กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล
การประชุมเอเชีย แปซิฟิก เฮ้าส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งที่ 7 ณ ประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ "การร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือผลกระทบด้านที่อยู่อาศัย" ได้ดึงเอาผู้นำด้านอุตสาหกรรมและผู้เกี่ยวข้องในภาคการเคหะมารวมตัวกัน เพื่อร่วมค้นหานวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเพื่อผู้ประสบปัญหาในด้านที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ราชประสงค์ และยังได้รับเกียรติจากท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซ่น เดินทางมาร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานอีกด้วย
ในงานการประชุมเอเชีย แปซิฟิก เฮ้าส์ซิ่ง ฟอรั่ม ครั้งที่ 7 นี้ เปรียบเสมือนกระบอกเสียงในการชี้ให้เห็นว่าทำไมเรื่องที่อยู่อาศัยถึงมีความสำคัญ และช่วยให้ตระหนักถึงศักยภาพในการสร้างความร่วมมือร่วมใจเพื่อนำไปสู่แรงสนับสนุนที่จะทำให้บ้านราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้เกิดขึ้นจริง ทำให้เห็นถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัยที่ครบครับ มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน ช่วยส่งเสริมผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในด้านเคหะผ่านการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
การประชุม เอเชีย แปซิฟิค เฮ้าส์ซิ่ง ทั้ง 4 วัน ประกอบไปด้วย การประกาศรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมเพื่อที่อยู่อาศัย หลักสูตรการฝึกอบรม 2 วันเกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นคงของที่ดินเพื่อการรับมือกับภัยพิบัติ และ 2 กิจกรรม Urban Thinkers Campus – สภาเยาวชนและศูนย์กลางผู้ประกอบการเคหะในเมือง เพื่อสนับสนุน World Urban Campaign m ที่ส่งเสริมระเบียบวาระใหม่แห่งการพัฒนาเมืองและเป้าหมายการพัฒนาเมืองอย่างยืนปี 2573 ขององค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น นอกจากนี้ยังได้พูดคุยถึงประเด็นปัญหาหลักที่เกียวข้องกับผลกระทบของการลงทุน ระบบเศรษฐกิจ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม การรับมือกับภัยพิบัติ นวัตกรรมที่เน้นผู้คนเป็นศูนย์กลาง และเทคโนโลยีที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้นำอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคและทั่วโลก
มร. โจนาธาน เรคฟอร์ด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล กล่าวในงานเปิดการประชุมถึงการมุ่งเน้นที่การขยายความสำเร็จของธุรกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านตลาดที่อยู่อาศัยที่ราคาเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังมี นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทอนันดา ดีเวลอปเม้นท์ และ มร. ดาวาล โมนานิ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ First Home Realty Solutions มาร่วมพูดคุยในครั้งนี้อีกด้วย
งานประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดย โดยองค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างมูลนิธิเพื่อที่อยู่อาศัยสากล ที่เชิ่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่นำโดยพันธมิตรจากภาคเอกชนภาครัฐและสังคไม่ว่าจะเป็น บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด มูลนิธิฮิลติ Aditya Birla Group HMTX Industries UN-Habitat Cities Alliance และ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ
เกี่ยวกับการประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัย
การประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัยเป็นการประชุมที่จัดขึ้นทุกๆสองปี โดยมูลนิธิที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆได้พบปะร่วมกันค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่พักอาศัยไม่เพียงพอและย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำในฐานะตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี 2550 การประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัยก่อให้เกิดการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่สนใจในประเด็นนี้แล้วกว่า 5,000 คน ได้รับแรงสนับสนุนจาก UN-Habitat Cities Alliance สภากาชาดระหว่างประเทศและสภาเสี้ยววงเดือนแดง World Bank Arup Hilti Foundation และมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย และองค์กรอื่นๆอีกหลายภาคส่วน การประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 7 นี้ จัดภายใต้หัวข้อ "การร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผลกระทบด้านที่อยู่อาศัย" ระหว่างวันที่ 16-19 กันยายน ณ กรุงเทพฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงเมษายนถึงกรกฎาคมก็ได้มีการจัดฟอรัมนี้ในประเทศต่างๆ อย่าง บังคลาเทศ นิวซีแลนด์ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ และ กัมพูชา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ aphousingforum.org
เกี่ยวกับ (Habitat for Humanity)
มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ (Habitat for Humanity) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2519 ที่ขับเคลื่อนโดยวิสัยทัศน์ที่ว่าทุกคนต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าอยู่ โดยมีโครงการบ้านคริสเตียนที่กลายเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่มีในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก องค์การนี้ได้ก่อตั้งในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ในปี 2526 โดยได้สนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนหลายล้านคนในการพัฒนาสถานที่จนทำให้กลายเป็นที่พวกเขาเรียกว่าบ้าน ช่วยเหลือทางด้านการเงิน สนับสนุนการดำเนินงานอาสาสมัคร และเพิ่มเสียงในการสนับสนุนบ้านที่มีราคาที่เข้าถึงได้ จนทำให้ทุกคนในสังคมสามารถช่วยเหลือครอบครัวได้อย่างมั่นคงบนพื้นฐานที่แข็งแรง สามารถพึ่งพาตัวเองได้ จนพวกเขาสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับตนเอง ครอบครัว ตลอดจนสังคมได้นั่นเอง โดยเราช่วยพวกเขาผ่านที่พักพิง ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม บริจาคหรืออาสาสมัคร ได้ที่ habitat.org/asiapacific