กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--โฟร์ พี แอดส์ (96)
ทิศทางพาราควอตวันนี้!!! รอลุ้น!!! อีก 4 วัน ผลจะเป็นอย่างไร???!!!
ทั่วโลกแบนพาราควอตแล้ว 53 ประเทศ ไทยจะไปทางไหน?
มารู้จักสารกำจัดศัตรูพืช "พาราควอต"???!!!
พาราควอต เป็นหนึ่งในสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้มาอย่างยาวนานทั่วโลก และยังเป็นสารเคมีที่อันตรายและเป็นที่ถกเถียงมากที่สุดด้วย
สารพาราควอตถูกสังเคราะห์ขึ้นมาตั้งแต่ปี 1882 แต่โลกรู้จักคุณสมบัติด้านการกำจัดวัชพืชของพาราควอตในปี 1995 หรืออีก 73 ปีให้หลัง และถูกนำมาผลิตและจัดจำหน่ายครั้งแรกโดยบริษัท ICI ของอังกฤษในช่วงต้นปี 1962 จนกระทั่งเป็นหนึ่งในสารกำจัดวัชพืชที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
สหภาพยุโรปอนุมัติให้ใช้สารพาราควอตเมื่อปี 2004 แต่สวีเดน เดนมาร์ก ออสเตรีย และฟินแลนด์ร่วมกันคัดค้านจนนำมาสู่การแบนในอีก 3 ปีต่อมา เนื่องจากมีงานวิจัยยืนยันว่าสารเคมีดังกล่าวเป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ อาทิ ตับ ไต หัวใจ ระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลต่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ส่วนในสหรัฐมีการจำกัดการใช้อย่างเข้มงวด คือต้องได้รับใบอนุญาตจากทางการเท่านั้น
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในเอเชียและละตินอเมริกา นิยมใช้สารพาราควอตอย่างแพร่หลาย เนื่องจากกำจัดวัชพืชได้รวดเร็วและสลายลงสู่พื้นดินได้ง่าย
นอกจากนี้ เกษตรกรยังใช้พาราควอตเพื่อเสริมประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชยอดนิยมอย่างไกลโฟเซต หรือที่รู้จักในชื่อสามัญว่าราวด์อัพ ที่พัฒนาขึ้นโดยสหรัฐ และมักนำมาจะใช้กับพืชตัดแต่งพันธุกรรมอย่างถั่วเหลือง ข้าวโพด และพืชอื่นที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้คงทนต่อสารไกลโฟเซต
เมื่อต้นปี 2015 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ไกลโฟเซตเป็นสารก่อมะเร็ง ขณะที่กำหนดให้พาราควอตเป็นสารเคมีอันตรายปานกลาง แต่มีข้อสังเกตไว้ในรายงานว่าหากถูกดูดซึมเข้าร่างกายจะมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว และเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากรับประทานหรือสัมผัสกับผิวหนังป็นบริเวณกว้าง
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างพาราควอตกับการเกิดโรคพาร์กินสัน อาทิ ผลการศึกษาของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐเมื่อปี 2011 พบว่าสารพาราควอตทำให้เกิดอนุพันธุ์ออกซิเจนที่เป็นอันตรายกับโครงสร้างของเซลล์ และคนที่ใช้พาราควอตหรือยาปราบศัตรูพืชอื่นๆ มีโอกาสเป็นโรคพาร์กินสัน ส่วนผลวิจัยอีกฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology เมื่อปี 2013 พบว่าการได้รับสารพาราควอตทำให้เสี่ยงเป็นพาร์กินสันมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
ขณะที่ประเทศไทยกำลังผลักดันการแบนสารเคมีอันตราย โดยหนึ่งในนั้นมีพาราควอตด้วย ทั่วโลกสั่งห้ามใช้สารพาราควอตแล้วถึง 53 ประเทศ อาทิ กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ฮังการี และจำกัดการใช้อย่างเข้มงวดอีก 17 ประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์