กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--ไอบีเอ็ม
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดตัวเทคโนโลยีทางด้านดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ที่เพียบพร้อมไปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นนำแห่งอนาคตเพื่อรองรับความต้องการทางด้านไอทีที่ไม่หยุดนิ่งขององค์กร ตอบสนองกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยระบบจัดการพลังงานและระบายความร้อนขั้นสูง ช่วยลดค่าใช้จ่าย และใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย อีกทั้งยังสนับสนุนการบริหารจัดการระบบและข้อมูลรูปแบบใหม่ ซึ่งมาพร้อมกับระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางด้านไอทีรูปแบบใหม่อีกด้วย
ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี10 (System z10) หรือ เมนเฟรม 64 โปรเซสเซอร์ คือ ดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ของไอบีเอ็ม ที่ใช้เทคโนโลยีควอด คอร์ (Quad-core technology) เต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ และสมรรถนะขั้นสูง สามารถรองรับงานในเวิร์คโหลดได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นลินึกซ์ (Linux) เอ็กซ์เอ็มแอล (XML) จาวา (Java) เว็บสเฟียร์ (WebSphere) หรือ เอสโอเอ (Service Oriented Architecture — SOA) เป็นต้น อีกทั้งสามารถสนับสนุนผู้ใช้งานได้หลายล้านคนในเวลาเดียวกันอีกด้วย
เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่มาพร้อมกับไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี10 ประกอบไปด้วย
ระบบที่ถูกออกแบบมา เพื่อสนับสนุนแนวคิด “การจัดการไอทีเพื่อการบริการ” (IT as a Service)
ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี10 สนับสนุนการใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงานในองค์กร เพื่อตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจและรองรับสภาวะการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี10 ยังก้าวล้ำไปอีกขั้น ด้วยการทำงานที่เหนือกว่าเทคโนโลยีเสมือน (Virtualization) รูปแบบเดิม โดยสามารถกำหนดโครงสร้างของระบบ ที่รวมตั้งแต่แอพพลิเคชั่น ระบบรักษาความปลอดภัย สตอเรจ ระบบประมวลผล ฯลฯ ให้สามารถจัดการข้อมูลเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานได้แบบทันที ทันใด ทำให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากแนวคิด “การจัดการไอทีเพื่อการบริการ (IT as a Service)” และเป็นโซลูชั่นทางด้านดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์แบบ
หน้าที่การทำงานหลัก ๆ ภายในแนวคิด “การจัดการไอทีเพื่อการบริการ” นี้ ยังประกอบไปด้วย
- การควบคุมระบบการเข้าถึงข้อมูลของบุคลากรภายใน (Authorization Management) ภายใต้เทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ การจัดการและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของบุคลากรภายในระบบจะสามารถทำได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริหารระบบซิสเต็ม ซี10 สามารถแบ่งระดับของการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานในองค์กรได้หลายชั้น หลายรูปแบบ และจัดแบ่งว่าจะอนุญาติให้พนักงานคนใดเข้าถึงข้อมูลอะไร ที่จัดเก็บไว้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดการระบบการทำงานด้วยเทคโนโลยีอันล้ำยุค (Utilization Management) ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี10 สามารถทำงานได้เต็ม 100% ของสมรรถนะของเครื่อง ตอบสนองการใช้งานของพนักงานหลากหลายรูปแบบทั้งแบบเร่งด่วน หรือแบบต่อเนื่อง ในระยะเวลาเดียวกันได้ ซึ่งถือว่าแตกต่างจากเซิร์ฟเวอร์ตระกูลอื่น ๆ ที่เคยมีมาในอดีต ทั้งนี้การทำงานเต็มสมรรถนะดังกล่าว ส่วนหนึ่งมีผลมาจากความสามารถอันทรงพลังของระบบปฏิบัติการ z/OS ที่มีความสามารถในการแยกแยะลำดับความสำคัญของงานและประเมินได้ว่าจะใช้สมรรถนะของเครื่องเพื่อจัดการงานแต่ละประเภทอย่างไร
- ความสามารถในการบริหารจัดการระบบได้แบบทันที ทันใด (Just-In-Time Capacity) ด้วยความสามารถแบบอัจฉริยะของหน่วยประมวลผล 64 โปรเซสเซอร์ ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี 10 สามารถจัดการบริหารระบบให้ตอบสนองสภาวะของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจธนาคาร หรือ ร้านค้าปลีก โดยระบบสามารถประเมินพฤติกรรมของลูกค้าได้ว่าจะใช้บริการมากหรือน้อยในช่วงเวลาใดได้ ทั้งนี้ ธุรกิจต่าง ๆ ดังกล่าว ก็สามารถป้อนคำสั่งและข้อมูลเพื่อให้ระบบรับทราบล่วงหน้า เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
- ระบบรักษาความปลอดภัยแบบเสมือน (Virtualization Security) ด้วยภัยคุกคามทางด้านไอทีที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี10 ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านระบบรักษาความปลอดภัยและจัดการความเสี่ยงอย่างแน่นหนา รัดกุม โดยผ่านการตรวจสอบการประเมินผลด้านการรักษาความปลอดภัยระดับ 5 ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานสูงสุดในด้านระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าองค์กรอย่างเต็มที่ทางด้านการรักษาความปลอดภัย ภายใต้การทำงานแบบ 7 วัน 24 ชั่วโมง
- โครงการผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี หรือ เมนเฟรม (โครงการ IBM Academic Initiative) ที่ผ่านมาไอบีเอ็มได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษากว่า 400 แห่งทั่วโลก (ที่ประเทศไทย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) ในการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบของซิสเต็ม ซี หรือเมนเฟรม ซึ่งที่ผ่านมา โครงการประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการผลิตและพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี ให้กับตลาดแรงงาน ซึ่งมีต้องการผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้มากขึ้นทุก ๆ ปี
- กลุ่มซอฟท์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานของไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี ที่ผ่านมา ไอบีเอ็ม ได้ลงทุนกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายใต้โครงการ Mainframe Simplication Investment โดยไอบีเอ็ม โดยได้เปิดตัวซอฟท์แวร์กลุ่ม Rational รุ่มใหม่ ที่มุ่งเน้นให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี ทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยซอฟท์แวร์กลุ่ม Rational สามารถแปลงแอพพลิเคชั่นบนภาษาโคบอล (COBOL) ให้เป็น เว็บ เซอร์วิส ได้เลย ทำให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานภาษาโคบอลแต่อย่างใด
นอกจากนั้นแล้ว ไอบีเอ็ม ยังได้เปิดตัวกลุ่มของซอฟท์แวร์ที่ใช้จัดการระบบไอทีให้ทำงานร่วมกับซิสเต็ม ซี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น สตอเรจ หรือ ดาต้าเบส ให้สามารถจัดการและบริหาร ควบคุมการทำงานได้ง่ายอยู่บนหน้าจอเดียว การทำงานดังกล่าว จะทำผ่านซอฟท์แวร์อันทรงพลังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น IBM Tivoli Service Management Center for System z, IBM DB2 for z/OS ซอฟท์แวร์จัดการบริหารข้อมูลขององค์กร หรือ ซอฟท์แวร์ทางด้านบิสสิเนท อินเทลิเจนท์ เช่น Cognos เพื่อให้ระบบสามารถจัดการบริหารข้อมูลสำหรับองค์กรได้แบบทันดี ทันใด (On Demand) เป็นต้น
- กลุ่มอุปกรณ์สตอเรจที่สนับสนุนระบบดาต้าเซ็นเตอร์แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีเสมือนของอุปกรณ์สตอเรจจากไอบีเอ็ม การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ หรือ เรียกดูข้อมูลที่เชื่อมโยงกับระบบไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี ก็สามารถทำได้อย่ารวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโซลูชั่น DS8000 แบบดิสก์ หรือ เทปแบคอัพ ที่ใช้เทคโนโลยีเสมือน (Virtualized Tape) เป็นต้น
- บริการทางด้านที่ปรึกษาจาก IBM Consulting Services สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ นอกเหนือจากความพร้อมของไอบีเอ็ม ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์แล้ว ไอบีเอ็มยังมีบริการให้คำปรึกษาที่ออกแบบมาสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นบริการทางด้าน IBM IT Transformation & Optimization ที่พร้อมช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผน จัดการ และลงมือปฏิบัติ ลดความซับซ้อนด้านการจัดการระบบไอที และบริหารค่าใช้จ่าย เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุจุดประสงค์ทางธุรกิจที่ตั้งไว้ได้
- บริการทางด้านการเงินจาก IGF Financing สำหรับไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี10 สำหรับลูกค้าที่ต้องการทางเลือกและความคล่องตัวทางด้านการจัดซื้อ ไอบีเอ็ม ยังมีบริการเช่าซื้อ และสามารถนำเสนอเงื่อนไขที่น่าสนใจ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซีได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกด้วย
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาไอบีเอ็มยังได้ลงทุนถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการพัฒนาบุคลากร และทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ รวมทั้งการออกแบบ และตั้งศูนย์ Benchmarking เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถประเมินความพร้อมขององค์กร และก้าวสู่โซลูชั่นทางด้านดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ได้อย่างราบรื่นและสมบูรณ์แบบ อีกด้วย
คุณ ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ด้วยความต้องการทางด้านไอทีของลูกค้าองค์กรที่ก้าวอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อตอบสนองกลยุทธ์และรองรับการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ไอบีเอ็มเล็งเห็นความท้าทายดังกล่าว จึงนำเสนอโซลูชั่นทางด้านดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต แบบครบวงจร เพื่อนำพาลูกค้าองค์กรก้าวกระโดดสู่โลกแห่งการทำงานยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อให้บรรลุความสำเร็จทางธุรกิจที่ต้องการ”
นอกจากนั้น คุณพิพัฒน์ เอี่ยมชีรางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านเทคโนโลยี ธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ยังกล่าวเสริมว่า "สืบเนื่องจากแผนของธนาคารฯ ที่ต้องการปรับปรุงระบบไอที เพื่อรองรับแผนการเติบโตทางธุรกิจ จึงจำเป็นต้องขยายระบบเมนเฟรม เพื่อรองรับปริมาณลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการให้บริการใหม่ๆ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล - Extra Cash เพื่อให้ธนาคารฯ เตรียมพร้อมกับสภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงในธุรกิจการเงินการธนาคารในปัจจุบัน ทางไทยธนาคารได้ใช้เวลาพิจารณาและในที่สุดได้ตัดสินใจเลือกใช้ระบบซิสเต็ม ซี (System z) ของไอบีเอ็ม เพราะเชื่อมั่นในด้านเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญระดับโลก และบุคลากรที่มีความสามารถของไอบีเอ็ม โดยทางธนาคารฯ เชื่อว่าการลงทุนดังกล่าว จะช่วยธนาคารฯ ลดเวลา ค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร และสนับสนุนแผนการเติบโตของธนาคารฯ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี"
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณวีระกิจ โล่ทองเพชร
โทร : 02 273 4117
email: werakit@th.ibm.com