กรุงเทพฯ--28 พ.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารวิชาการ สจล. (ที่ 5 จากซ้าย) ผศ.ดร.วัฒนชัย พงษ์นาค รักษาการแทนรองอธิการบดี สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ที่ 4 จากซ้าย) และ ดร.คะซุมะสะ ทะอิระ ผู้อำนวยการใหญ่ สถาบันวิจัยแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่น (ที่ 6 จากซ้าย) เตรียมติดตั้ง "สถานีเรดาร์พระจอมเกล้าชุมพร" ในย่านความถี่สูงมากของไทย ครั้งแรก ณ สจล. วิทยาเขตชุมพรฯ สถานีตรวจจับพลาสมาบับเบิลและสภาพอวกาศที่ผิดปกติ หนุน ระบบนำทาง GPS – GNSS ในอุตสาหกรรมการบิน การระบุตำแหน่งแม่นยำสูง พร้อมแจ้งเหตุถึงสถานีและเครื่องรับสัญญาณ GNSS ล่วงหน้า เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สำนักหอสมุดกลาง สจล. กรุงเทพฯ
คำอธิบายภาพจากซ้าย:
- รศ.ดร. สมยศ เกียรติวนิชวิไล รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สจล.
- ดร.กมล เกียรติเรืองกมลา รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ สจล.
- รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.
- ผศ.ดร.วัฒนชัย พงษ์นาค รักษาการแทนรองอธิการบดี สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
- รศ. ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารวิชาการ สจล.
- ดร.คะซุมะสะ ทะอิระ ผู้อำนวยการใหญ่ สถาบันวิจัยแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่น
- นาย ทะคะฮิโระ โคะโนะ (Mr. Takahiro Kono) ผู้อำนวยการ NICT Asia Center
- นาย ยะสึนะริ อุเอะโนะ (Mr.Yasunari Ueno) เลขานุการเอกแห่งสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ฝ่ายนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ดร.ทะคุยะ ซึกะวะ (Dr. Takuya Tsugawa) ผู้จัดการการวิจัย และหัวหน้าโปรเจค ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมอวกาศ สถาบันวิจัยแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่น