กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทีจีส์
ประเทศไทยขึ้นชื่อในเรื่องของชายหาดที่สวยงามและภูมิอากาศเขตร้อนตลอดปีที่เป็นที่โปรดปรานของนักท่องเที่ยว ในอีกมุมที่ที่เป็นสวรรค์บนดินอาจกลายเป็นปัญหาสำหรับผู้อยู่อาศัย เมื่อน้ำเค็มจากทะเลเจอกับอากาศร้อนชื้น จึงก่อให้เกิดการกัดกร่อน มีการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถทำให้ประเทศไทยเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี
วัสดุต่างๆ ที่ดูทนทาน อย่างเหล็ก พลาสติก หรือคอนกรีต ก็เกิดการกัดกร่อนได้ทั้งสิ้น โชคดีที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถสร้างนวัตกรรมที่ช่วยปกป้องวัสดุภายนอกเหล่านี้ รวมถึงแผ่นปิดใต้ท้องรถไม่ให้พื้นผิวถูกกัดกร่อนได้
เมืองไทย ร้อนไปหมดทุกที่
ถึงแม้จะอยู่อาศัยห่างจากพื้นที่ชายทะเลก็ไม่ได้หมายความว่าจะหลีกเลี่ยงการกัดกร่อนได้ ในเมืองอย่างกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ก็ยังมีความชื้น และมลพิษที่รวมตัวกันก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวกับวัสดุต่างๆ หรือแม้กระทั่งรถยนต์ได้อยู่ดี การมีรถที่ทนทานต่อสภาพอากาศจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของรถควรคำนึงถึงด้วยเช่นกัน
หากฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ สี Deep Crystal Blue กลายเป็นสีฟ้าเรืองแสง คงน่าเสียดาย วิศวกรของฟอร์ดจึงคิดค้นวิธีทดสอบแบบสุดขั้วขึ้นมาเพื่อใช้ในศูนย์ทดสอบ You Yang Proving Grounds (YYPG) ของฟอร์ดในออสเตรเลีย เรียกว่า "การทดสอบความทนทานการกัดกร่อนทั้งคันรถ" ซึ่งใช้เวลา 12 สัปดาห์ติดต่อกัน ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง
ขั้นตอนแรกสุดคือการนำรถเข้าไปผ่านความชื้นในตู้อบชื้น ตู้ดังกล่าวสามารถจุรถได้ถึง 4 คันในครั้งเดียว และสามารถสร้างความชื้นได้เทียบเท่ากับห้องซาวน่า หลังจากผ่านการอบชื้นแล้ว วิศวกรจะนำรถไปขับบนพื้นผิวหลากหลายทำให้รถสั่นสะเทือน และให้รถผ่านสสารต่างๆ ทั้ง เกลือ ฝุ่น และกรวด โดยอุณหภูมิและความชื้นรอบด้านแปรผันในระดับสูงสุดและต่ำสุดสลับกันตลอดเวลา โดยระยะทางทั้งหมดของรถที่ใช้จากการทดสอบการกัดกร่อนนี้ เทียบเท่ากับสภาพแวดล้อมที่รถถูกอากาศและสสารต่างๆ เสมือนการวิ่งบนชายฝั่งอันดามันเป็นเวลาราว 6 ปี
ถ้าคุณคิดว่า เท่านี้คงจะทรมานรถมากเพียงพอแล้ว แต่วิศวกรยังแยกชิ้นส่วนรถตั้งแต่ภายนอก ไปจนถึงช่วงล่างไปอีก เพื่อดูว่ารถมีภูมิคุ้มกันการกัดกร่อนมากแค่ไหน ขั้นตอนนี้ยังทำให้มั่นใจได้ว่าทุกชิ้นส่วนผ่านการประเมินในทุกด้าน ทั้งรูปลักษณ์ภายนอก ประสิทธิภาพ และการใช้งาน การวิเคราะห์จนทราบได้ว่าช่วงใด และชิ้นส่วนใดของรถยนต์ได้รับผลกระทบบ้าง ทำให้วิศวกรของฟอร์ดสามารถหาทางป้องกันที่ดีขึ้นจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในระยะยาว
"เป้าหมายของการทดสอบสุดทรหดที่แสนยาวนานนี้ ก็เพื่อหาจุดอ่อนของรถ ก่อนที่รถจะถึงมือลูกค้า" มร. สตีเฟน แอนดรูว์ส หัวหน้าฝ่ายทดสอบการกัดกร่อน ภูมิภาคเอเชีย แฟซิฟิก ประจำศูนย์ทดสอบ YYPG ของฟอร์ดกล่าว
"หากมีวัสดุใด หรือช่วงใดที่เป็นจุดอ่อนถูกกัดกร่อน เราจะสามารถเคลื่อนย้าย หรือสับเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่เริ่มกร่อน หรือทั้งแผ่นบอบบางลงจากการผ่านสภาพอากาศ และสสารต่างๆ อย่างหนักหน่วง" มร. สตีเฟน กล่าวเสริม
อย่างไรก็ดี การดูแลรถของลูกค้าไม่ให้มีสภาพถูกกัดกร่อนนั้นไม่ได้หยุดแค่ที่การทดสอบ ในโรงงานเอฟทีเอ็มที่ระยอง รถทุกคันที่ผลิตขึ้นจะผ่านการอาบสารป้องกันการกัดกร่อนก่อนที่จะพ่นสี เพื่อเพิ่มการป้องกันผลจากการกัดกร่อนมากขึ้นอีกขั้น
ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะขับฟอร์ด เรนเจอร์ หรือฟอร์ด เอเวอเรสต์ คุณจึงสามารถมั่นใจได้ตั้งแต่ขับออกจากโชว์รูมเลยว่า รถของคุณจะมีความทนทาน พร้อมเผชิญทุกสภาวะสุดโหดในการขับขี่บนโลกใบนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี
ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยธุรกิจของบริษัท ได้แก่ การออกแบบ ผลิต ทำการตลาด และบริการหลังการขาย สำหรับรถยนต์ รถกระบะ รถเอสยูวี รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในแบรนด์ฟอร์ด และแบรนด์ลินคอล์น ซึ่งเป็นแบรนด์ในตลาดรถหรู รวมถึงให้บริการด้านการเงินผ่านบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ เครดิต และบริษัทกำลังเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และแผนการสัญจรอัจฉริยะ ฟอร์ดมีพนักงานรวมประมาณ 191,000 คนทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟอร์ด ผลิตภัณฑ์ของฟอร์ด และฟอร์ด มอเตอร์ เครดิต โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ www.corporate.ford.com