาบันการศึกษา องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แกร็บประกาศเปิดตัวโครงการหลัก 2 โครงการภายใต้โปรแกรม 'แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า' ได้แก่ การอบรมเพื่อพัฒนาทักษะรวมถึงความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างแกร็บและไมโครซอฟท์ และ โครงการ 'Break the Silence' ที่เป็นโครงการระดับภูมิภาค เพื่อช่วยคนหูหนวกและผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในการเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านทางอีโคซิสเต็มของแกร็บ
โครงการทั้ง 2 โครงการเป็นจุดเริ่มต้นของแผนการระยะยาวเพื่อพัฒนาทักษะทั้งรายบุคคลและธุรกิจขนาดเล็กด้วยทักษะด้านเทคโนโลยีที่สำคัญและเครื่องมือต่างๆ ในการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้มีโครงการอีกหลายโครงการที่จะเปิดตัวในปีนี้ (ดูได้จาก ภาคผนวก A)
"เอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกภายในปีพ.ศ. 2573 แต่ยากจะปฏิเสธความจริงที่ว่า ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม ซึ่งรวมถึงโอกาสความสำเร็จในการเติบโตของภูมิภาคนี้ด้วย หากภาคเอกชนร่วมกันสร้างโปรแกรมสำหรับชุมชนในแต่ละประเทศ เทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่สามารถเอื้อมถึงได้สำหรับหลายคน นอกจากนี้ทักษะการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ยังจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มากขึ้น" แอนโทนี่ ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ กล่าว
แอนโทนี่ ตัน เพิ่มเติมว่า"แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่าคือการสร้างแพลตฟอร์มที่ทั่วถึง และเป็นพันธกิจของเราในการสร้างผลลัพธ์ในทางบวกและยั่งยืนในประเทศที่เรากำลังดำเนินธุรกิจอยู่"
แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า: รายงานผลลัพธ์ทางสังคมระหว่างปีพ.ศ. 2561 – พ.ศ.2562
โปรแกรมเพื่อสังคม 'แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า' มาจากความมุ่งมั่นของแกร็บในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงระยะเวลากว่า 7 ปีของแกร็บ จากรายงานผลลัพธ์ทางสังคมเล่มแรกซึ่งประกาศในวันนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวแกร็บได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปราว 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.7 แสนล้านบาทในระยะเวลา 12 เดือนจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 โดยผลการคำนวณนี้ได้รับการรับรองจากบริษัทตรวจสอบบัญชีเคพีเอ็มจี (KPMG) ตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้
ผู้ประกอบการขนาดย่อมกว่า 9 ล้านราย หรือราว 1 ใน 70 คนของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรายได้เพิ่มขึ้นผ่านแพลตฟอร์มแกร็บ ทั้งจากการเป็นพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ พาร์ทเนอร์ผู้ส่งของ ร้านค้า และพาร์ทเนอร์ตัวแทน ซึ่ง 21 เปอร์เซ็นต์ของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่แกร็บไม่เคยทำงานมาก่อน ขณะที่อีก 31 เปอร์เซ็นต์ของพาร์ทเนอร์ตัวแทนไม่เคยมีรายได้ก่อนเข้าร่วมตัวแทนแกร็บ-คูโด้ (Grab-Kudo) นอกเหนือจากโอกาสทางเศรษฐกิจ รายงานนี้ยังรวมถึงการที่แกร็บช่วยพัฒนาการเข้าถึงบริการทางการเงินและการจ่ายเงินแบบดิจิทัล ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2555 แกร็บได้ช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 1.7 ล้านรายเปิดบัญชีธนาคารบัญชีแรกได้สำเร็จ แกร็บยังช่วยผลักดันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการก้าวสู่อนาคตสังคมไร้เงินสด โดยมีผู้ใช้เงินดิจิทัลมากกว่า 9 เท่าบนแกร็บ เมื่อเทียบกับอัตราการทำธุรกรรมไร้เงินสดทั่วประเทศทั้งหมด
แกร็บร่วมมือไมโครซอฟท์เดินหน้ายกระดับทักษะให้กับประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่าหลายล้านคน
เพื่อผลักดันโครงการ 'แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า' แกร็บได้ประกาศเป็นพันธมิตรในระดับภูมิภาคกับไมโครซอฟท์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับคนทำงานให้เท่าทันยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ปัจจุบัน มีประชากรวัยทำงานจำนวน 6.6 ล้านคนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน 6 ประเทศต้องการปรับทักษะใหม่ภายในปี พ.ศ. 2571 โดยประชากร 41 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนี้ ขาดทักษะทางด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานในอนาคต
ความร่วมมือระหว่างแกร็บและไมโครซอฟท์จะช่วยดึงทรัพยากร ความสามารถและความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัทออกมาเพื่อปิดช่องว่างด้านทักษะในการทำงาน รวมถึงเติมเต็มวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีและการเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"ความท้าทายที่เรามองเห็นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสเข้าถึงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยี ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดความฉลาด การคิดอย่างเป็นระบบและทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นกุญแจที่นำไปสู่อนาคต เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งในการเป็นพันธมิตรกับแกร็บเพื่อเปิดตัวเส้นทางในการพัฒนาทรัพยากรแรงงานที่มีความรู้ด้านดิจิทัลทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาของประชากรรุ่นใหม่ ความมุ่งมั่นที่เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือการเป็นกำลังสำคัญในการช่วยให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกบรรลุผลสำเร็จยิ่งขึ้น ด้วยการเป็นพันธมิตรกับแกร็บ เรากำลังสร้างคนทำงานที่จะเปลี่ยนครอบครัว ชุมชนและประเทศ เพื่อสร้างโลกของพรุ่งนี้" แอนเดรีย เดลลา แมทเทีย ประธานไมโครซอฟท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าว
"ในขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังโตขึ้น เราหวังว่าทุกคนจะเติบโตไปด้วยกันรวมถึงได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล สิ่งที่ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษคือการที่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และครอบครัวสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จากคอร์สของไมโครซอฟท์รวมถึงการได้รับประกาศนียบัตรด้วย" ฮุย หลิง ตัน ผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ กล่าว
การเป็นพันธมิตรครั้งนี้จะเน้นไปในเรื่องของความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในหลายระดับ โดยแกร็บและไมโครซอฟท์จะร่วมมือกันใน 3 ด้านดังต่อไปนี้
- ฝึกฝนนักศึกษาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต
- แกร็บและไมโครซอฟท์จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดอบรมกับทักษะที่ใช้ได้จริงและทักษะทางเทคนิคซึ่งเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรม
- ไมโครซอฟท์จะให้ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม รวมถึงหลักสูตร แพลตฟอร์มการเรียนรู้และประกาศนียบัตร นอกเหนือจากอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้อย่างซอฟต์แวร์ Azure เพื่อการศึกษา ในขณะที่แกร็บจะสนับสนุนด้านการศึกษาประยุกต์ด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม รวมถึงข้อมูล พร้อมมอบประสบการณ์ในการเรียนรู้ความท้าทายของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านแฮกกาธอนและการฝึกงาน
- แกร็บและไมโครซอฟท์ประกาศพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยแห่งอินโดนีเซีย และวิทยาลัยเทคโนโลยีบันดุงในการสนับสนุนโปรแกรมที่ได้รับการรับรองจากไมโครซอฟท์ โดยคาดว่าจะมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นภายใน 6 เดือนหลังจากนี้
สนับสนุนพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และครอบครัวให้ประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการพัฒนาทักษะดิจิทัล
แกร็บจะสนับสนุนให้พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ สามารถเข้าเรียนหลักสูตรพัฒนาทักษะออนไลน์ของไมโครซอฟท์ได้ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บ โดยจะสามารถเรียนคอร์สพื้นฐาน เช่นความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ การใช้อินเทอร์เน็ตและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากจบแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตรจากไมโครซอฟท์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
โดยจะเริ่มเปิดตัวด้วยภาษาอังกฤษในแกร็บอะคาเดมี่ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอบรมออนไลน์ในแอปพลิเคชันแกร็บ ก่อนที่จะเปิดตัวภาษาอื่นๆ ปีหน้า ไมโครซอฟท์และแกร็บจะร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) และศูนย์การเรียนรู้ Empire Code เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคน โดยเฉพาะบุตรและคู่สมรสของพาร์ทเนอร์แกร็บ ในการเข้าถึงการศึกษาคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมผ่านแพลตฟอร์ม FutureReadyASEAN
ปูทางให้พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่สามารถทำงานในสายเทคโนโลยีได้ ด้วยการสนับสนุนจาก Generation: You Employed ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในระดับโลก แกร็บและไมโครซอฟท์จะปูทางให้พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ที่สนใจในอาชีพด้านเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนจาก Generation: You Employed องค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการสร้างทักษะในการทำงาน โดยโปรแกรมนี้จะครอบคลุมถึง หลักสูตรการฝึกปฎิบัติพัฒนาโดย Generation และยังเปิดโอกาสให้ได้รับประกาศนียบัตรจากไมโครซอฟท์ ซึ่งผู้ที่เรียนจบโครงการนี้สามารถสัมภาษณ์งานกับบริษัทพันธมิตรของแกร็บและไมโครซอฟท์ได้ในตำแหน่งด้านเทคโนโลยี โครงการทดลองแรกจะเริ่มในประเทศสิงคโปร์ซึ่งจะเพิ่มทักษะให้กับพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่จำนวน 100 คน โดยจะเริ่มฝึกอบรมกลุ่มแรกในปีเดือนมิถุนายนปีหน้า นอกจากนี้โปรแกรมนี้ยังจะได้รับการบรรจุในแผนการของโครงการ SkillsFuture ของการพัฒนาแรงงานและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่แกร็บชาวสิงคโปร์อย่างเป็นระบบ และจะเปิดตัวในประเทศอื่นหลังจากการประเมินโครงการแรก ตอบสนองผู้ที่มีความพิการ หัวใจหลักของโปรแกรม 'แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า' คือการที่ทุกคน ไม่ว่าจะมีภูมิหลังอย่างไรหรือศักยภาพด้านไหน ก็สามารถได้ประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล ตั้งแต่วันนี้ แกร็บจะขยายโครงการ 'Break the Silence' ไปยังอินโดนีเซียและสิงคโปร์ รวมถึงการพัฒนาโครงการในมาเลเซียและไทยที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยแกร็บมีพาร์ทเนอร์หูหนวกมากกว่า 500 คนบนแพลตฟอร์ม และวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนอีก 2 เท่าภายในปีต่อมา
โดยในสัปดาห์หูหนวกโลกปีนี้ (วันที่ 23 – 30 กันยายน) แกร็บจะเปิดตัวการเป็นพันธมิตรกับ Gerkatin ในอินโดนีเซีย สหภาพคนหูหนวกแห่งมาเลเซีย สมาคมคนหูหนวกแห่งสิงคโปร์ และสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนหูหนวกและผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินในภูมิภาค บัมยัง ปราเซโย ประธานคณะกรรมการสวัสดิการและผู้หูหนวกแห่งอินโดนีเซีย (IAWD/Gerkatin) กล่าวว่า "การหาโอกาสในการเพิ่มรายได้เป็นความ ท้าทายสำหรับชุมชนของเรา สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือการขาดอุปกรณ์สนับสนุนในการสื่อสารภาษามือเพื่อสนับสนุนคนหูหนวกในการทำงาน เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่องค์กรเช่นแกร็บ ต้อนรับเราในการเป็นผู้ขับขี่บนแพลตฟอร์ม ผู้ค้าและพาร์ทเนอร์ผู้ส่งของ การเป็นพันธมิตรกับแกร็บช่วยสร้างพลังให้กับสมาชิกในชุมชนของเราให้มีความมั่นใจในความสามารถและมีอิสระทางการเงิน สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้ เรามีความเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรในครั้งนี้จะเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญสำหรับประเทศอินโดนีเซียในการเดินหน้าเป็นหนึ่ง"
แกร็บกำลังดำเนินการพัฒนากระบวนการและฟีเจอร์ใหม่ในแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถสื่อสารกับผู้โดยสารได้ง่ายขึ้น รวมถึงฟีเจอร์แชท (ดูได้จาก ภาคผนวก B) โดยเฉพาะ ในมาเลเซีย แกร็บจะผลิตพจนานุกรมสัญลักษณ์เพื่อให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปในการสื่อสารกับชุมชนคนหูหนวกผ่านทางวิดเจ็ตในแอปพลิเคชันแกร็บรวมถึงการอบรมรายเดือนแก่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ในการช่วยผู้โดยสารที่มีความพิการ
อัล โคซาร์ วิราวัน พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่หูหนวกของแกร็บ กล่าวว่า "ผมถูกเลิกจ้างจากงานเก่าเพราะความบกพร่องทางการได้ยิน การหาแหล่งรายได้ใหม่ถือเป็นเรื่องยากลำบากจนกระทั่งผมรู้จักแกร็บ ตอนนี้ผมเป็น(พาร์ทเนอร์)ผู้ขับขี่แกร็บมาปีกว่าแล้วและไม่เคยรู้สึกว่าตัดสินใจผิดเลย ผมอยากขอบคุณแกร็บสำหรับโอกาสดีๆ แบบนี้ และผมมีความสุขมากที่แกร็บพยายามหาทางพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น"
ฮุย หลิง ตัน กล่าวว่า "ปัจจุบัน มีผู้พิการเกือบ 800 คน ทั้งคนหูหนวก สมองพิการ หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ที่สามารถเข้าถึงโอกาสในการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มแกร็บ พวกเขาให้บริการลูกค้าของเราในฐานะพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่หรือผู้ส่งของ ไปพร้อมกับการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่พบเจอ ความยืนหยัดทำให้พวกเขาเป็นอิสระทางการเงิน ซึ่งแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนอย่างแกร็บ ไม่เคยกีดกันใคร ในทางตรงกันข้าม เราเปิดประตูแห่งโอกาสให้กว้างยิ่งขึ้น"
เพื่อรองรับความต้องการของผู้พิการ แกร็บเปิดตัว GrabGerek บริการการเดินทางสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ ในอีก 2 เมืองของอินโดนีเซีย โดย GrabGerek จะเปิดตัวในเมืองเมดานและเมืองเซอมารังในเดือนธันวาคมปีนี้
แกร็บยังมีบริการการเดินทางสำหรับผู้ที่มีความต้องการการเข้าถึงที่แตกต่างกันไปในสิงคโปร์และไทย คือแกร็บแอสซิสท์ (GrabAssist) พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่จะได้รับการอบรมพิเศษรวมถึงการดูแลรถเข็น ไม้เท้าช่วยเดิน เก้าอี้รถเข็นไฟฟ้าและอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนไหวอื่นๆ การช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายระหว่างรถเข็นและพาหนะ ภาษามือขั้นต้นเพื่อสื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยินเกี่ยวกับเส้นทางและจุดหมายปลายทาง และสิ่งที่ควรระวังอื่นๆ เช่น สิ่งที่ควรพูดและไม่ควรพูด
เกี่ยวกับแกร็บ
แกร็บ (Grab) คือ ผู้นำด้านซูเปอร์แอปที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันให้กับผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันแอปพลิเคชันแกร็บได้ถูกดาวน์โหลดบนโทรศัพท์มือถือมากกว่า 163 ล้านเครื่อง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ ร้านค้าและผู้แทนกว่า 9 ล้านราย แกร็บยังมีเครือข่ายการให้บริการขนส่งทางบกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยได้ให้บริการการเดินทางไปแล้วมากกว่า 4 พันล้านเที่ยวนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2555 นอกเหนือจากบริการการเดินทางแบบออนดีมานด์ที่มีความหลากหลายแล้ว แกร็บยังนำเสนอบริการด้านอื่นๆ ให้กับผู้ใช้งานทั่วทั้ง 339 เมืองใน 8 ประเทศ อันได้แก่ การบริการรับส่งอาหาร การจัดส่งสินค้าและพัสดุ ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนบริการทางการเงิน