กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด
ในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ อากาศมักเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันอากาศก็เย็นลง บางวันก็มีฝนมาให้ชุ่มฉ่ำ ซึ่งในช่วงอากาศแบบนี้จะมีแต่ความชื้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อโรคหลายชนิดเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงไม่แปลกที่ในช่วงนี้เราจะพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ และโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ แถมปีนี้เจ้าฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว PM2.5 ก็กลับมาเยี่ยมคนกรุงเทพฯ ซ้ำเข้าไปอีก แม้ภาพรวมในครั้งนี้จะมีท่าทีว่าปริมาณฝุ่นคงไม่หนักเท่ากับครั้งที่ผ่านมา แต่จากเว็บไซต์ AirVisual[1] ที่รายงานดัชนีคุณภาพอากาศทั่วโลกแบบเรียลไทม์ ก็ยังมีการเผยช่วงเวลา ที่สภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ปกคลุมไปด้วยฝุ่นละออง จนเด้งขึ้นไปติดอันดับ 1 ของโลกที่มีค่าปริมาณฝุ่น PM2.5 มากที่สุดจนได้
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งเชื้อนี้มีหลายชนิด แต่ที่เราจะได้ยินบ่อยๆ คือ ไวรัสชนิด A หรือ H1N1, ไวรัสชนิด B และชนิด C[2] โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่ มักจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยสังเกตได้จากอาการที่มักเกิดขึ้นทันทีทันใด ต่างจากไข้หวัดธรรมดามักจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้สูงติดกันหลายวันโดยเฉพาะในเด็กจะมีไข้สูงลอยเกินกว่า 39-40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3-4 วัน อาการอื่นๆ เช่น อาการหนาวสั่นสะท้าน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างมาก และเบื่ออาหาร ความน่ากลัวของไข้หวัดใหญ่ คือการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ฯลฯ[3]
โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม มักเกิดจากการที่ร่างกายอ่อนแอ เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงจนติดเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศ หรือในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ไอ จาม ออกมา อาการที่พบได้บ่อย คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย เป็นต้น[4]
ฝุ่นขนาดจิ๋ว PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน สามารถแพร่กระจายสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง ซึ่งองค์กรอนามัยโลกกำหนดให้ PM2.5 อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 เป็นสาเหตุ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ,โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ,โรคมะเร็งปอด ,โรคหัวใจขาดเลือด ,โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ในระบบหายใจส่วนล่าง[5]
ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ ห่วงใยสุขภาพคนไทยจึงมี 5 เคล็ดลับดีๆ ในการดูแลสุขภาพ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้เพื่อป้องกันโรคจากระบบทางเดินหายใจและอันตรายจากฝุ่น PM2.5 ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือสวมหน้ากากอนามัย N95 อยู่เสมอ ในช่วงที่มีฝุ่นพิษ PM2.5
หากใครจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใส่หน้ากากอนามัยชนิด N95 สามารถช่วยป้องกันเชื้อโรคและฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอนได้ เหมาะสำหรับป้องกันมลพิษ ฝุ่น PM2.5 ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหย ของสารเคมีต่างๆ
2.ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดี และไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างเด็กเล็กและผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยบางโรค แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ต้องใส่หน้ากากอนามัยเสมอ หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
3.เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินสูง
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่จะช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรง เกิดความสมดุลแก่ร่างกาย แต่ในช่วงหน้าฝนนี้ อาจจะเน้นเลือกรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น ทั้งผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเพื่อป้องกันโรคหวัด เช่น ส้ม แอ้ปเปิ้ล ฝรั่ง มะเขือเทศ ผักใบเขียว ฯลฯ และผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น มะละกอ มะม่วงสุก สับปะรด อะโวคาโด หัวหอม บรอกโคลี ผักโขม ฯลฯ ซึ่งช่วยทั้งป้องกันโรคหวัดและเพิ่มภูมิต้านทานต่อฝุ่น PM2.5 ได้อีกด้วย
