กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--บลจ.กรุงศรี
บลจ.กรุงศรี เสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นแฮนซ์แอคทีฟตราสารหนี้ (KFENFIX) ทางเลือกการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเหมาะกับภาวะในปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูงและดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 19 – 25 พ.ย. 62
น.ส.ศิริพร สินาเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า "ในภาวะที่ทิศทางดอกเบี้ยขาลง แนวโน้มเศรษฐกิจโลกผันผวน และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง รวมทั้งธนาคารกลางโลกส่วนใหญ่ทั่วโลกเริ่มดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น ตราสารหนี้ระยะยาวจึงเป็นทางเลือกการลงทุนที่มีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางเลือกการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวยังมีค่อนข้างจำกัดสำหรับนักลงทุนรายย่อย ในขณะที่นักลงทุนสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนจะมีการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเป็นปกติเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่า"
"บริษัทเล็งเห็นโอกาสในการลงทุนดังกล่าวจึงเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นแฮนซ์แอคทีฟตราสารหนี้ (KFENFIX) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยกองทุนสามารถลงทุนในต่างประเทศเฉลี่ยไม่เกิน 79%ของ NAV มีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีหลากหลายประเภทที่มีระดับผลตอบแทนที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยง เช่น การลงทุนในตราสารภาครัฐอย่างพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากจะได้รับประโยชน์หากธนาคารกลางยังทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง และไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต สามารถสร้างสภาพคล่องที่ดีให้กับกองทุน การลงทุนในเงินฝากทั้งในและต่างประเทศที่มีความความมั่นคงสูง และการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนคุณภาพดีที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวช่วยลดผลกระทบในเชิงลบต่อพอร์ตการลงทุนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น รวมถึงการลงทุนในตราสารต่างประเทศเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในประเทศในบางช่วงเวลา และยังช่วยเรื่องการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน เป็นต้น ที่สำคัญกองทุน KFENFIX ไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ Duration เฉลี่ยของตราสารที่ลงทุนสามารถลงทุนโดยเน้นความยืดหยุ่นเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ กองทุน KFENFIX มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน"
"นอกจากนี้ กองทุน KFENFIX ยังมีจุดแข็งของทีมผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่มีประสบการณ์ยาวนานและมีผลงานที่โดดเด่นจากการบริหารกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้ (KFAFIX) และกองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF) และได้รับรางวัลต่างๆจากสถาบันจัดอันดับชั้นนำ เช่น การรับรางวัลกองทุนตราสารหนี้ยอดเยี่ยม ประเภทกองทุนตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงยาวปี 2552 และ 2557 จากกองทุน KFMTFI และปี 2556 จากกองทุน KFMTFI-D รวมทั้งการรับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยม Money & Banking Awards จากกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปีประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้ประจำปี 2557 และ 2562 จากกองทุน KFSPLUS เป็นต้น" (ที่มา : บลจ. กรุงศรี ณ 9 ต.ค. 62 / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินในอนาคต / การจัดอันดับดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนแต่อย่างใด)
"บลจ.กรุงศรี เชื่อมั่นว่ากองทุน KFENFIX จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ต้องการผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว แต่ยังคงต้องการสภาพคล่องสูง ซื้อขายได้ทุกวันทำการ" น.ส.ศิริพร กล่าว
ขอข้อมูลหนังสือชี้ชวนได้ที่สำนักงานของบริษัทจัดการ กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือเว็บไซต์ www.krungsriasset.com หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
กองทุน KFENFIX มีนโยบายเน้นลงทุนในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ในตราสารหนี้ และ/หรือ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ที่ออก รับรอง รับอาวัล หรือค้าประกันการจ่ายเงิน โดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และ/หรือภาคเอกชน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ และอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ดังนั้นกองทุนอาจมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารที่กองทุนได้ลงทุนหรือมีไว้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราดอกเบี้ย หรือฐานะทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสาร
กองทุน KFENFIX ความเสี่ยงระดับ 4 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
กองทุนอาจมีการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้ชาระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนสำหรับสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
กองทุนอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน ทาให้กองทุนอาจมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง เนื่องจากใช้เงินลงทุนในจานวนที่น้อยกว่าจึงมีกำไร/ขาดทุนสูงกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง