กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ในยุค Digital Disruption การเข้ามาของเทคโนโลยีได้ส่งผลต่อภาคธุรกิจและสาขาอาชีพทั่วโลกรวมถึงในไทยกันบ้างแล้ว สัญญาณเริ่มส่งออกมาชัดขึ้นเรื่อยๆ จากภาคธุรกิจการเงินการธนาคารที่วันนี้ดึงเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนสนับสนุนการทำงาน ลดจำนวนสาขา สะท้อนถึงภาวะเสี่ยงของพนักงานธนาคารที่หากยังยึดติดอยู่กับกรอบการทำงานเดิมๆ อาจต้องถูกท้าทายด้วยคลื่นดิจิทัลในครั้งนี้ แต่หากว่าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ทันผลกระทบที่ส่งถึงอาจน้อยกว่าที่คิดเอาไว้
นอกจากภาคการเงิน ยังมีหลายธุรกิจเริ่มขยับนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น ทั้งส่วนระบบการจัดการและการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าของค้าปลีกยักษ์ใหญ่อย่างวอลมาร์ต (Walmart) ที่ล่าสุดเปิดตัวต้นแบบร้านค้าอัจฉริยะ IRL (Intelligent Retail Lab) ในหมู่บ้าน Levittown นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา 'นักบัญชี' เป็นอีกสาขาอาชีพที่มีการคาดการณ์ว่าอาจได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีเช่นกัน จากผลการสำรวจ BBC ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ชี้ว่า นักบัญชีมีความเสี่ยงที่จะตกงานสูงถึง 97% ตัวเลขดังกล่าวทำให้คนที่ทำงานในสาขาอาชีพนี้ทั่วโลกมีความกังวลไม่น้อยต่อความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)เปิดเผยว่า AI ไม่ใช่แทนที่ได้ทุกงาน แค่งานบางอย่างเท่านั้น อย่างไรก็ตามในโลกยุคใหม่นักบัญชีที่จะอยู่รอดในยุคเทคโนโลยีแบบนี้ได้จำเป็นต้องมีทักษะที่แตกต่างจากคนอื่น และมีการยกระดับความรู้ความเชี่ยวชาญด้านบัญชีที่เป็นเฉพาะทางให้มากขึ้นโดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
"นอกเหนือจากความรู้ด้านบัญชีแล้ว สิ่งที่สำคัญที่นักบัญชียุคใหม่ต้องมีคือ การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้ตนเองไม่ตกเทรนด์และสามารถทำอาชีพนักบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่การปรับตัวให้เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้ในการคิดเคราะห์ การให้คำแนะนำกับผู้บริหารเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ และกำหนดทิศทางกลยุทธ์องค์กรได้"
การตระหนักถึงแนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนไปกับหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงในไทยนำมาสู่แนวคิดการจัดหลักสูตร "AI For Accounting" ที่จัดโดย สถาบัน DPU X ร่วมกับหลักสูตรบัญชีบัณฑิต และ สถาบันพัฒนาวิชาชีพนักวิชาชีพบัญชี (IPAD) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ การจัดหลักสูตรนี้เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่อยากเห็นการตระหนักถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น พร้อมกับการหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพนักบัญชีในไทย
"DPU X จัดหลักสูตรนี้ขึ้นมาเพราะต้องการให้นักบัญชีมองเห็นว่า AI มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในธุรกิจและนักบัญชีว่าในอนาคตอันใกล้ AI จะเข้ามาช่วยงานนักบัญชีได้อย่างไรบ้าง และในส่วนงานใด โดย AI จะเข้ามาแทนที่ในส่วนงานเอกสาร งานบัญชีบางอย่าง ขณะที่ระดับการวิเคราะห์ข้อมูล ยังจำเป็นต้องมีนักบัญชีที่มีทักษะที่มากขึ้นสามารถดึงข้อมูลที่องค์กรมีทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ชุดข้อมูลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร รวมทั้งนำไปสู่การพัฒนาเป็นกลยุทธ์ขององค์กรได้ หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การยกระดับนักบัญชีเป็นนักวิเคราะห์มากขึ้น เสริมการทำงานด้านบัญชีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้นักบัญชีได้เห็นถึงมุมมองใหม่ๆ ที่มากขึ้นกว่าเดิม"
ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X มธบ. และ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทยด้านการพัฒนาและประยุกต์ AI ในงานธุรกิจ โดยเป็น CEO และ ผู้ก่อตั้ง Ztrus บริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อใช้ในงานบัญชีและการเงิน เป็นผู้ออกแบบพัฒนาหลักสูตรและเป็นวิทยากร เปิดเผยถึงโลกของการทำงานของนักบัญชีในปัจจุบัน กับโลกใบใหม่ที่กำลังจะเปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีว่ามีความแตกต่างอย่างไร และ AI มีความสำคัญมากแค่ไหนต่อบทบาทของนักบัญชีรุ่นใหม่
"การทำบัญชีในแบบที่ทำกันอยู่จะมีซอฟต์แวร์บัญชี จากนั้นก็นำเข้าตัวเลขที่เป็นรายการรับจ่ายเข้าไปในระบบ โดยที่ซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่ในการคำนวณผลแล้วสรุปออกมาให้ ขณะที่ AI มีความฉลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากกว่านั้น โดย AI สามารถคิดให้ลึกมากกว่าการบวกลบตัวเลข เช่น บิลนั้นๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร มีการสื่อสาร และตั้งคำถาม" ในโลกยุคใหม่ของการทำงานด้านบัญชีที่มี AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงาน ดร.พณชิต กล่าวว่ามีสองประเด็นที่น่าสนใจ
หนึ่ง AI จะเข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดเวลาการทำงานลง จากภาพจำเดิมๆ ของนักบัญชีว่ามีงานหนัก ต้องทำงานกับเอกสารกองโต และต้องใช้ชั่วโมงการทำงานเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาของการปิดบัญชี เข้าทำนอง ทำงานหนัก แต่เงินเดือนนักบัญชีนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับภาระงานที่ต้องแบกรับ
สอง นักบัญชีต้องทำความเข้าใจเพื่อเรียนรู้จะอยู่กับ AI ให้ได้ การเรียนรู้ในเนื้อหา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ AI กับการทำงานของนักบัญชี ตลอด 6 ชั่วโมงของการเวิร์คชอปในหลักสูตรนี้ว่า AI คืออะไร ทำงานกับนักบัญชีอย่างไร การเตรียมความพร้อมในการทำโครงการงานบัญชีและรับมือ AI ยกระดับนักบัญชีรุ่นใหม่ รวมถึงทำอย่างไรให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ AI กับงานบัญชีและการเงิน
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้แนวทางในการทำโครงการงานบัญชีและรับมือ AI ยกระดับนักบัญชีการตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงนั้นๆ โดยหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้บริหารบัญชีและการเงิน ระดับต่าง ๆ ขององค์กร พนักงานบัญชีและการเงิน ผู้ที่ Implement ระบบบัญชีในองค์กร ที่ต้องการเข้าใจประโยชน์ และกลไกการทำงานของ AI กับงานบัญชีผู้สอบบัญชี และผู้ทำบัญชี ผู้ประกอบการ และนักลงทุนที่ไม่มีความรู้ด้านเทคนิค แต่ต้องการเข้าใจเทคโนโลยี AI เพื่อสร้างโอกาส และช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ และ ผู้สนใจทั่วไป
"สิ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับงานด้านบัญชีจะมายกระดับทักษะการทำงานใหม่ๆ รวมถึงปรับวิธีคิดและการทำงานที่ต่างไปจากเดิม อย่างเช่น การตั้งคำถามถึงข้อจำกัดในการทำงานของนักบัญชีว่ามีอะไรบ้าง อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ และอนาคตทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะคุณค่านักบัญชีว่าอยู่ตรงไหน"
ดร.พณชิต กล่าวในตอนท้ายว่า ไม่อยากให้มองว่า AI เป็นเครื่องมือและไม่มาทดแทนนักบัญชี แต่อยากให้มองเป็นแนวคิด ว่าอนาคตโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นได้อีกบ้าง ในโลกการทำงานยุคใหม่คนที่ปรับตัวเข้าหา AI จะช่วยให้เข้าใจเนื้องานและคิดวิเคราะห์ได้ลึกซึ้งขึ้น ทำให้การเป็นนักบัญชีเหนื่อยน้อยลง แต่มีคุณค่ามากขึ้น
เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส และก้าวทันโลกที่เปลี่ยนไป อัพเดทเทรนด์ความรู้ดีๆ ได้ที่ "AI For Accounting" เวิร์คชอปที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้ ได้รับ CPD สำหรับผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชี จากการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 ชั่วโมง เริ่มอบรมตั้งแต่วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 – 16.30 น. ที่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คลิกลิงค์ลงทะเบียน http://dpux-reskill.dpu.ac.th/register-ai/ หรือติดต่อ โทร. 0-2954-7300 ต่อ 551, 209, 363 หรือ 061-490-5858