กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--คอร์แอนด์พีค
การสำรองข้อมูลช่วยบริษัทได้อย่างไร
ข้อมูลถือเป็นเลือดที่หล่อเลี้ยงองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน และองค์กรต่างๆ ต้องทำการสำรองข้อมูลเป็นประจำ เพื่อให้สำเนาของข้อมูลสำคัญได้รับการจัดเก็บอย่างปลอดภัยในแหล่งที่ปลอดภัยและสามารถนำมาใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน โดยหากเกิดกรณีที่ข้อมูลได้รับความเสียหาย การดำเนินการกู้คืนจะถูกเปิดใช้งานเพื่อดึงข้อมูลที่สำรองไว้มาแทนที่ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่สำรองสตอเรจของตนอย่างไร และมีข้อจำกัดใดบ้าง
ในปัจจุบันองค์กรจำนวนมากใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อสำรองข้อมูลของตน เนื่องจากเป็นโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลจำนวนมากต้องการการปกป้องที่เพิ่มขึ้นและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ต้องมีความพร้อมใช้งานมากขึ้นตามความต้องการด้านธุรกิจของผู้ใช้ ปัญหาในโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการสำรองและการกู้คืนข้อมูลที่ใช้เทปจึงเริ่มปรากฏขึ้น
ตัวอย่างเช่น ความรวดเร็วถือเป็นเรื่องสำคัญ ธรรมชาติของการเข้าถึงเทป และความต้องการในการหยุดเทปและเปลี่ยนทิศทางการใช้งานเทปก่อให้เกิดข้อกำหนดเกี่ยวกับความรวดเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนสื่อบันทึก ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะลดหน้าต่างสำรองข้อมูล จะเห็นได้ว่าในขณะดำเนินการสำรองข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชั่นอาจหยุดชะงักได้ ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปยังขั้นตอนการทำงานในองค์กร
การกู้คืนข้อมูลของแอพพลิเคชั่นจากเทปยังช้า เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ต้องดำเนินการด้วยตนเองหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การกู้คืนเทป และการนำเทปมาแสดงเพื่อทำการกู้คืนข้อมูลสิ่งนี้มีนัยสำคัญเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับระยะเวลาการกู้คืนที่ยอมรับได้ ซึ่งวัดจากความเร็วที่แอพพลิเคชั่นต้องถูกทำให้พร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้หลังจากเกิดไฟดับหรือระบบหยุดทำงานโดยไม่คาดคิด
สถานการณ์ดังกล่าวถูกทำให้ซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากเทปสำรองข้อมูลโดยปกตินั้น ต้องถูกบรรจุและจัดส่งไปยังไซต์งานธุรกิจระยะไกลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลได้รับการจัดเก็บอย่างปลอดภัย กระบวนการนี้ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายและความผิดพลาดได้ เนื่องจากจะต้องส่งเทปกลับคืนมาอีกครั้ง ในกรณีที่ต้องการกู้คืนข้อมูล
ข้อจำกัดอีกอย่างของเทปคือเรื่องการจัดการ เนื่องจากต้องเพิ่มความจุในการจัดเก็บที่มากขึ้นของเทปแต่ละตลับ จะเห็นได้ว่าพื้นที่ของเทปส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้สำรองทั้งหมด ยังคงมีส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่ในเทปแต่ละตลับอยู่
