กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--บางกอก ออทัม
สแกน อินเตอร์ เปิดตัวพาร์ทเนอร์ ร่วมลงทุน โซลาร์ รูฟท็อป ภายใต้ บริษัท สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ จำกัด พร้อมเซ็นต์สัญญาลูกค้ากลุ่มแรก ขนาดกำลังการผลิต 4 เมกะวัตต์ ตั้งเป้า 4 ปี ขยายกำลังการผลิตรวมกว่า 110 เมกะวัตต์(MW)
บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN ผู้นำด้านธุรกิจพลังงาน พลังงานหมุนเวียน และยานยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก พร้อมด้วยกลุ่มพันธมิตร บริษัท ไทย แอดวานซ์ โซลาร์ (TAS) และ บริษัท พร้อมพาวเวอร์ จำกัด (PP) ร่วมกันจัดงานแถลงข่าว พิธีลงนามสัญญาในสัญญาสำหรับผู้ร่วมลงทุนในบริษัท สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ จำกัด และ พิธีลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาคเอกชนกับผู้ประกอบการ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา
ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) จับมือสองพันธมิตร บริษัท ไทย แอดวานซ์ โซลาร์ จำกัด และ บริษัท พร้อมพาวเวอร์ จำกัด ที่มีความชำนาญด้านโซลาร์ รูฟท็อป จัดตั้งบริษัท สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ จำกัด โดยมีสัดส่วนการลงทุนอยู่ที่ SCN 51% TAS 24% และ PP 25% มุ่งเน้นพัฒนาและผลิตพลังงานสะอาดขึ้นมาเพื่อเข้าร่วมลงทุนในสัญญาซื้อขายไฟภาคเอกชน (Private PPA) และสัญญาเช่าโครงการโซลาร์รูฟท็อปอย่างไม่จำกัดด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท พร้อมลงนามซื้อขายไฟฟ้ากว่า 4 MW กับผู้ประกอบการภาคเอกชนประกอบไปด้วย 8 บริษัท 1.บริษัท เค.เค.บี.บ้านโป่ง จำกัด 611.04 กิโลวัตต์, 2.บริษัท ณฐาภพ จำกัด 271.35 กิโลวัตต์, 3.บริษัท ไทยสตาร์ โพลีฟิล์ม จำกัด 361.8 กิโลวัตต์, 4.บริษัท เซ็นไทย พลาสติก จำกัด 410.04 กิโลวัตต์, 5.บริษัท ดาต้า เพาเวอร์ จำกัด 284.8 กิโลวัตต์, 6.บริษัท ยาชิโยดา อัลลอย วีล จำกัด 621.6 กิโลวัตต์, 7.บริษัท ระยองสตาร์ จำกัด 876.96 กิโลวัตต์, 8.บริษัท แจ่มฟ้า ช้อปปิ้งมอลล์ จำกัด 749.7 กิโลวัตต์
ด้วยความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บวกกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.2561-2580 หรือ PDP 2018 ที่คาดการว่าการใช้ไฟฟ้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.6% ในช่วงปี 2562-2563 และ 3.2% ในช่วงปี 2564 อีกทั้งยังมีการสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 9% จากเดิม 5% จากแผน PDP2015 ซึ่งจะหนุนความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศให้สูงขึ้นไปด้วย ในขณะที่อัตราค่าไฟปรับเพิ่มขึ้นทุกปีต้นทุนค่าแผงโซลาร์กลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯได้มองเห็นโอกาสในการขยายตัวทางด้านธุรกิจพลังงาน จึงได้เข้าไปศึกษาและลงทุนในโซลาร์รูฟท็อปที่เป็นธุรกิจขนาดย่อม ที่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้ไฟที่เพิ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โซลาร์รูฟท็อปยังเป็นพลังงานที่สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยลด PM 2.5, ช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงาน และยังช่วยลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการได้อย่างมีนัยสำคัญ
ดร.ฤทธี ยังกล่าวอีกว่า "บริษัท สแกน อินเตอร์ ได้มุ่งพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวเป็นผู้ผลิตพลังงานชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนด้วยการมีพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง โดยปัจจุบันบริษัทฯได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหลายรายที่มีความต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแล้วเป็นจำนวน 4-5 MW นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่ให้ความสนใจอยู่ในระหว่างการเจรจาซื้อขาย คาดว่าปลายปี 2562 นี้จะมียอดการติดตั้งถึง 10 MW และในปี 2563 ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 30 MW ซึ่งจะส่งผลให้มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจโซลาร์รูฟท็อป เพิ่มขึ้น 10% จากเดิมที่ไม่มีสัดส่วนรายได้จากส่วนนี้เลย พร้อมตั้งเป้าถึงปี 2565 บริษัทจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าและดำเนินการเชิงพาณิชย์ถึง 110 MW คิดเป็นมูลค่าลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นผู้ประกอบการที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวัน อาทิ ภาคธุรกิจโรงแรม, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงพยาบาล และโรงเรียน เป็นต้น และนี้จะเป็นอีกก้าวที่มั่นคงของ สแกน อินเตอร์ ในเส้นทางการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน"