กรุงเทพฯ--26 พ.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
ผู้ชนะรางวัลฮีโร่ทางด้านเอชไอวีและสิทธิกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ (LGBTI) ได้รับการประกาศชื่อ พร้อมรับรางวัลอันทรงเกียรติในงานกาล่าฮีโร่ อวอร์ด (HERO Awards) แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร
ฮีโร่ (HERO) ย่อมาจาก HIV (เอชไอวี) Equality (ความเสมอภาค) และ Rights (สิทธิ์) โดยงานฮีโร่ อวอร์ดเป็นงานประจำปี ที่จัดขึ้นเพื่อเชิดชูผลงานที่โดดเด่นในการรับมือกับปัญหาเอชไอวีในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และการทำงานเพื่อกลุ่มหญิงรักหญิงหรือเลสเบี้ยน (Lesbian) ชายรักชายหรือเกย์ (Gay) คนรักสองเพศ (Bisexual) และคนข้ามเพศ (Transgender) และ Intersex
โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 300 คน ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ถ. วิทยุ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเจ้าภาพให้แก่มูลนิธิแอ็พคอม (APCOM) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรชั้นนำที่ทำงานเพื่อต่อสู้กับเอชไอวีและส่งเสริมสุขภาพและสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ทั้งนี้รางวัลดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้สนับสนุนต่าง ๆ เช่น องค์กรชุมชน คณะผู้แทนทางการทูต องค์การสหประชาชาติ ภาคธุรกิจ โดยมีนางสาวเปีย วุลซ์บัค (Pia Wurtzbach) มิสยูนิเวิร์สปี 2558 และทูตสันถวไมตรีเอเชียและแปซิฟิกของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้ร่วมเป็นพิธีกร
ผู้รับรางวัลมาจากทั่วทุกภูมิภาค ทั้งออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน ซามัว สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยและเวียดนาม โดยมีผู้ที่ได้รับคัดเลือกรอบสุดท้าย 27 คน จากการเสนอชื่อมากกว่า 220 รายชื่อจากทั่วทั้งภูมิภาค
หนึ่งในผู้ชนะคือหนึ่งในนักรณรงค์สิทธิ์ คนข้ามเพศจากปากีสถานชื่อมูน อาลี (Moon Ali) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นฮีโร่ของชุมชน (Community Hero) โดยเป็นผู้อุทิศตนในเรื่องสิทธิและสุขภาพของคนข้ามเพศ
ผู้รับรางวัลฮีโร่ของคนข้ามเพศ (Transgender Hero) คือคุณรีน่า จันทร์อำนวยสุข ตัวแทนของคลินิกคนข้ามเพศ Tangerine ที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ ส่วนรางวัลเอชไอวีฮีโร่ (HIV HERO) เป็นของอาเซบ เซปูดิน (Acep Saepudin) จากอินโดนีเซียสำหรับผลงานดีเด่นของเขาในฐานะนักกิจกรรมและนักการศึกษาเอชไอวี
เมนากา กูรูสวามี (Menaka Guruswamy) และอรุณฮาตี คัตจู (Arundhati Katju) จากอินเดียได้รางวัลฮีโร่ขับเคลื่อนงานสังคมเพื่อความยุติธรรม (Social Justice Heroes) ในบทบาทแก้กฎหมายอาชญากรรมของการมีสัมพันธ์ของเพศเดียวกันในปีที่ผ่านมาของอินเดีย
ในขณะที่จูน ชัว (June Chua) จากสิงคโปร์ได้รับการประกาศว่าเป็นฮีโร่เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (Health & Wellbeing Hero) สำหรับผลงานที่โดดเด่นของเธอคือเป็นผู้นำในการสนับสนุนคนข้ามเพศ รวมทั้งทางด้านการบริการ
จองจีอล ลี (Jonggeol Lee) จากเกาหลีใต้ได้รับรางวัลฮีโร่พันธมิตรของชุมชน (Community Ally Award) สำหรับการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนที่โดดเด่นของกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ
ส่วนพันธมิตรเพื่อความเท่าเทียมด้านการสมรสของไต้หวัน (Taiwan's Marriage Equality Coalition) ได้รับรางวัลองค์กรชุมชน (Community Organisation Award) สำหรับบทบาทที่สำคัญในการดำเนินการการรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จ โดยทำให้การสมรสเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมายในไต้หวัน
สำหรับรางวัลผู้ประสบความสำเร็จรุ่นเยาว์ (Young Achiever Award) เป็นของโดอัน ทาน ตุง (Doan Thanh Tung) จากประเทศเวียดนาม ซึ่งทำงานพิเศษในฐานะผู้ให้การศึกษาและผู้ให้การดูแลด้านเอชไอวี รวมถึงกิจกรรมของกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ
ส่วนตุยสินา ยมาเนีย บราวน์ (Tuisina Ymania Brown) ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนจากซามัวได้รับรางวัลชีวนันท์ คาน (Shivananda Khan Award) รางวัลพิเศษสำหรับความสำเร็จของเขาที่ผ่านมากว่าทศวรรษในการเคลื่อนไหวที่มีแนวคิดใหม่ ๆ ในภาคพื้นแปซิฟิก รางวัลนี้ตั้งชื่อตามชีวนันท์ คาน (Shivananda Khan) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแอ็พคอมและเป็นผู้บุกเบิกทำงานด้านเอชไอวี สุขภาพของกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศและสิทธิในเอเชียแปซิฟิก
ทางกลุ่มธนาคารออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป (ANZ) เป็นบริษัทแรกที่ได้รับรางวัลพันธมิตรธุรกิจ (Business Ally) โดยเน้นบทบาทสำคัญที่ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้นในเอเชียแปซิฟิก
เดเด้ โอเอโตโม (Dede Oetomo) ประธานที่ปรึกษาประจำภูมิภาคของแอ็พคอมกล่าวว่า "ในนามของมูลนิธิแอ็พคอม ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะ และผู้เข้ารอบสุดท้ายทุกคน งานกาล่าในคืนที่ผ่านมาได้สร้างแรงบันดาลใจ และเป็นการเฉลิมฉลองที่ยอดเยี่ยม ผลขอขอบคุณทุกคนที่ส่งการเสนอชื่อ คณะผู้ตัดสินอิสระชุมชน และกลุ่มนักกิจกรรมของเรา ผู้บริจาคการประมูลของเรา และแขกของเราทุกคนที่มาร่วมงาน พร้อมทั้งสนับสนุนงานของแอ็พคอมโดยการระดมกองทุนและการบริการที่อนุเคราะห์ให้สุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนของเราให้ดีขึ้น"
นายคีย์ เรด (Kees Rade) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยกล่าวว่า "ผมดีใจที่สถานทูตเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงเทพฯ สามารถเป็นสถานที่จัดงานฮีโร่ อวอร์ดในปีนี้ รางวัลอันทรงเกียรติเหล่านี้เป็นแสงประกายเพื่อการทำงานที่ไม่ธรรมดาของเหล่าฮีโร่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในชุมชนท้องถิ่นของพวกเขา เพื่อทำให้ชีวิตของผู้อื่นดีขึ้น วันเอดส์โลกและวันสิทธิมนุษยชนสากลเป็นโอกาสอันดีที่ได้นำเสนอให้เห็นว่าบุคคลและองค์กรที่พวกเรามอบรางวัลให้ สามารถนำผู้คนมารวมกัน เพื่อสร้างความก้าวหน้าและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่กันและกัน ขอแสดงความยินดีกับผู้รับรางวัลทุกคนและผู้เข้ารอบสุดท้าย และขอแสดงความยินดีกับแอ็พคอมที่ให้เวทีที่สำคัญเช่นนี้เพื่อเน้นประเด็นกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศและเอชไอวีในเอเชียแปซิฟิก"
ผู้ที่ได้รับรางวัลฮีโร่ อวอร์ด ได้แก่
1. รางวัลพันธมิตรธุรกิจ (Business Ally)
- กลุ่มธนาคารออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป (ANZ) (ออสเตรเลีย)
ANZ มุ่งที่จะสร้างวัฒนธรรมที่มีความเคารพซึ่งกันและกันของทุกคนและของชุมชน รวมถึงพนักงานกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ ลูกค้าและชุมชน การสร้างเครือข่ายรวมกันสำหรับพนักงานกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศของ ANZ ในปี 2550
2. รางวัลพันธมิตรชุมชน (Community Ally)
- จองจีอล ลี (Jonggeol Lee) (เกาหลีใต้)
จองจีอล ลีเป็นผู้อำนวยการทั่วไปของ Chingusai – องค์กรสิทธิมนุษยชนเกย์เกาหลีที่เขาเป็นผู้อำนวยการบริหาร โดยเป็นผู้นำกลุ่มแรก ๆ ในกลุ่มของกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศเกาหลีใต้ในทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อไม่นานมานี้เขาเป็นประธานร่วมของ Rainbow Action- สัมพันธมิตรขององค์กร กลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศในเกาหลีใต้ - เพื่อให้เกิดความเสมอภาคสำหรับเกย์ในเกาหลีใต้
3. รางวัลฮีโร่ชุมชน (Community Hero)
- มูน อาลี (Moon Ali) (ปากีสถาน)
