กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "อยู่ไม่เป็นของพรรคอนาคตใหม่" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,262 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจและการติดตามข่าว "อยู่ไม่เป็น" ของพรรคอนาคตใหม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเข้าใจของประชาชนต่อคำว่า "อยู่เป็น" พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.57 ระบุว่า คนที่สามารถปรับตัว ตามสถานการณ์ให้สอดคล้องกับบริบทที่ดำรงอยู่ รองลงมา ร้อยละ 38.11 ระบุว่า คนที่ใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดปลอดภัย ร้อยละ 15.53 ระบุว่า คนที่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และเข้าใจสังคม ร้อยละ 12.60 ระบุว่า คนที่มีวิธีการให้ได้รับการยอมรับ จากสังคม และมีความเจริญรุ่งเรือง ร้อยละ 7.45 ระบุว่า คนที่เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ร้อยละ 3.49 ระบุว่า คนที่พอใจกับสิ่งดี ๆ ในปัจจุบัน ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 2.22 ระบุว่า การยอมจำนนต่อสภาพแวดล้อมหรืออำนาจ ร้อยละ 1.58 ระบุว่า คนไม่มีจุดยืน ไม่ยึดมั่นในหลักการ และไม่มีอุดมการณ์ และร้อยละ 5.78 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วนความเข้าใจของประชาชนต่อคำว่า "อยู่ไม่เป็น" พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.18 ระบุว่า คนที่ไม่สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ ให้สอดคล้องกับบริบทที่ดำรงอยู่ รองลงมา ร้อยละ 23.45 ระบุว่า คนที่กระทำสิ่งใดแล้วเกิดผลลบกับตนเอง ร้อยละ 15.77 ระบุว่า คนที่ไม่รู้จักกาละเทศะ ดื้อรั้น หัวชนฝา เอาแต่ใจตนเองเป็นหลัก ร้อยละ 14.03 ระบุว่า คนที่ชอบทำตัวแบบ จระเข้ขวางคลองหรือแกว่งเท้าหาเสี้ยน ร้อยละ 13.39 ระบุว่า คนที่ทำอะไรก็ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และไม่เจริญรุ่งเรือง ร้อยละ 10.78 ระบุว่า คนที่ขาดความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ และไม่เข้าใจสังคม ร้อยละ 4.83 ระบุว่า คนที่ไม่ยอมจำนนต่อสภาพแวดล้อมหรืออำนาจ ร้อยละ 3.41 ระบุว่า คนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และร้อยละ 7.29 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านการติดตามข่าว "อยู่ไม่เป็น" ของพรรคอนาคตใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.21 ระบุว่า ไม่ติดตามเลย ร้อยละ 27.73 ระบุว่า ติดตามบ้าง ร้อยละ 6.66 ระบุว่า ติดตามตลอด และร้อยละ 0.40 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการประกาศและกิจกรรม "อยู่ไม่เป็น" ของพรรคอนาคตใหม่ จากผู้ที่ตอบติดตามตลอดและติดตามบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.25 ระบุว่า เป็นการแสดงจุดยืนของพรรค รองลงมา ร้อยละ 26.27 ระบุว่า เป็นการพูดความจริงเกี่ยวกับสังคม ร้อยละ 21.20 ระบุว่า เป็นการสร้างกระแส ในการเรียกคะแนนเสียง/ความสนใจ จากประชาชน ร้อยละ 11.29 ระบุว่า เป็นคำพูด/วิธีการ ในการโจมตี ฝ่ายตรงข้าม ร้อยละ 8.99 ระบุว่า เป็นการแสดงผลงานของพรรค ร้อยละ 7.60 ระบุว่า เป็นแค่คำประกาศ และ/หรือ กิจกรรมทางการเมือง อย่างหนึ่งเท่านั้น ร้อยละ 4.61 ระบุว่า พรรคอนาคตใหม่อยู่ไม่เป็นสุขจากคดีความต่าง ๆ ร้อยละ 2.53 ระบุว่า พรรคอนาคตใหม่ไม่เข้าใจ สังคม/การเมืองไทย และร้อยละ 7.14 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อพรรคอนาคตใหม่ว่า "อยู่ไม่เป็น" หรือ "อยู่เป็น" จากผู้ที่ตอบติดตามตลอดและติดตามบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.70 ระบุว่า "อยู่เป็น" ร้อยละ 29.03 ระบุว่า "อยู่ไม่เป็น" ร้อยละ 20.05 ระบุว่า บางครั้งก็ "อยู่เป็น" บางครั้งก็ "อยู่ไม่เป็น" ร้อยละ 5.30 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 3.92 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อตนเองว่า "อยู่ไม่เป็น" หรือ "อยู่เป็น" พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.19 ระบุว่า "อยู่เป็น" ร้อยละ 19.81 ระบุว่า บางครั้งก็ "อยู่เป็น" บางครั้งก็ "อยู่ไม่เป็น" ร้อยละ 5.94 ระบุว่า "อยู่ไม่เป็น" ร้อยละ 1.19 ระบุว่า ไม่รู้/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 0.87 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.95 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.52 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.30 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 34.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.13 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.87 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 7.69 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.82 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.71 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.10 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.68 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.45 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.81 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.55 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.19 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่างร้อยละ 21.63 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.45 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.57 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.35 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 30.59 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.35 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.64 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.77 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.07 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.58 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 10.30 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.18 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.03 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.83 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.22 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.35 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 15.93 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 8.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.15 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.32 ไม่ระบุรายได้