กรุงเทพฯ--29 ก.พ.--เนคเทค
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) และเทคโนโลยีระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID: Radio Frequency Identification) มีบทบาทสำคัญในในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนให้กับระบบธุรกิจ รวมถึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ด้วยโดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ในด้านการเกษตร พลังงาน ยานยนต์และการขนส่งโลจิสติกส์ ในแต่ละปีประเทศไทยมีการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูงนับแสนล้านบาท แต่สินค้าในส่วนที่เป็นการออกแบบนวัตกรรม (Industrial Design) การวิจัยและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว(ES)และเทคโนโลยีระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID) ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ภาวการณ์แข่งขันในอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้รับผลกระทบทั้งในด้านตลาดแรงงาน และฐานการผลิต
เพื่อเตรียมการสร้างบุคลากรรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานระดับโลก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค/สวทช.) โดย โปรแกรมระบบสมองกลฝังตัว ร่วมกับ โปรแกรมระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ จัดโครงการ “แข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยระบบสมองกลฝังตัวและอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย” ขึ้นในระดับอุดมศึกษา และกำหนดแถลงข่าวหัวข้อ เนคเทคผนึก 2 เทคโนโลยี กระตุ้นไทยสร้าง “แบรนด์อัจฉริยะ” แทน “รับจ้างผลิต ใน ”วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2551 เวลา 13.30 น. ห้อง อโนมา 3 โรงแรมอโนมา โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง เป็นประธานในพิธี
ในการนี้จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านหรือผู้แทนเข้าร่วมเป็นเกียรติในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ตามวัน เวลา สถานที่ตามเอสารแนบ และขอความอนุเคราะห์ท่านในการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรม ดังกล่าวเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไป
กำหนดการแถลงข่าว
13.00 — 13.30 น. สื่อมวลชน ผู้เข้าร่วมงานลงทะเบียน / รับประทานอาหารว่าง
13.30 — 14.00 น. ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ กล่าว
ท ความเป็นมาโครงการ
ท กิจกรรมการแข่งขัน / เกณฑ์การตัดสิน / เงินรางวัล และอื่นๆ
14.00 — 14.30 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน
ท ยุทธศาสตร์กระทรวงวิทย์ฯ ในการบูรณาการความรู้ ด้านตลาด
ดีไซน์ ระบบสมองกลฝังตัวและRFID สู่อุตสาหกรรมยั่งยืน
ท ความสำคัญ / การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบบสมองกลฝัง
ตัว (ES) และเทคโนโลยีระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID)
ในชีวิตประจำวัน / ภาคอุตสาหกรรมไทย
14.30 — 14.40 น. ถ่ายภาพร่วมกัน
สื่อมวลชน ซัก-ถาม