กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--แคสเปอร์สกี้
แคสเปอร์สกี้บล็อกมัลแวร์ที่พยายามโจมตีผู้ใช้แอนดรอยด์โมบายในประเทศไทยได้ 57,056 ครั้งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2019 (มกราคม - กันยายน) แม้ว่าประเทศไทยจะไม่จัดอยู่ในอันดับสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแง่การโจมตีแอนดรอยด์แบบทั่วๆ ไป แต่กลับพบการสกัดความพยายามโจมตีโดยโมบายแบ้งกิ้งโทรจันในอัตราสูงที่สุดในภูมิภาค
จากรายงานของแคสเปอร์สกี้ในช่วงมกราคม - กันยายน 2019 แคสเปอร์สกี้ตรวจจับโมบายแบ้งกิ้งโทรจันที่พุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้แอนดรอยด์ในประเทศไทยได้ถึง 329 รายการ ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยมาเลเซียตามมาเป็นอันดับสอง คือ 215 รายการ และอินโดนีเซียอันดับสาม คือ 106 รายการ สำหรับข้อมูลการตรวจจับการโจมตีแอนดรอยด์แบบทั่วๆ ไปโดยโซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ อินโดนีเซียมีตัวเลขการพยายามโจมตีสูงสุด คือ 632,451 ครั้ง ตามมาด้วยมาเลเซีย 188,846 ครั้ง
จากรายงานเรื่อง Global Digital 2019 โดย We are Social และ Hootsuite ประเทศไทยมีประชากร 69.24 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (active internet users) จำนวน 57 ล้านราย และมีการลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์สูงถึง 92.33 ล้านหมายเลข
โย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "เห็นได้ชัดว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 1 คน โดยเฉลี่ยแล้วครอบครองหมายเลขโทรศัพท์มากกว่า 1 หมายเลข และโมบายดีไวซ์มากกว่า 1 เครื่อง จากการสังเกตุของผม พบว่าผู้ใช้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันคอมพิวเตอร์ของตนเองจากภัยคุกคามไซเบอร์ แต่จำเป็นต้องปรับปรุงการป้องกันโมบายดีไวซ์ของตนให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้สมาร์ทโฟนในการทำธุรกรรมธนาคารและช้อปปิ้งออนไลน์ อีกทั้งกระแส BYOD การทำงานบนดีไวซ์ส่วนตัวที่มีสูงขึ้นในประเทศ แคสเปอร์สกี้จึงขอแนะนำให้องค์กรธุรกิจพิจารณาเลือกใช้มาตรการป้องกันภัยไซเบอร์ในดีไวซ์ของพนักงานด้วยเช่นกัน"
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจในรายงาน
- ในปี 2018 โซลูชั่นโมบายของแคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกความพยายามโจมตีอุปกรณ์แอนดรอยด์ในประเทศไทยได้ถึง 89,233 รายการ
- เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ใช้ที่ตกเป็นเป้าพยายามโจมตีด้วยโมบายแบ้งกิ้งโทรจันและได้รับการปกป้องจากโซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ ในปี 2018 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 58 ขณะที่ในปี 2019 (มกราคม - กันยายน) อยู่ในอันดับ 45
- โมบายมัลแวร์ 5 อันดับของประเทศไทย ได้แก่ Trojan.AndroidOS.Boogr.gsh (18.68%), Trojan.AndroidOS.Hiddapp.ch (14.27%), Trojan-Dropper.AndroidOS.Necro.n (8.01%), Trojan.AndroidOS.Hiddapp.cr (6.16%), และ Trojan.AndroidOS.Dvmap.a (4.46%)
ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ขอแนะนำวิธีการปกป้องดีไวซ์ดังนี้
- ติดตั้งโมบายแอปพลิเคชั่นจากแอปสโตร์ที่เป็นทางการเท่านั้น เช่น Google Play สำหรับแอนดรอยด์ดีไวซ์
- ตั้งค่าบล็อกการติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จัก
- ไม่ละเมิดข้อกำหนดของดีไวซ์ เพราะอาจเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์โจมตีดีไวซ์ได้โดยไร้ขีดจำกัด
- อัพเดทระบบและแอปพลิเคชั่นอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผู้ให้บริการเปิดให้อัพเดทจะมีการแพทช์ช่องโหว่ต่างๆ ทำให้ดีไวซ์ปลอดภัยมากขึ้น และจะต้องดาวน์โหลดจากแหล่งเชื่อถือได้เท่านั้น
- ใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย เช่น Kaspersky Internet Security for Android เพื่อปกป้องจากภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุม
Kaspersky Internet Security for Android โซลูชั่นป้องกันและรักษาความปลอดภัยของโทรศัพท์และแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์เปิดให้บริการทั่วโลก สำหรับประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ร่วมกับดีแทคจัดแคมเปญพิเศษ ผู้ใช้สามารถเลือกดาวน์โหลดและใช้บริการโซลูชั่นแบบราย 15 วันและ 30 วันได้ โดยทำการสมัครผ่านข้อความ USSD message และรับสิทธิ์ลุ้นรับรางวัล Samsung Galaxy S10 ทุกเดือน ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562
ผู้ใช้ที่สนใจใช้บริการแบบรายปีสามารถช้อปออนไลน์ได้ที่ https://www.kasoshopping.com/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Service Center 02-203-7500 Line: @thaikaspersky