การหมุนเวียนสื่อสำรองข้อมูลในระบบจีเอฟเอส (Grandfather-father-son :GFS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ทั่วไปนั้น ต้องใช้เทปจำนวนมหาศาล โดยที่การกำหนดค่าจีเอฟเอสโดยทั่วไป จะต้องทำการสำรองข้อมูลทุกวัน (ตลับเทป 5 ชุด) การสำรองข้อมูลทั้งหมดต้องดำเนินการทุกสุดสัปดาห์ (52 ครั้งต่อปี) การสำรองข้อมูลทั้งหมดในแต่ละเดือนต้องได้รับการดำเนินการทุกเดือน (12 ครั้งต่อปี) และเดือนสุดท้ายของปีที่จะต้องทำการสำรองข้อมูลทั้งหมดในแต่ละปี (เก็บรักษาเป็นเวลา 7 ปี) โดยการใช้กฎเกณฑ์จีเอฟเอสจะต้องได้รับการวางแผนไว้ โดยต้องใช้สตอเรจหลักขนาด 30 เทราไบต์ ซึ่งความจุของเทปราว 750 เทราไบต์ (หรือราว 9000 LTO-1 ตลับ) สิ่งนี้เป็นต้นเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและทางตรรกะที่สำคัญ
นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานของเทปยังมีราคาแพงและไม่สนับสนุนการปรับขนาดที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์ใหม่และพื้นที่จัดวางที่เพิ่มขึ้นนั้นจะต้องใช้สถานที่เก็บเทปเพิ่มขึ้นด้วย
โอกาสความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นเมื่อใช้เทปมีอะไรบ้าง
งานสำรองข้อมูลที่ใช้เทปนั้น จะมีอัตราความล้มเหลวในการดำเนินการครั้งแรกที่ระดับ 20-30% เนื่องจากธรรมชาติทางกลไกของเทคโนโลยีเทปแม่เหล็ก ไม่ว่าจะเป็นตลับ มอเตอร์เทป ที่จัดวาง และสถานที่จัดเก็บ ล้วนมีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนย้ายจำนวนมาก ความล้มเหลวจึงเกิดจากความเสื่อมสภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ความล้มเหลวดังกล่าวมีผลต่อการป้องกันข้อมูล เมื่อการสำรองข้อมูลล้มเหลว จะต้องมีการเรียกใช้ซ้ำหรือยกเลิกการดำเนินการ ตัวเลือกแรกจะทำให้เกิดหน้าต่างการสำรองข้อมูลเพิ่มขึ้นและจำกัดความพร้อมใช้งานของแอพพลิเคชั่น ตัวเลือกที่สองจะปล่อยให้ข้อมูลของแอพพลิเคชั่นไม่ได้รับการป้องกันจนกว่าจะมีการสำรองข้อมูลครั้งต่อไปเกิดขึ้น
ตัวเลือกอะไรบ้างที่บริษัทต่างๆ มี เมื่อเทปมีข้อจำกัดในตัวเอง
องค์กรกำลังมุ่งไปทางระบบการจัดเก็บสำรองข้อมูลเทปเสมือนจริง หรือวีทีแอล (Virtual Tape Libraries: VTL) ซึ่งเป็นวิธีใหม่และมีประะสิทธิภาพมากขึ้นในการป้องกันข้อมูลองค์กร ด้วยการจัดหาอินเทอร์เฟซเสมือนจริงที่สามารถจำลองแหล่งทรัพยากรเทปที่มีอยู่ พร้อมทั้งทำการเขียนข้อมูลสำรองลงในดิสก์ได้ โดยระบบวีทีแอลจะสามารถแก้ไขข้อจำกัดของกระบวนการที่ใช้เทปสำรองข้อมูลโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดพื้นฐานของการป้องกันข้อมูลองค์กร โดยวีทีแอลให้ข้อดีของการสำรองข้อมูลโดยใช้เทป โดยที่องค์กรไม่ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบาย วิธีปฏิบัติ และขั้นตอนการสำรองข้อมูลของตน
โซลูชั่นเวอร์ชวล เทป ไลบรารี่ (วีทีแอล) ทำงานอย่างไร
การรวมของซอฟต์แวร์ เซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจได้สร้างโซลูชั่นไลบรารีเทปเสมือนในรูปของแอพพลิเคชั่นสำรองข้อมูลที่เป็นไลบรารีเทปเดียวหรือหลายไลบรารี ไม่มีความจำเป็นที่จะเปลี่ยนนโยบาย วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการสำรองข้อมูลที่มีอยู่ แอพพลิเคชั่นสำรองข้อมูลเข้าถึงไดรฟ์ โรโบติกส์ และตลับ เหมือนกับไลบรารีเทปปกติทั่วไป
ประโยชน์ของวีทีแอลคืออะไร
โซลูชั่นวีทีแอลบางอย่างประกอบด้วยข้อเสนอที่ใช้ดิสก์ระดับองค์กรที่สามารถปรับขนาดได้ ซึ่งเป็นการจำลองไลบรารีเทป เนื่องจากโซลูชั่นดังกล่าวมาในรูปของแอพพลิเคชั่นสำรองข้อมูลเป็นไลบรารีเดียวหรือหลายไลบรารี แอพพลิเคชั่นสำรองข้อมูลจึงเข้าถึงไดรฟ์ โรโบติกส์ และตลับเหมือนกับไลบรารีเทปปกติ แต่เนื่องจากข้อมูลอยู่ในดิกส์ จึงต้องทำการปรับปรุงการใช้งานของผู้ใช้ในการดำเนินการสำรองและกู้คืนข้อมูลอย่างมาก
โซลูชั่นที่ใช้ดิสก์สามารถรับข้อมูลนับร้อยเมกะไบต์ต่อวินาทีได้อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นและเปลี่ยนทิศทางเทปได้ตามต้องการ สิ่งนี้ทำให้สามารถกำหนดเวลาในการดำเนินการสำรองข้อมูลได้อย่างสม่ำเสมอ และรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงส่งผลให้แอพพลิเคชั่นมีความพร้อมใช้งานมากขึ้น
การแทนที่ของเทปด้วยสตอเรจ RAID (Redundant Array of Independent Disks) ยังสามารถจัดการปัญหาของความล้มเหลวในการสำรองข้อมูลและความพร้อมใช้งานของแอพพลิเคชั่นได้ ด้วยการใช้ดิสก์จำนวนมากเพื่อให้แน่ใจว่ามีพื้นที่ที่เพียงพอในการใช้งาน การกำหนดค่าสตอเรจ RAID ให้ความพร้อมใช้งานในระดับสูง แม้ในสถานการณ์ที่มีความต้องการในแอพพลิเคชั่นออนไลน์สูงสุด
นอกจากนี้ เวลาในการกู้คืนข้อมูลก็ลดลงอย่างมากเนื่องจากการกู้คืนโดยใช้ดิสก์ไม่ล่าช้าเหมือนเทป ไม่ว่าจะเป็นการระบุตำแหน่งและนำสื่อมาแสดงก่อนที่จะทำการค้นหาไฟล์ที่ต้องการในลำดับต่อไป
สิ่งนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการสำรองและกู้คืนข้อมูลของไซต์ระยะไกล จะเห็นได้ว่าโซลูชั่นบางอย่างมีเทคโนโลยีการสำรองข้อมูลที่ช่วยให้เกิดการคัดลอกข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูลองค์กรระยะไกลหรือภายในได้อย่างปลอดภัยโดยใช้เครือข่ายสตอเรจที่รวดเร็ว ในกรณีของไฟดับอย่างไม่คาดคิด เทคโนโลยีสำรองข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้องค์กรกลับมาอยู่ในสภาพเดิมด้วยการทำให้เกิดการกู้คืนข้อมูลในทันที
ขณะที่นวัตกรรมอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ไลบรารีเทปเสมือน ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายจากที่เคยเสียให้กับการใช้เทปสำรองได้อย่างมาก
โซลูชั่นบางอย่างมาพร้อมกับคุณลักษณะลดจำนวนการเก็บสำรองข้อมูลในดิสก์ (De-duplication) ซึ่งลดความต้องการสตอเรจให้น้อยลงอย่างมาก และทำให้การสำรองดิสก์ต่อดิสก์มีความคุ้มค่ามากกว่าเทปสำรอง สิ่งนี้ทำให้สามารถบีบอัดข้อมูลจาก 25 หน่วยเหลือเพียง 1 หน่วย ซึ่งอำนวยความสะดวกในการกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนและลดค่าใช้จ่ายสตอเรจที่ต้องใช้งาน ขณะที่ยังสามารถปรับปรุงต้นทุนโดยรวมของโซลูชั่นทั้งหมดได้ด้วย
และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้เปิดตัวระบบการจัดเก็บสำรองข้อมูลเทปเสมือนหรือ เวอร์ชวล เทป ไลบรารี (Virtual Tape Library (VTL) Appliance) ใหม่ 3 รุ่น (Virtual Tape Library Appliance รุ่น 500M, Virtual Tape Library Appliance รุ่น 1000L และ Virtual Tape Library Appliance รุ่น 1000E) ซึ่งออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้าโดยเฉพาะ ด้วยคุณลักษณะที่ครอบคลุมของอุปกรณ์การจัดเก็บสำรองข้อมูลเทปเสมือน (วีทีแอล) ทำให้ลูกค้าองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่สามารถใช้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีคุณสมบัติในการปกป้องข้อมูลได้อย่างดีผ่านการใช้ดิสก์ที่ทันสมัยสูงสุดและมีความรวดเร็ว รวมทั้งพร้อมใช้งานแล้วในขณะนี้ โดยที่ข้อสนอของคู่แข่งในระดับเดียวกันไม่สามารถเทียบได้
สื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร.0 - 2439 - 4600 ต่อ 8300
Srisuput@corepeak.com