มูนทำงานหลายปีในโครงการต่าง ๆ ที่ปากีสถานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคนข้ามเพศ เธอกระตือรือร้นถึงการตระหนักในเรื่องสุขภาพสำหรับคนข้ามเพศให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น รวมทั้งกระตุ้นส่งเสริมพลังของพวกเขาในประเทศปากีสถาน
4. รางวัลองค์กรชุมชน (Community Organisation)
- พันธมิตรเพื่อความเท่าเทียมด้านการสมรสของไต้หวัน (Taiwan's Marriage Equality Coalition)
ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 เพื่อเป็นเวทีในการสนับสนุนความเสมอภาคในการแต่งงาน โดยมีการรวมตัวกันของห้าองค์กร ไต้หวันออกกฎหมายการแต่งงานเพศเดียวกันในเดือนมิถุนายนปีนี้กลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ทำเช่นนั้น
5. รางวัลฮีโร่เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Health & Wellbeing Hero)
- จูน ชัว (June Chua) (สิงคโปร์)
จูนเป็นหนึ่งในผู้นำผู้ให้การสนับสนุนของสิงคโปร์ในด้านการให้บริการแก่กลุ่มคนข้ามเพศ เธอทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมานานกว่าทศวรรษ เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัย ข้อมูลพื้นฐานบริการด้านสุขภาพ และการสนับสนุนให้กับชุมชนคนข้ามเพศของสิงคโปร์
6. รางวัลเอชไอวีฮีโร่ (HIV Hero)
- อาเซบ เซปูดิน (Acep Saepudin) (อินโดนีเซีย)
อาเซบเป็นเกย์หนุ่มชาวอินโดนีเซียที่เป็นมุสลิมที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เขาได้บันทึกการเดินทางของเขาที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี นับตั้งแต่ถูกวินิจฉัยในเดือนกันยายนปีที่แล้ว เขาใช้ช่องทางนี้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ลบล้างการตีตราและเลือกปฏิบัติ
7. รางวัลฮีโร่ขับเคลื่อนงานสังคมเพื่อความยุติธรรม (Social Justice Hero)
- เมนากา กูรูสวามี (Menaka Guruswamy) และอรุณฮาตี คัตจู (Arundhati Katju) (อินเดีย)
เมนากาและอรุณฮาตีเคยได้รับการเสนอชื่อจากนิตยสารไทม์ให้เป็นหนึ่งในร้อยรายชื่อผู้มีอิทธิพลมากที่สุดของปี 2562 หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาของอินเดียออกกฏหมายเมื่อเดือนกันยายน 2561 ว่ามาตรา 377 ของรัฐธรรมนูญอินเดียเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ เขาทั้งคู่เป็นกลุ่มผู้หญิงคนสำคัญในขับเคลื่อนร้องเรียนของศาลฎีกาอินเดียที่พิจารณาคดีนี้สำเร็จ
8. รางวัลฮีโร่ข้ามเพศ (Transgender Hero)
- รีน่า จันทร์อำนวยสุข ตัวแทนของคลินิกคนข้ามเพศ Tangerine (ประเทศไทย)
รีน่าเป็นหน้าตาของคลินิก Tangerine ในกรุงเทพฯ ซึ่งทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อทำให้สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนข้ามเพศดีขึ้น
9. รางวัลผู้สำเร็จรุ่นเยาว์ (Young Achiever)
- โดอัน ทาน ตุง (Doan Thanh Tung) (เวียดนาม)
โดอันเป็นกรรมการบริหารของ Lighthouse Social Enterprise และประธานของ Youth Voices Count นักเคลื่อนไหววัยรุ่น ด้านเอชไอวีและกิจกรรมกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ เขาได้รับการยอมรับในการทำงานเพื่อสร้างบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศทั้งในเวียดนามและต่างประเทศ
10. รางวัลชีวนันท์ คาน (Shivananda Khan Award)
- ตุยสินา ยมาเนีย บราวน์ (Tuisina Ymania Brown) (ซามัว)
ตุยสินาเป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนาน บ้านเดิมของเธอมาจากซามัว เธอจบปริญญาโทด้านกฎหมาย งานอาสาสมัครของเธอรวมไปถึงมูลนิธิเพื่อความยุติธรรม (สมาชิกคณะกรรมการ) เครือข่ายอินเตอร์เฟธ (Interfaith) ทั่วโลกเกี่ยวกับเพศ การปฐมนิเทศทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออก กองทุนทรานส์ (Trans) นานาชาติ (ประธานร่วม); และอินเตอร์เนชั่นแนล ทรานส์ ฟันด์ (International Trans Fund) (ประธานร่วม)