4.หาพื้นที่สูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอด โดยเฉพาะในบ้าน
เราอาจไม่สามารถควบคุมอากาศและปัจจัยภายนอกได้ แต่เราสามารถสร้างอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้านได้ง่ายๆ ด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ ที่ไวต่อฝุ่นละอองในอากาศมาก ซึ่งการเลือกเครื่องฟอกอากาศนอกจากจะต้องสามารถลดสารก่อภูมิแพ้ ขจัดไวรัส และตรวจจับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า PM2.5 ได้แล้ว ยังควรคำนึงถึงขนาดห้องและเลือกขนาดเครื่องฟอกที่เหมาะสมด้วย สำหรับฟิลิปส์ เรามีเครื่องฟอกอากาศหลากหลายรุ่นเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกอย่างเหมาะสม อาทิ
- Philips Air Purifier Series 3000 (AC3259)
เหมาะสำหรับห้องขนาดใหญ่ หรือ XL สามารถใช้ในห้องขนาดสูงสุดถึง 95 ตารางเมตร พร้อมฟังก์ชันเชื่อมต่อกับ Wi-Fi เพื่อคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ควบคู่กับความสะดวกสบายของทุกคนในครอบครัว ด้วยระบบสั่งการผ่านแอพพลิเคชั่น Air Matters เหนือชั้นกว่าด้วยเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะของฟิลิปส์ AeraSense ที่มีคุณสมบัติในการวิเคราะห์คุณภาพอากาศแม้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและปรับระบบการฟอกอากาศแบบเรียลไทม์
- Philips Air Purifier Series 2000 (AC2887)
เหมาะสำหรับห้องขนาดกลาง 25-70 ตารางเมตร มาพร้อมระบบ AeraSense ที่แสดงระดับ PM2.5 แบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับซีรีย์ 3000 ครบทั้งฟังก์ชั่นประมวลผลปริมาณฝุ่นละอองและปรับระดับการทำงานได้แบบเรียลไทม์
- Philips Air Purifier series 800 (AC0820)
ด้วยขนาดกะทัดรัดของ เครื่องฟอกอากาศ Philips Series 800 เหมาะกับห้องที่มีขนาด16-49 ตารางเมตร จึงวางได้ในทุกพื้นที่ของบ้าน น้ำหนักเบา สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายเครื่องฟอกอากาศของฟิลิปส์ทุกรุ่น พิสูจน์แล้วว่าสามารถกำจัดอนุภาคขนาดเล็กถึง 0.003 ไมครอน (เล็กกว่า PM 2.5 ถึง 800 เท่า) ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 99.97% รวมไปถึงสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นผง ขนสัตว์ และผ่านการทดสอบว่าสามารถกำจัดแบคทีเรียและเชื้อไวรัส H1N1(ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A)ได้ถึง 99.9% ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเราจะหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปได้อย่างเต็มที่ทุกเวลา แม้ในฤดูกาลที่มีมลพิษสูง
5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
การออกกำลังกายก็ยังเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกช่วงอายุ เพราะจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย ปอด หัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น แต่ในช่วงที่มีฝุ่นพิษ PM2.5 ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง เพราะจะทำให้การสูดดมเอาฝุ่นพิษเข้าไปมีมากขึ้นและส่งผลอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพียงแค่นี้ก็ช่วยให้เรามีสุขภาพดีห่างไกลโรคแล้ว
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศและข้อมูลดี ๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.philips.co.th หรือที่เฟซบุ๊ก www.facebook.com/philipsthailand
เกี่ยวกับ รอยัล ฟิลิปส์
รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นพร้อมเสริมสร้างสุขภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่ความเป็นอยู่ที่ดี การป้องกัน การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน ฟิลิปส์ ได้นำเทคโนโลยีขั้นสูง ข้อมูลเชิงลึกทางคลินิก และความต้องการของผู้บริโภค มาพัฒนาเพื่อส่งมอบโซลูชั่นที่ครบวงจร สำนักงานใหญ่ของฟิลิปส์ตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้วยมาตรฐานชั้นนำระดับโลกด้านนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยและการรักษาด้วยภาพนำวิถีเครื่องตรวจวัดชีพจรผู้ป่วย และสารสนเทศด้านสุขภาพ รวมถึงนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคและการดูแลรักษาที่บ้านล่าสุดในปี 2561 ฟิลิปส์มียอดขายรวมกว่า 18.1 พันล้านยูโร มีพนักงานประมาณ 78,000 คน และดำเนินธุรกิจในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวของฟิลิปส์ได้ที่ www.philips.com/newscenter.