ทรูรายงานผลประกอบการปี 2550 เติบโตทั้งยอดผู้ใช้ รายได้ และ EBITDA

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday February 27, 2008 14:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--พี อาร์ โซลูชั่น
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2550 ทุกธุรกิจหลักเติบโตต่อเนื่อง ด้วยยุทธศาสตร์ผู้นำชีวิต Convergence Lifestyles ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ และเพิ่มยอด ผู้ใช้บริการ
ในปี 2550 รายได้จากบริการโดยรวมของทรู (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ IC) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็น 51.8 พันล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย หรือ EBITDA เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เป็น 19.4 พันล้านบาท และอัตราการทำกำไร ณ ระดับ EBITDA เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 36.5 (คิดจากรายได้ที่ไม่รวมค่า IC) เมื่อเทียบกับร้อยละ 33.2 ในปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการกำกับดูแลของทรูมูฟลดลง ในขณะที่การลดลงของอัตรากำไรในธุรกิจทรูออนไลน์ เริ่มชะลอตัว
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ผู้นำชีวิต Convergence Lifestyles คือปัจจัยหลักที่ทำให้ทรูแตกต่างจากผู้ให้บริการ รายอื่นอย่างเห็นได้ชัด “ลูกค้าเล็งเห็นสิทธิประโยชน์และความสะดวกสบายจากการใช้หลากหลายผลิตภัณฑ์และบริการภายในกลุ่มทรู ผ่านโปรโมชั่นที่ผสมผสานบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ทรูสามารถเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และเพิ่มฐานลูกค้าไปพร้อมๆ กัน”
ทรูรายงานผลกำไรสุทธิ 1.7 พันล้านบาท (เมื่อเทียบกับขาดทุนสุทธิ 4 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2549) โดยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 2.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งตัวทรูมีกระแสเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เป็น 2.8 พันล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายลงทุนโดยรวมของกลุ่มทรูลดลง
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะลดภาระหนี้ และความสำเร็จในการปรับปรุงและพัฒนาด้านการเงินอย่างต่อเนื่องในปี 2550 จึงทำให้งบดุลของทรูมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน กล่าวเสริมว่า ในปีที่ผ่านมา ทรูมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ลดลงเป็น 3.6 เท่า เมื่อเทียบกับ 4.5 เท่า ในปี 2549 โดยมีการชำระหนี้คืนทั้งสิ้น 5.4 พันล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นการชำระหนี้จำนวน 4.1 พันล้านบาทของธุรกิจออนไลน์
ผลการดำเนินงานประจำปี 2550 (ธุรกิจหลัก)
ทรูมูฟ มีรายได้จากบริการ (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เป็น 23.8 พันล้านบาท เนื่องจากมียอดผู้ใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง EBITDA เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จากยอดผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นและการยกเลิกค่า Access Charge โดยอัตราการทำกำไร ณ ระดับ EBITDA (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29 จากร้อยละ 21 ในปี 2549
ยอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 4.5 ล้านราย โดยมีส่วนแบ่งตลาดในผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ ในอัตราร้อยละ 34.7 ทำให้สามารถครองตลาดผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิได้ 1 ใน 3 ของตลาดโดยรวมติดต่อกันเป็น ปีที่ 4
ณ สิ้นปี 2550 ทรูมูฟมีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 12.1 ล้านราย ซึ่งทำให้ส่วนแบ่งตลาดโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 23 จากร้อยละ 19 ในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
ทรูออนไลน์ มีรายได้จากบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เป็น 24.5 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากการเติบโตของธุรกิจบรอดแบนด์/อินเทอร์เน็ต และบริการด้านข้อมูลอื่นๆ รายได้จากบริการบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ในขณะที่ยอดผู้ใช้บริการบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการ ณ สิ้นปี 2550 รวม 548,000 ราย
ทรูวิชั่นส์ มีรายได้จากบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็น 8.9 พันล้านบาท เนื่องจากมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากบริการเสริมต่างๆ อาทิ รายการช็อปปิ้งทางทีวี รายได้จากผู้สนับสนุน รายการ รวมทั้งเพลงและสาระบันเทิงต่างๆ
ยอดสมาชิกของทรูวิชั่นส์ (รวมสมาชิกฟรีวิวแพ็คเกจ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 52 เป็น 949,000 ราย และในปี 2550 ฟรีวิวแพ็คเกจสามารถเพิ่มยอดสมาชิกได้ 313,000 ราย ทำให้มีสมาชิกฟรีวิวแพ็คเกจทั้งหมด 394,000 ราย ซึ่งมีสมาชิกฟรีวิวแพ็คเกจร้อยละ 19 ที่เปลี่ยนไปใช้บริการแพ็คเกจที่มีราคาสูงขึ้น
เป้าหมายในปี 2551
นายศุภชัยกล่าวเสริมว่า “ในปี 2551 กลุ่มทรูยังคงมุ่งมั่นสร้างความเติบโตและเสริมสร้างความ แข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก และขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายของทรูมูฟจะยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดในสัดส่วนหนึ่งในสามของตลาดผู้ใช้บริการรายใหม่ ซึ่งจะทำให้ทรูมูฟครองส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยร้อยละ 25 ของตลาดโดยรวม สำหรับตลาดบรอดแบนด์โดยรวมนั้น คาดว่าจะมี ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปี 2551 ซึ่งทรูจะยังคงรักษา ความเป็นผู้นำในตลาดดังกล่าว สำหรับ ทรูวิชั่นส์ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดสมาชิกอย่าง ต่อเนื่อง โดยเน้นขยายตลาดไปยังลูกค้าในวงกว้าง”
“ในปี 2551 ทรูยังมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ผู้นำ Convergence Lifestyles เพื่อตอบสนองความต้องการ ตรงใจลูกค้า และจะยังคงความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม เน้นการพัฒนาคุณภาพโครงข่าย และการให้บริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า” นายศุภชัยกล่าวปิดท้าย
หมายเหตุ: ในเอกสารฉบับนี้ คำว่า ทรู บริษัท บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม หมายถึง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น และ/หรือ บริษัทร่วม
ข้อมูล บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการสื่อสารครบวงจรหนึ่งเดียวของประเทศไทย และเป็นผู้นำชีวิต Convergence Lifestyle เชื่อมโยงทุกบริการ พร้อมพัฒนาโซลูชั่น ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ได้อย่างแท้จริง สำหรับกลุ่มลูกค้า ทั้งลูกค้าทั่วไป กลุ่มธุรกิจ SME และกลุ่มธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ ในทุกรูปแบบของเสียง ข้อมูล และมัลติมีเดียต่างๆ ตรงใจลูกค้าทุกกลุ่มทุกไลฟ์สไตล์ รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ตลอดจนเป็นผู้ประกอบการสำคัญในตลาดธุรกิจสื่อสารระบบไร้สาย และอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ทรู ยังมีบริษัทย่อยสำคัญในกลุ่ม คือ ทรู วิชั่นส์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกรายใหญ่ที่สุดของประเทศ และ ทรูมูฟ ผู้ให้บริการระบบสื่อสารไร้สาย โทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ทรู ยังนำเสนอนวัตกรรมและบริการต่างๆ เชื่อมโยง ให้อิสระในการเติมเต็มชีวิตประจำวัน เพื่อเข้าถึงความรู้ ข้อมูล และสาระบันเทิง ตลอดจนการทำธุรกรรมออนไลน์ครบวงจร ทุกที่ ทุกเวลา ตามต้องการให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ ภายใต้ 5 ธุรกิจหลักครบวงจร ทรูมูฟ ทรูออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ทรูมันนี่ ทรูไลฟ์ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ www.truecorp.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
สายงานสื่อสารองค์กร กลุ่มบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัท พี อาร์ โซลูชั่น จำกัด : โทรศัพท์ 0-2656-8059
คุณพิมลพรรณ ศิริวงศ์วานงาม โทร: +66 (0) 2699 2772 คุณประภาส จรสรัมย์ โทร. 0-81827-7354
คุณศิษฎิ รูเบ็น โทร +66 (0) 2699 2782 คุณจิตฤทัย ทัดเสรีวิบูลย์ โทร. 0-81613-1865

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