กรุงเทพฯ--6 พ.ย.--โรงพยาบาลรามคำแหง
ขณะวิ่ง หัวใจจะเต้นเร็วเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถ้ามีภาวะทางหัวใจแอบแฝงอยู่ ซึ่งอาจไม่มีอาการขณะร่างกายออกแรงตามปกติ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้หัวใจบีบส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญไม่เพียงพอ ทำให้สมองและอวัยสำคัญขาดเลือด เกิดอาการวูบและเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือหากมีเส้นเลือดหัวใจตีบ เมื่อหัวใจต้องการเลือดและออกซิเจนเพิ่มขึ้นขณะออกกำลังกาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจนเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
แนะนำว่าก่อนที่จะลงวิ่งแข่งขันไม่ว่าอายุมากหรือน้อย ควรเช็คความพร้อมของสุขภาพด้วยการตรวจ Exercise stress test เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจขาดเลือด หรือประเมินสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ด้วยเครื่อง CPET ก็จะช่วยให้เรารู้ถึงความแข็งแรงและความเสี่ยงของระบบหัวใจและหลอดเลือดของเราก่อนจะไปออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย
ที่สำคัญหากมีอาการผิดปกติขณะวิ่ง เช่น เจ็บ จุกแน่นหน้าอกหรือลิ้นปี่ เวียนหัวหน้ามืดจะเป็นลม ให้หยุดวิ่งและรีบบอกเพื่อน หรือเจ้าหน้าที่สนาม ให้นำส่งโรงพยาบาลไม่นั่งพักเพื่อรอให้อาการดีขึ้น เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต