DPU SHOWCASE DAY ระเบิดไอเดียกับการเรียนรู้แบบใหม่ ปั้นผู้ประกอบการยุคดิจิทัล

ข่าวทั่วไป Thursday October 31, 2019 15:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดงาน "DPU SHOWCASE DAY" กิจกรรมแสดงผลงานแผนธุรกิจนักศึกษาชั้นปีที่ 2 พร้อมการ Pitching ขายไอเดียการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ท้าทาย เท่าทันยุคสมัย เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ พร้อมมี Commentator ชี้แนะเสริมสร้างองค์ความรู้สามารถต่อยอดใช้งานได้จริง ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ กล่าวว่า งานนี้นักศึกษาสามารถแสดงไอเดียผ่าน Prototype หรือว่านำเสนอแนวทางในการใช้เทคโนโลยีในการตอบโจทย์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้กับสังคมได้ โดยทีมที่มานำเสนอในวันนี้มีแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม wellness แอปพลิเคชั่นสำหรับผู้สูงวัย หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาให้กับสาธารณะโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้จาก commentator และทักษะต่างๆ จากการลงมือปฏิบัติจริง ดร.สิริลักษณ์ หุ่นศรีงาม ผลพานิช ผู้อำนวยการศูนย์บริหารวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ด้วยหลักสูตร DPU CORE มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนวิชาศึกษาทั่วไปในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 มีคุณลักษณะสำคัญ ได้แก่ ทักษะความเป็นผู้ประกอบการเพื่อเป็นพลเมืองที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยทักษะผู้ประกอบการ ประกอบไปด้วยทักษะสำคัญ 6 ทักษะ ที่เอื้อให้แต่ละบุคคลสามารถประกอบกิจการใดๆก็ตามให้ประสบความสำเร็จ ด้วยจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจของตนเอง ธุรกิจขององค์กร หรือเศรษฐกิจของชาติ เพื่อให้นักศึกษามีเป้าหมายในการเรียนรู้ที่ท้าทาย เท่าทันกับยุคสมัย สามารถติดตามความก้าวหน้าของตนเอง สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง และการทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่จะค้นหาวิธีสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทั้งของตนเอง องค์กร และสังคมประเทศชาติ ให้ประสบความสำเร็จ เสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ และเสริมทักษะในเรื่อง Business DNA Thailand 4.0 และ AEC China โดยงาน Showcase day การแสดงผลงานของผู้เรียนในวิชาชั้นปีที่ 2 ใน 3 รายวิชา ได้แก่ ผู้ประกอบการดิจิทัล, การบริการมูลค่าสูง, เศรษฐกิจดิจิทัล และการบูรณาการเป็น Blended Learning ในลักษณะกรณีศึกษาสำหรับผู้เรียนในวิชาชั้นปีที่ 1 มี 3 รายวิชา ได้แก่ สังคมและเศรษฐกิจไทยในยุคThailand4.0 ประกอบด้วย การคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในงานแบ่งการนำเสนอผลงานนักศึกษาออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแรกบริเวณใต้อาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นบูธนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยแผนธุรกิจที่มีการระบุปัญหาและหลักฐานการทดสอบของลูกค้าอย่างชัดเจน ส่วนรูปแบบที่ 2 บริเวณใต้อาคาร 6 เป็นการปราศรัยแบบไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อแก้ปัญหาประเทศไทย ผู้ปราศรัย เป็นตัวแทนจากกลุ่มย่อยของกลุ่มวิชาเรียน โดยการนำเสนอผลงานข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนและการวัดผล แบบ project base ซึ่งสามารถเสริมสร้างรวมถึงสะท้อนทักษะต่างๆที่ได้จากรายวิชาอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าการสอบข้อเขียน ซึ่งการนำเสนอผลงาน หรือ Pitching งานนั้น จะมี commentator ทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก ที่ได้ให้เกียรติมาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักศึกษารวมถึงชี้แนะเสริมสร้างองค์ความรู้สามารถต่อยอดใช้งานได้จริงในอนาคต ในส่วน Commentator showcase ได้แก่ คุณปรัชญา นราภิชาต นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ กรมการค้าภายใน , ดร.รชฎ ขำบุญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี CIBA, ดร.ภูมิพัฒน์ มิ่งมาลัยรักษ์ senior researcher และอาจารย์อธิภัทร เกตุทัต ผู้ช่วยอธิการบดี สายงานภาคีสัมพันธ์ Commentator ไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) นำเสนอนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อแก้ปัญหาประเทศไทย ได้แก่ ผศ.ดร.วันวร จะนู รองอธิการบดีสายงานกิจการนักศึกษา, อาจารย์อภิสิทธิ์ นิลทับ ผอ.ฝ่ายทะเบียนการศึกษา และ ดร.กรรภิรมย์ โกมลารชุน รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ ขณะเดียวกันเราก็ได้มีการหยิบยกเอาผลงานของนักศึกษาบางส่วนรวมถึงความคิดเห็นและสิ่งได้จากการเรียนในครั้งนี้มาแชร์กันค่ะ ปรีชา ทองเครือ นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ตัวแทนทีม Heart linked กล่าวว่า สาเหตุที่ตนเองเลือกทำแอปพลิเคชั่น Heart linked นี้เพราะว่า สามารถแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยทำลิสแบนมาเพื่อให้ผู้ดูแลได้ติดตามผลในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุผ่านแอปพลิเคชั่น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถติดตามผลได้อย่างใกล้ชิด งานนี้ผมว่าทักษะที่ได้ สำหรับผมคิดว่าสำคัญที่สุดในทีม คือ technology skill สำหรับแอปพลิชั่นนี้เทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น gps การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือว่าอาจจะมีการเพิ่มฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่จะมีขึ้นอีกในอนาคต ศศิศศ์นารา ชาตรูปะมัย คณะศิลปศาสตร์, ปุณยวีร์ เกินสอน นิเทศศาสตร์ และ เกตต์นิภา ปันทะวัน นิเทศศาสตร์ ตัวแทนจากทีม เหมียวเอยกลอยใจ ได้ทำแอปพลิเคชั่น crecloth เป็นแอปสำหรับช่วยให้คนที่ไม่มั่นใจ ได้มีความมั่นใจในการแต่งตัว หรือกระทั่งคนที่แต่งตัวไม่เป็นไม่รู้จะแต่งตัวอย่างไร ต้องใส่ชุดแบบไหน ดังนั้นแอปนี้มีขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ ทำให้ผู้ใช้งานได้เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี เพิ่มความมั่นใจ ประหยัดเวลาการแต่งตัว สะดวกสบาย โดยการถ่ายรูปตัวเอง upload เข้าไปในแอป สามารถมิกซ์แอนด์แมทช์เสื้อผ้าแบรนด์ต่างๆ ก่อนที่จะไปซื้อจริง เพื่อให้เห็นภาพว่าเข้ากันได้หรือไม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ทำให้ลูกค้าประหยัดเวลา บางทีเสื้อผ้าบางตัวบางชุดหาซื้อยาก แต่แอปนี้จะช่วยเราหาซื้อเสื้อผ้าที่หาซื้อยากได้ พร้อมระบุพิกัดหน้าร้านว่าอยู่ตรงไหนเป็นต้น ทำให้มีเวลาว่างในการช้อปปิ้งเพิ่มมากขึ้น สำหรับทักษะ DPU CORE ที่คิดว่าสำคัญมากที่สุดสำหรับทีมเรา คือ สกิลความคิดสร้างสรรค์ เพราะว่าสกิลนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราสร้างแอปนี้ขึ้นมา สกิลต่อมาคือทักษะความเป็นผู้ประกอบการ 2 ทักษะนี้จะทำให้เราอยู่รอดก่อเกิดกำไรและสร้างรายได้อีกทั้งจะช่วยให้คนหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ของเรา และที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือไอเดียใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงแฟชั่นต่างๆ ที่ต้องมาอัพเดทให้ผู้ใช้งานได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ถามถึงเรื่องในอนาคตการปรับตัวเมื่อมี AI เข้ามา เราจะอยู่รอดกันอย่างไร เราก็มาคิดกันว่าสิ่งที่ AI ทำแทนมนุษย์ไม่ได้ ก็คือเรื่องแฟชั่น ทักษะการวางแผน กลยุทธ์ การตัดสินใจ และความคิดสร้างสรรค์ มนุษย์มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ตามสถานการณ์ ซึ่งแอปนี้ตอบโจทย์ได้แน่นอนค คิดว่าจะทำให้เราอยู่รอดได้ต่อไปได้ในอนาคต อย่างเช่น การที่เราแต่งตัวออกไปงานเลี้ยงในโอกาสต่างๆ แอปจะช่วยให้เราเลือกชุดได้ว่าแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับและเข้ากับแฟชั่นปัจจุบันมากที่สุดเป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