กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ ไขรหัสลับครู AI และครูผู้สร้างแรงบันดาลใจสู่ผู้เรียน การเสวนา ใน WORLD DIDAC ASIA 2019 งานแสดงสื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสำหรับการศึกษาทุกระดับชั้น พร้อมการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ โดยหัวข้อในการสัมภาษณ์ รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ได้สัมภาษณ์ถึง "การไขรหัสครู AI" จะมาแทนครูที่เป็นคนจริงๆได้หรือไม่ สรุปแล้วพบว่า ทดแทนได้เพียงแค่ในส่วนของ Content แต่ส่วนที่ยังเป็นข้อจำกัดของ AI คือ
1) ความรักและจริงใจที่มีให้เด็ก ทำให้เด็กรู้สึกถึงความอบอุ่นและมีที่พึ่ง
2) การสร้างเด็กให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม
3) ทักษะต่างๆที่ไม่สามารถใช้การบรรยายหรือการทำแบบฝึกหัดสร้างได้เช่นกระบวนการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์แต่ต้องใช้ความเป็นโค้ชในการเทรนนักเรียนขึ้นมา
4) tacit knowledge หรือความรู้ฝังตัวบางประเด็นที่อยู่ในสัญชาตญาณหรือ ประสบการณ์ลึกของครูผู้สอนที่บางครั้งไม่สามารถถ่ายทอดออกเป็นคำพูดได้ทำได้แค่เพียง กระทำให้ดูตามสถานการณ์แวดล้อม เท่านั้น
5) การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิด Network และความสัมพันธ์เชิงบวกช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันซึ่ง AI ไม่สามารถสร้างบรรยากาศเหล่านี้ได้
6) การประเมินแบบ Formative assessment คือการประเมินตามสภาพจริงอาจจะสามารถประเมินผลด้วยวิธีการแบบสำเร็จหรือวัดผลสัมฤทธิ์ ด้านต่างๆแต่ในการประเมินติดตามเพื่อการพัฒนา AI ไม่สามารถทำได้เนื่องจากไม่สามารถสังเกตพฤติกรรมและวิเคราะห์ได้ตามสภาพการณ์จริงเหมือนกับมนุษย์
ทั้งนี้อาชีพครู ยังคงเป็นอาชีพที่ เป็น Enduring Job เป็นอาชีพที่ เป็นอมตะไม่มีวันตาย เพราะครูยังคงเป็นที่พึ่งทางด้านจิตวิญญาณ ความรู้และภูมิปัญญา ณ ห้อง Amber 1 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร