ผลการวิจัยพบว่าเทรนด์ ไมโคร สแกนเมล์ สำหรับไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์ สามารถช่วยลดต้นทุน และประหยัดค่าใช้จ่ายได้สูงสุด

ข่าวเทคโนโลยี Monday February 25, 2008 15:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--คอร์ แอนด์ พีค
จากผลการศึกษาของบริษัทวิจัยอิสระแห่งหนึ่งพบว่า การรักษาความปลอดภัยให้กับเมล์เซิร์ฟเวอร์ของ เทรนด์ ไมโครนั้น ช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเงินและเวลาสูงสุดเมื่อเทียบกับโซลูชั่นชั้นนำอื่นๆ ในตลาด
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์ และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยถึงผลการศึกษาของบริษัทวิจัยอิสระแห่งหนึ่ง พบว่าเทรนด์ ไมโคร สแกนเมล์สำหรับโปรแกรมไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์ ช่วยลดต้นทุน ช่วยประหยัดเงิน และเวลาให้กับองค์กรธุรกิจได้สูงสุด
การสำรวจครั้งนี้ดำเนินการโดยบริษัท ออสเตอร์แมน รีเสิร์ช โดยได้เปรียบเทียบโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยด้านการรับส่งข้อความ 4 โซลูชั่นจาก 4 บริษัทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสชั้นนำ ซึ่งออกแบบมาสำหรับลักษณะการทำงานของไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์ และจากการสำรวจได้ข้อสรุปว่าค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของโดยรวมระยะเวลา 3 ปี สำหรับองค์กรที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน 2,500 เครื่อง พบว่าบริษัท เทรนด์ ไมโครเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด คือ 141,237 ดอลลาร์ ในขณะที่บริษัทผู้ค้ารายอื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 200,000 ดอลลาร์ขึ้นไป
การสำรวจครั้งนี้ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และทำการสอบถามทางเว็บกับผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีขององค์กรขนาดใหญ่จำนวนกว่า 100 ราย โดยสอบถามเกี่ยวกับเวลา และทรัพยากรที่พวกเขาลงทุนในการเลือกซื้อ ปรับใช้ และจัดการกับโซลูชั่นป้องกันไวรัสและสแปม
นายไมเคิล ออสเตอร์แมน ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ออสเตอร์แมน รีเสิร์ช กล่าวว่า “จากการวิเคราะห์ของเราสรุปได้ว่า เทรนด์ ไมโคร สแกนเมล์นั้นช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโซลูชั่นของบริษัทอื่นๆ เนื่องจากใช้เวลาในการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องน้อย ซึ่งเรื่องเวลาในการบริหารจัดการนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายหลักในการเป็นเจ้าของโซลูชั่น และสิ่งนี้เองที่ได้กลายเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นเมื่อมีการพิจารณาถึงข้อเสนอด้านความปลอดภัยสำหรับเมล์เซิร์ฟเวอร์ ในบรรดาโซลูชั่นจากผู้ค้าที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ ลูกค้าที่ใช้สแกนเมล์ สำหรับเอ็กซ์เชนจ์ เสียเงินไปเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับสิ่งที่พวกเขาต้องจ่ายให้กับโซลูชั่นอื่นๆ”
และจากรายงานของอินฟอร์เมชันวีคเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า 53% ของซีไอโอทั้งหมด บอกว่าการดูแลรักษาระบบไอทีอย่างต่อเนื่องเป็นอุปสรรคหลัก โดยเฉพาะเมื่อซีไอโอที่ต้องรับผิดชอบด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคและการสนับสนุน ต้องเข้ามารับบทบาทดูแลด้านยุทธศาสตร์ให้กับบริษัทมากขึ้น ผลที่ได้ก็คือ เวลาและเงินที่ลดลงจากการดูแลรักษาระบบไอทีอย่างต่อเนื่องสามารถนำมาใช้สร้างนวัตกรรมและผลักดันให้เกิดผลกำไรได้
นายจิม เฟอร์กูสัน เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้ดูแลระบบ Exchange บริษัท แอกซ์เซลิส เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “เราไม่ประหลาดใจเรื่องผลการศึกษาค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของโดยรวมที่ได้นี้ เนื่องจากเทรนด์ ไมโคร สแกนเมล์ สำหรับไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์นี้ ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานอีเมล์ได้นานราว 6 ปี และยังสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง โซลูชั่นความปลอดภัยของเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ไม่มีบริษัทใดต้องการใช้เวลาและเงินมากในการปรับใช้ และจัดการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เนื่องจากทรัพยากรดังกล่าวสามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ได้มากกว่า”
ประเด็นสำคัญที่ได้จากรายงานการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
- ในระยะเวลา 3 ปี ลูกค้าของบริษัท เทรนด์ ไมโครใช้เวลากับการจัดการด้านความปลอดภัยให้กับเมล์เซิร์ฟเวอร์น้อยที่สุด (2,282 คนต่อชั่วโมง) ในขณะที่บริษัทอื่นใช้เวลาจัดการด้านความปลอดภัยให้กับเมล์เซิร์ฟเวอร์มากถึง (4,165 คนต่อชั่วโมง)
- สำหรับค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์แ ละการบริหารจัดการ พบว่า ลูกค้าของบริษัท เทรนด์ ไมโครมีค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของโดยรวมต่ำที่สุดในระยะเวลา 3 ปี (141,237 ดอลลาร์) คิดเป็นเกือบครึ่งที่ลูกค้าของบริษัทอื่นๆ ใช้ไป
- บริษัท เทรนด์ ไมโคร ใช้เวลาในการติดตั้ง การกำหนดค่า และการทดสอบน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับโซลูชั่นของผู้ค้าทั้งหมด โดยใช้เวลาเพียง 1 ใน 3 ของบริษัทอื่นๆ (106 ต่อ 292 คนต่อชั่วโมง)
- ลูกค้าของบริษัท เทรนด์ ไมโคร ใช้เวลาในการบริหารจัดการต่อสัปดาห์น้อยที่สุด (เพียง 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 624 ชั่วโมงต่อปี) เมื่อเทียบกับลูกค้าของบริษัทอื่นๆ ซึ่งใช้เวลาไปเกือบสองเท่า (23 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 1,196 ชั่วโมงต่อปี)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
คุณบุษกร สนธิกร และคุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด
โทร. 02-439-4600 ต่อ 8202, 8300

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