กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด
เมื่อพูดถึงประเด็นเรื่องสุขภาพและการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี การดูแลหลักโภชนาการและการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตจึงเป็นสิ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วยกัน พฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่น การสูบบุหรี่, ละเลยการออกกำลังกาย, การรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ล้วนเป็นการสร้างปัญหาสะสมอย่างต่อเนื่องและส่งผลเสีย ต่อร่างกายเมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องสำคัญสำหรับวัยผู้ใหญ่อย่างเราๆ ที่ควรใส่ใจดูแลสุขภาพ ทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น[1] ลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังและช่วยรักษาสมดุลการทำงานของกล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเข้าสู่วัย 40 เรามีโอกาสที่จะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้ถึง 8% ภายในระยะเวลา 10 ปี และเมื่อก้าวสู่ช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นแบบทวีคูณ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อหรือภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย คือสภาวะการสูญเสียความแข็งแรงโดยรวมของกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปถึง 1 ใน 3 คน
ความสำคัญของกล้ามเนื้อในร่างกายนอกเหนือจากการช่วยให้เราทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเป็นปกติ เช่น การหยิบ จับ ถือสิ่งของต่างๆ, เปิดปิดขวดน้ำ, ลุกนั่งบนเก้าอี้แล้วนั้น กล้ามเนื้อที่มีสุขภาพดีย่อมส่งผลดีต่อระบบการทำงานของอวัยวะ ในร่างกาย ทั้งในส่วนของผิวหนัง ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงระบบการเผาผลาญ กล่าวคือ การดูแลมวลกล้ามเนื้อให้มีสุขภาพดีตามช่วงอายุ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยืดความสุขของช่วงชีวิตให้ยืนยาวมากยิ่งขึ้น
ข่าวดีตอนนี้คือ ด้วยวิธีการดูแลรักษามวลกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง สามารถช่วยชะลอและป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้ เมื่อการเพิ่มขึ้นของอายุเป็นเรื่องธรรมชาติ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เราจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง โดยปรับสมดุลระหว่างการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเลือกรับประทานอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน
แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส เสนอ 5 เคล็ดลับที่จะช่วยดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อของคุณให้แข็งแรงขึ้น ฉะนั้น อ่านจบแล้วเริ่มทำตามเลยตั้งแต่ตอนนี้!
แข็งแรงได้…ในวัย 50 เคล็ดลับสุขภาพเพื่อการดูแลกล้ามเนื้อเมื่อเราอายุมากขึ้น ข่าวดีคือเราสามารถชะลอภาวะกล้ามเนื้อเสื่อมได้
1. ยิ่งเราอายุมาก ยิ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อเสื่อม
ร่างกายคนเราจะเผชิญกับภาวะกล้ามเนื้อเสื่อมในช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 8% ในทุก ๆ 10 ปี แต่เมื่ออายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นแบบทวีคูณ โดยมวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 15% ในทุก ๆ 10 ปี[2]
2. การดูแลกล้ามเนื้อให้ดี สำคัญยิ่งกว่าการสร้างความแข็งแกร่งกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเคลื่อนไหว การทรงตัว และระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย กล้ามเนื้อจะเป็นส่วนที่ควบคุมภาวะเหนื่อยหรือตื่นตัวของร่างกาย และยังสามารถมีผลกระทบถึงภาวะการใช้ออกซิเจนของร่างกายอีกด้วย นอกจากนั้น คุณอาจจะคิดไม่ถึงว่า หัวใจของคนเราก็เป็นกล้ามเนื้อที่ต้องการมัดกล้ามเนื้อมาช่วยในการสูบฉีดให้เป็นปกติ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจะต้องเริ่มคำนึงถึงสุขภาพที่ดีของกล้ามเนื้อ ให้เหมือนกับที่เราดูแลรักษาสุขภาพกระดูก
3. วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ง่ายๆ แค่ลองบีบมือ
มีการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการกำมือได้แน่น บ่งบอกได้ถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีและมีความแม่นยำมากกว่าการวัดจากความดันโลหิตเสียอีก หากคุณต้องการทดสอบความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ สามารถเข้าไปใช้บริการในสถานพยาบาลที่จะมีเครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือทำกิจกรรมง่ายๆด้วยตัวเอง เช่น ลองบิดเปิดขวดโหลแล้วสังเกตความแน่นของฝ่ามือ หากพบความผิดปกติหรือเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจถึงเวลาที่คุณต้องเริ่มปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ไม่สายเกินไปที่จะเริ่มดูแลกล้ามเนื้อของคุณตั้งแต่ตอนนี้ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและได้รับโปรตีนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
4. การรับประทานอาหารที่ดี ครบถ้วนด้วยโปรตีน เพื่อสร้างกล้ามเนื้อที่ดี
การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งผู้ใหญ่ยิ่งต้องใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนที่เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ[3] แหล่งโปรตีนชั้นดี สามารถหาได้จากเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อลดอัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
จากคำแนะนำของนักโภชนาการปริมาณโปรตีนที่ผู้ใหญ่ควรได้รับต่อวันคือ 0.36 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ (0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) โดยเฉลี่ยปริมาณโปรตีนที่ผู้ชายต้องการต่อวันคือ 56 กรัม ส่วนผู้หญิงคือ 46 กรัม นอกจากนี้ปริมาณโปรตีนควรปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตามอายุทุกๆ 1 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารจากการเจ็บป่วยหรืออยู่ในช่วงระหว่างการพักฟื้นจากการผ่าตัด