กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสนำนักเรียน นักศึกษาและผู้แทนสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2561 เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระองค์ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา โดยในปีการศึกษา 2561 นี้ มีนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รับรางวัลพระราชทาน แบ่งเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 32 คน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 32 คน นักศึกษาระดับการศึกษาวิชาชีพ จำนวน 1 คน สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา จำนวน 24 แห่ง และสถานศึกษาระดับการศึกษาวิชาชีพ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
นักเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แบ่งเป็นสถานศึกษา ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 32 คน เป็นนักเรียนในสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐ 27 คน และภาคเอกชน 5 คน ดังนี้ สถานศึกษาขนาดเล็ก ได้แก่ นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคสารภี วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย วิทยาลัยเทคนิคโคกสำโรง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรบริหารธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียน วิทยาลัยสารพัดช่างสกลนคร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี และวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ สถานศึกษาขนาดกลาง ได้แก่ นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี วิทยาลัยเทคนิคพังงา วิทยาลัยเทคนิคสตูล และวิทยาลัยเทคนิคปัตตานี สถานศึกษาขนาดใหญ่ ได้แก่ นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผล วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี และวิทยาลัยเทคนิคยะลา
นักศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แบ่งเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 32 คน เป็นนักศึกษาในสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐ 28 คน และ ภาคเอกชน 4 คน ดังนี้ สถานศึกษาขนาดเล็ก ได้แก่ นักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคบูรพาปราจีน วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาผดุงประชายะลา สถานศึกษาขนาดกลาง ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) วิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย วิทยาลัยการอาชีพปราสาท วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา วิทยาลัยเทคนิคพังงา วิทยาลัยการอาชีพไชยา และวิทยาลัยการอาชีพปัตตานี สถานศึกษาขนาดใหญ่ ได้แก่ นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผล และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
นักศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาวิชาชีพ จำนวน 1 คน จากสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐ ได้แก่ นักศึกษาจากวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษา แบ่งเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 24 แห่ง เป็นสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐ 23 แห่ง และสถานศึกษาอาชีวะภาคเอกชน 1 แห่ง ดังนี้ สถานศึกษาขนาดเล็ก ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพโพธิ์ทอง วิทยาลัยสารพัดช่างปราจีนบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น วิทยาลัยเทคนิคถลาง วิทยาลัยการอาชีพนาทวี และวิทยาลัยสารพัดช่างยะลา สถานศึกษาขนาดกลาง ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี วิทยาลัยเทคนิคมวกเหล็ก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ วิทยาลัยเทคนิคสิชล วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี และกาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง สถานศึกษาขนาดใหญ่ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ นนทบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง และวิทยาลัยพณิชยการบางนา
สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาวิชาชีพ จำนวน 3 แห่ง เป็นสถานศึกษาอาชีวะภาครัฐ 2 แห่ง และสถานศึกษาอาชีวะเอกชน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนโอเอซิสสปา วิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี และวิทยาลัยการอาชีพสังขะ
"ทั้งนี้ ยังมีสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษา 3 ครั้งซ้อนในรอบ 10 ปี มีทั้งสิ้นจำนวน 5 แห่ง โดยแบ่งเป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานเมื่อปีการศึกษา 2552, 2556 และ 2561 ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพโพธิ์ทอง สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานเมื่อปีการศึกษา 2552, 2557 และ 2561 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด และวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ และสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานเมื่อปีการศึกษา 2553, 2557 และ 2561 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ และวิทยาลัยการอาชีพปัตตานี" เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวเพิ่มเติม