กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา รวม 39 อำเภอ 215 ตำบล 1,994 หมู่บ้าน ซึ่ง ปภ.ได้จัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทา ความเดือดร้อนแก่ประชาชน พร้อมกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำที่เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ รวมถึงขอความร่วมมือประชาชนใช้น้ำ อย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (13 ธ.ค.62) มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฝนแล้ง) 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา รวม 39 อำเภอ 215 ตำบล 1,994 หมู่บ้าน โดยเชียงราย ประกาศเขตฯ (ภัยแล้ง) รวม 13 อำเภอ 69 ตำบล 612 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงแก่น อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงของ อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอพาน อำเภอเทิง อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอพญาเม็งราย นครพนม ประกาศเขตฯ (ภัยแล้ง) ในอำเภอปลาบาก รวม 8 ตำบล 51 หมู่บ้าน มหาสารคาม ประกาศเขตฯ (ภัยแล้ง) รวม 6 อำเภอ 43 ตำบล 542 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอแกดำ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงยืน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอยางสีสุราชบึงกาฬ ประกาศเขตฯ (ภัยแล้ง) รวม 4 อำเภอ 32 ตำบล 238 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอพรเจริญ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอปากคาด และอำเภอโซ่พิสัย หนองคาย ประกาศเขตฯ (ภัยแล้ง) รวม 7 อำเภอ 36 ตำบล 340 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอท่าบ่อ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโพนพิสัย และอำเภอสังคม กาญจนบุรี ประกาศเขตฯ (ภัยแล้ง) รวม 6 อำเภอ 22 ตำบล 195 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอพนมทวน อำเภอเลาขวัญ อำเภอท่าม่วง อำเภอบ่อพลอย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจาฉะเชิงเทรา ประกาศเขตฯ (ภัยแล้ง) รวม 2 อำเภอ 5 ตำบล 16 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอแปลงยาว ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยสนับสนุนการแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปภ. ได้ประสานจังหวัดเตรียมพร้อมแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วยการจัดชุดปฏิบัติการสำรวจข้อมูลสถานการณ์น้ำ ข้อมูลแหล่งน้ำและประมาณ การใช้น้ำในพื้นที่หมู่บ้านตำบล และอำเภอ โดยแยกเป็น น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงสำรวจและจัดทำบัญชีแหล่งน้ำ ควบคู่กับการปรับปรุงบัญชีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้เป็นปัจจุบัน อีกทั้งตรวจสอบภาชนะกักเก็บน้ำให้ใช้การได้เพียงพอ พร้อมกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคที่เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ตลอดจนรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนเกษตรกรให้ปรับวิถีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป