กรุงเทพฯ--3 ม.ค.--สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์
จากสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย สู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์และสังคมสูงวัยระดับสูงสุดปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) เป็นปีที่สื่อทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก ได้ให้ความสำคัญกับความเห็นของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ (Moody's) ที่ว่า จำนวนมากกว่า 60 % ของประเทศที่จัดอันดับโดยมูดี้ส์ (Moody's) จะก้าวเข้าสู่การสูงวัยอย่างเป็นทางการในปีนี้ จำนวนประเทศที่เป็นประเทศที่มีสังคมสูงวัยระดับสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเป็น 13 ประเทศในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) และ 34 ประเทศในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) จากเดิม 3 ประเทศ (ประเทศเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น) ในปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ความเห็นนี้สะท้อนถึงความกังวลในรายงานของมูดี้ส์ (Moody's) ในหัวข้อ "ประชากรสูงวัยจะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแผ่วลงในช่วง 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งสามารถติดตามได้ที่ www.moodys.com จากการอ้างอิงจากคำนิยามที่องค์การสหประชาชาติใช้บ่อยครั้ง ประชากรจะเข้าสู่การสูงวัยเมื่อ 10% ของจำนวนประชากรทั้งหมดมีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า และ 7% ของจำนวนประชากรทั้งหมดมีอายุ 65 ปีหรือมากกว่า และสังคมจะเปลี่ยนสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์เมื่อจำนวนประชากรที่มีอายุ 65 ปีหรือมากกว่า เป็นสัดส่วนที่มากกว่า 14% และสังคมสูงวัยระดับสูงสุดเป็นสัดส่วนที่มากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ถ้าลองย้อนกลับไปดูในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เมื่อจำนวนประชากรโลกที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่ามีเพียงแค่ 8% ของประชากรทั้งหมด เราต้องยอมรับว่าโลกของเรากำลังเผชิญกับอัตราการสูงวัยที่เป็นประวัติการณ์ จากการอ้างอิงจากองค์การสหประชาชาติ การสูงวัยได้เริ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วเมื่อหลายทศวรรษก่อน และกำลังเริ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศที่กำลังพัฒนาในระยะหลังมานี้
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในแถวหน้า ๆ ของประเทศรายได้ปานกลางระดับล่างที่เปลี่ยนจากสังคมที่จะก้าวเข้าสู่สังคม ผู้สูงวัยสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ในอีกไม่ถึงสิบปีข้างหน้า และจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสูงสุดในอีกประมาณ 15 ปีจากนี้ จากการอ้างอิงจากข้อมูลสมมุติฐานระดับกลางล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 10.5% ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) เป็น 13% ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เป็น 19.5% ในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) และเป็น 25.9% ในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) จากการอ้างอิงจากสำมะโนประชากรและเคหะประจำปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แห่งประเทศไทยได้จัดทำการคาดประมาณระยะเวลา 30 ปีของการเพิ่มประชากรและได้คาดประมาณว่า จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 8.5 ล้านคน หรือเทียบเป็นจำนวนประชากร 13.2% ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) เป็น 12.6 ล้านคน (19.1%) ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เป็น 17.6 ล้านคน (26.6%) ในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) และเป็น 20.5 ล้านคน (32.1%) ในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) และประเทศไทยได้ถูกจัดเป็นอันดับสองรองจากประเทศสิงคโปร์ ในบรรดากลุ่มประเทศในอาเซียน ที่มีประชากรสูงวัยสูงที่สุด
ปัจจัยขับเคลื่อนการสูงวัยของประชากร
การสูงวัยของประชากรนี้เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญของโลก ที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นอีกในไม่กี่ปีที่จะถึงนี้ และมี 2 ปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ๆ ในการเปลี่ยนสู่โลกสีเทาอย่างรวดเร็ว: การลดลงของการเกิดอย่างมากและการมีอายุยืนที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา แม้ว่าจะเกิดขึ้นในอัตราความเร็วที่ต่างกัน ยิ่งอัตราการเกิดลดลงเร็วมากเท่าไรสังคมจะยิ่งสูงวัยเร็วขึ้นมากเท่านั้น
จากข้อมูลในการแก้ไขปรับปรุงของแนวโน้มประชากรโลก ปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) ที่จัดพิมพ์โดยองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) อัตราเจริญพันธุ์รวมโลก (the world's total fertility rate: TFR) ได้ลดลงจากอัตราส่วนเด็กต่อสตรี 5.0 คน ในช่วงปี ค.ศ. 1950 - 1955 (พ.ศ. 2493 - 2498) เป็น 2.5 คน ในช่วงปี ค.ศ. 2010-2015 (พ.ศ. 2553 - 2558) อัตราเจริญพันธุ์รวมแสดงถึงจำนวนเด็กที่จะเกิดจากสตรีที่จะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ อัตราเจริญพันธุ์รวมโลกได้ถูกพยากรณ์ว่าจะตกลงถึง 2.2 คน ในช่วงปี ค.ศ. 2045 - 2050 (พ.ศ. 2588 - 2593) ภายใต้สมมุติฐานระดับกลาง ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาภาวะเจริญพันธุ์ต่ำหรืออัตราเจริญพันธุ์รวมเด็กต่อสตรี 2.0 คนหรือต่ำกว่า ได้กลายเป็นเรื่องปกติในหลายประเทศทั่วโลก จำนวนประเทศที่อัตราเจริญพันธุ์รวมเท่ากับหรือน้อยกว่าระดับทดแทนหรืออัตราเจริญพันธุ์เฉลี่ยเท่ากับเด็กต่อสตรี 2.1 คน ได้เพิ่มขึ้นจากจำนวน 22 ประเทศในปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) เป็น 70 ประเทศในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) และภายในปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) องค์การสหประชาชาติคาดว่าจะมีถึง 120 ประเทศ ที่มีอัตราการเจริญพันธุ์รวมที่ต่ำกว่าระดับทดแทน และยังคาดอีกว่าในปี ค.ศ. 2047 (พ.ศ.2590) ประชากรที่มีอายุ 60 และมากกว่าจะมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยเด็ก
ในขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์รวมในประเทศกำลังพัฒนาได้ลดลงอย่างเฉียบพลันจากเด็กต่อสตรี 6.1 คน ในช่วงปี ค.ศ. 1950 - 1955 (พ.ศ. 2493 - 2498) เป็น 2.7 คน ในช่วงปี ค.ศ. 2005 - 2010 (พ.ศ. 2548 - 2553) การแกว่งตัวขึ้นแสดงให้เห็นในระดับหนึ่งว่าอัตราการเจริญพันธุ์ในประเทศที่พัฒนาแล้วจากเด็กต่อสตรี 1.6 คน ในช่วงปี ค.ศ. 2000 - 2005 (พ.ศ. 2543 – 2548) ได้เพิ่มเป็น 1.7 คน ในช่วงปี ค.ศ. 2005 - 2010 (พ.ศ. 2548 - 2553) ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสวีเดนอัตราการเจริญพันธุ์รวมเพิ่มขึ้นจากเด็กต่อสตรี 1.52 คน ในปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) เป็น 1.57 คน ในปี 2001 (พ.ศ. 2544) และเป็น 1.94 คน ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ถึงอย่างไรก็ตามอัตราการเจริญพันธุ์รวมในประเทศที่กำลังพัฒนาถูกคาดว่าจะลดลงอีกจนถึงอัตราเด็กต่อสตรี 2.3 คน ในช่วงปี ค.ศ. 2045 - 2050 (พ.ศ. 2588 - 2593) และในขณะเดียวกันสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราเด็กต่อสตรีที่ 1.9 คน
จากการอ้างอิงจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. 2010 - 2040 (พ.ศ. 2553 - 2583) โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัตราการเจริญพันธุ์รวมในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเด็กต่อสตรี 5.1 คน ในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) เป็น 1.6 คน ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และคาดประมาณว่าจะลดลงอีกจนถึง 1.55 คน ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) 1.43 คน ในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) และถึง 1.30 ในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583)องค์การสหประชาชาติ ได้สังเกตเห็นถึงแนวโน้มที่ผู้คนทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีอายุยืนขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเป็นวิธีการวัดว่า คนจะมีอายุนานเท่าไรเมื่อนับตั้งแต่เกิด ในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่พัฒนาแล้วตั้งแต่เกิดโดยเฉลี่ยจะมีอายุจนถึงอายุ 65 ปี อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ถูกประมาณการว่าจะเพิ่มจากอายุ 65 ปี โดยเฉลี่ยในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เป็นอายุ 78 ปี ในช่วงปี ค.ศ. 2010 - 2015 (พ.ศ. 2553 - 2558) และได้ถูกคาดประมาณล่วงหน้าว่าจะเพิ่มเป็นอายุ 83 ปี ในช่วงปี ค.ศ. 2045 - 2050 (พ.ศ. 2588 - 2593)
จากผลสำรวจต่าง ๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในช่วงปี ค.ศ. 1964 - 2005 (พ.ศ. 2507 - 2548) อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประเทศไทยสำหรับประชากรชายคือ 55 ปี และสำหรับประชากรหญิงคือ 62 ปี การคาดประมาณประชากรสำหรับประเทศไทยในช่วงปี 2010 - 2040 (พ.ศ. 2553 - 2583) ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชี้ว่า อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประเทศไทยสำหรับประชากรชายจะเพิ่มขึ้นจากอายุ 70 ปี และสำหรับประชากรหญิงจากอายุ 77 ปี ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) เป็นอายุ 75 ปี สำหรับประชากรชาย และอายุ 82 ปี สำหรับประชากรหญิงในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583)
ความมั่นคงยามชรา
ดัชนี "โกลบอล เอจวอทช์ อินเด็กซ์" (Global AgeWatch Index) ประจำปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศหรือ "เฮลป์เอจ อินเตอร์เนชันแนล" (Help Age International) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดอันดับ 96 ประเทศ ดังตัวชี้วัด 13 ประการ ที่จัดกลุ่มอยู่ใน 4 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย การสร้างความมั่นคงทางรายได้ สถานะด้านสุขภาพ ศักยภาพ (ด้านการงานและการศึกษา) และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ดัชนีนี้ได้เกิดขึ้นจากดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) และดัชนีการสูงวัยอย่างมีพลัง (Active Aging Index) ในขณะที่ดัชนีอื่น ๆ ข้อมูลจะมาจากทางธนาคารโลก (World Bank) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) สถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลสุขภาพ (Institute for Health Metrics and Evaluation) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) และฐานข้อมูลแกลลัปโพลล์โลก (the Gallop World Poll database) ดัชนีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงว่า ประเทศใดที่ได้พยายามที่จะใส่ใจประชากรสูงวัยอย่างดีที่สุด และแสดงให้เห็นถึงว่าการดำเนินงานมีส่วนเชื่อมโยงกับนโยบายในด้านเงินบำนาญ สุขภาพ การจ้างงาน การศึกษาและสภาพแวดล้อมทางสังคมของผู้สูงวัยอย่างไร
ความมั่นคงทางรายได้ (Income Security) ประกอบไปด้วย 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (ก) การคุ้มครองรายได้เงินบำนาญ(pension income coverage) (ข) อัตราความยากจนในผู้สูงวัย (poverty rate in old age) (ค) สวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย (relative welfare of older people) และ (ค) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per capita) สถานะสุขภาพมาจาก 3 ตัวชี้วัดโดยตรงจากสุขภาพส่วนบุคคล เช่น (ก) อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี (ข) อายุคาดหมายเฉลี่ยสุขภาพที่ดีเมื่ออายุ 60 ปี (ค) คุณภาพชีวิตที่ดีที่เกี่ยวกับทางด้านจิตใจ ความสามารถด้านความรู้และการงานถูกใช้วัดแทนศักยภาพส่วนบุคคล รวมถึง (ก) การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานของผู้สูงวัยที่กล่าวถึง คือ สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 55 - 64 ที่ถูกจ้างงาน (ข) การสำเร็จของการศึกษา ที่กล่าวถึง คือ สัดส่วนของประชากรที่มีที่อายุเกิน 60 ปีที่มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่า ในขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (enabling environment) ได้ใช้ตัวชี้วัดจากลักษณะเฉพาะที่เอื้ออำนวยของชุมชนที่ผู้สูงวัยอาศัยอยู่ ที่ให้ความสำคัญโดยตัวของผู้สูงวัยเอง ประกอบด้วย (ก) การเชื่อมโยงทางสังคม (social connections) ที่กล่าวถึงคือ เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีที่ตอบว่า "ใช่" ในคำถามสำรวจที่ถามว่า "คุณมีญาติหรือเพื่อนที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทุกเมื่อหรือไม่เมื่อคุณมีปัญหา?" (ข) ความปลอดภัยทางกายภาพ (physical safety) ที่กล่าวถึงคือ เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีที่ตอบ "ใช่" ในคำถามสำรวจที่ถามว่า "คุณรู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินตอนกลางคืนคนเดียวในเมืองหรือในพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่หรือไม่?" (ค) เสรีภาพของพลเมือง (civic freedom) ที่กล่าวถึงคือ เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีที่ตอบในเชิงบวกในคำถามสำรวจที่ถามว่า "คุณรู้สึกพึงพอใจต่อเสรีภาพในการเลือกว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรในประเทศนี้หรือไม่" และ (ง) การเข้าถึงการขนส่งสาธารณะ (access to public transport) หรือเปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีที่ตอบในเชิงบวกในคำถามสำรวจที่ถามว่า "คุณพึงพอใจต่อระบบการขนส่งสาธารณะในเมืองหรือพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่หรือไม่?"
จากทั้งทั่วโลกประเทศนอร์เวย์ได้อันดับสูงสุดในดัชนีในปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) และตามมาติด ๆ โดยประเทศสวีเดนที่เป็นประเทศที่ได้อันดับที่หนึ่งของสุขภาพที่ดีของผู้สูงวัยในระดับโลกในปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ.2556) ประเทศนอร์เวย์ได้ถูกจัดอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน รวมถึงอันดับหนึ่งด้านความมั่นคงทางรายได้ที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per capita) ที่สูงที่สุด จากข้อคิดเห็นของนาย กุสตาโว ซูกาฮาร่า (Mr.Gustavo Sugahara) นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านความสูงวัยทั่วโลก เกี่ยวกับการจัดอันดับของแต่ละด้านของประเทศนอร์เวย์ใน ดัชนี "โกลบอล เอจวอทช์ อินเด็กซ์" (Global AgeWatch Index) ประจำปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ที่ว่าการคุ้มครองเงินบำนาญสากลของประเทศนอร์เวย์และมูลค่าเพิ่มของสิทธิต่าง ๆ มีผลทำให้เกิดความมั่นคงทางรายได้ในระดับที่สูงของชาวนอร์วีเจียนสูงวัย นี่เป็นกรณีที่ถึงแม้จะเป็นผลกระทบระยะยาวจากการปฏิรูปเงินบำนาญที่ถูกนำเสนอในปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) จะยังไม่ชัดเจนนัก จนกระทั่งตอนนี้การพัฒนาในเชิงบวกที่มากที่สุดคือ การเพิ่มขึ้นระดับของคะแนนบำนาญที่ผู้บริการดูแลได้รับ กองทุนบำนาญของรัฐบาลระดับโลกหรือ (Government Pension Fund Global) วิธีปฏิบัติระหว่างประเทศที่ดีที่สุดในการจัดการรายได้เป็นหนึ่งในกองทุนความมั่งคั่งอธิปไตยใหญ่ที่สุดในโลก รายได้จากภาคน้ำมันของประเทศนอร์เวย์ได้ถูกจัดสรรไปยังกองทุนนี้และได้ถูกลงทุนทั่วโลกเพื่อสร้างรายได้ ประเทศนอร์เวย์ ได้ถูกจัดอันดับเป็นที่หนึ่งในด้านศักยภาพ (capability domain) ที่มีอัตราการจ้างงานในกลุ่มผู้สูงวัยที่สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยในภูมิภาคโดยประมาณ 15% (70.9%) และยังมีอัตราการสำเร็จการศึกษา (education attainment) ในกลุ่มผู้สูงวัยที่สูงที่สุด (99.4%) และได้ถูกจัดในอันดับอยู่อันดับที่ 4 ในด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (enabling environment domain) กับอัตราความเข้าใจของความปลอดภัย (perception of safety) (86%) และเสรีภาพของพลเมืองที่สูง (civic freedom) (96%) ในกลุ่มผู้สูงวัย แต่ด้านสุขภาพได้ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่า (16) และมีค่าเฉลี่ยของอายุคาดหมายเฉลี่ย (life expectancy) และอายุคาดหมายเฉลี่ยที่มีสุขภาพที่ดีเมื่ออายุ 60 ปีที่ต่ำกว่าระดับภูมิภาคเพียงเล็กน้อย ชาวนอร์วีเจียนได้ถูกแนะนำ ให้ไม่ควรไม่ใส่ใจระบบสาธารณสุขที่ดี
ในบรรดากลุ่มสมาชิกประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีจำนวน 6 ประเทศที่ได้จัดอยู่ในดัชนี "โกลบอล เอจวอทช์ อินเด็กซ์" (Global AgeWatch Index) ประเทศเหล่านั้นประกอบไปด้วย ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม จากดัชนี "โกลบอล เอจวอทช์ อินเด็กซ์" (Global AgeWatch Index) ประจำปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ประเทศไทยได้ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ดีที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีรายได้ปานกลางระดับล่างสำหรับผู้สูงวัย และอยู่ระดับปานกลางบนดัชนีในอันดับที่ 36 ต่อจากประเทศลัทเวีย
จากความเห็นของนายสว่าง แก้วกันทา ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ เกี่ยวกับการจัดลำดับในแต่ละด้านของประเทศไทยในดัชนี "โกลบอล เอจวอทช์ อินเด็กซ์"(Global AgeWatch Index) ประจำปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ประเทศไทย ได้ถูกจัดอยู่ในระดับปานกลางที่มีด้านความมั่นคงทางรายได้ในอันดับที่ 58 ที่มีอัตราความยากจนของผู้สูงวัยที่สูง (28%) นี่คือส่วนที่เป็นความคืบหน้าในการดำเนินการ 4 นโยบาย และกฎหมายระดับชาติที่สำคัญที่ตั้งเป้าหมายที่ความปลอดภัยทางรายได้ของกลุ่มผู้สูงวัย รวมถึงรัฐธรรมนูญของประเทศไทย นโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับแผนเงินบำนาญสังคม พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ฉบับแก้ไข ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ปี ค.ศ. 2002 - 2021) (พ.ศ.2545 - 2564) ข้อกังวล ส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องความเพียงพอและคาดการณ์ได้มากกว่าความครอบคลุมของเงินบำนาญของผู้สูงวัย และยังได้มีการพัฒนา ในสถานะสุขภาพอีก ถึงแม้ว่าประเทศไทยถูกจัดอยู่ในระดับปานกลางในด้านสุขภาพ (41) ก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ ระดับภูมิภาค ในขณะที่ด้านที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดก็คือ ด้านศักยภาพ (73) ถึงแม้ค่าบ่งชี้การจ้างงานจะสูง (72.5%) แต่ว่าอัตราการสำเร็จการศึกษาของผู้สูงวัยเป็นหนึ่งในประเทศที่ต่ำที่สุดของภูมิภาค (9.1%)
ความท้าทายของประชากรสูงวัย
ตัวบ่งชี้ของการสูงวัยของประชากรที่รวดเร็ว ได้แก่ รายงานของมูดี้ส์ (Moody's) ที่กล่าวถึงดังข้างต้น ได้สะท้อนถึงความกังวลเรื่องความท้าทายเรื่องความน่าเชื่อถือที่รัฐบาลและบริษัทจะต้องเผชิญในโลกที่เข้าสู่การสูงวัยนี้ และได้กล่าวว่า "การปันผลทางประชากรที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจในอดีตจะเปลี่ยนเป็นภาษีประชากร ที่จะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจช้าในเกือบทุก ๆ ประเทศทั่วโลกในที่สุด"
ความเห็นข้างต้นเกี่ยวกับดัชนี "โกลบอล เอจวอทช์ อินเด็กซ์" (Global AgeWatch Index) ประจำปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ชี้ว่าเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วดูดีขึ้นในที่ที่ดีสำหรับการสูงวัย และเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาการสูงวัย ถือว่าค่อนข้างซับซ้อนเพราะในขณะที่ประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็วแต่ว่ารายได้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ หนึ่งในความล้มเหลวที่คาดการณ์ ได้เป็นผลมาจากการสูงวัยอย่างรวดเร็วของประชากรในเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา รวมถึงความกดดันที่เพิ่มมากขึ้นในส่วนของสถานบริการสาธารณสุข ในประเทศที่มีเศรษฐกิจรายได้ปานกลางระดับล่างอย่างประเทศไทยเป็นต้น อัตราการสูงวัยที่รวดเร็วของประชากรที่เข้าสู่สังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย สู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ บวกกับอัตราการเกิดที่ต่ำทำให้แรงงานหดตัวลง จะทำให้มีแนวโน้มที่จะขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว อัตราเจริญพันธุ์รวมในผู้หญิงไทยในขณะนี้ยังต่ำกว่าระดับทดแทน ถ้าเทียบจากประสบการณ์ของประเทศอื่น ๆ ที่เคยมีอัตราเจริญพันธุ์รวมที่ต่ำ การที่อัตราเจริญพันธุ์รวมของประเทศไทยที่จะเพิ่มมากกว่าระดับทดแทนภายใน 10 หรือ 20 ปีข้างหน้านี้น่าจะเป็นไปไม่ได้ จากการคาดประมาณจำนวนประชากรของประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. 2010 – 2040 (พ.ศ. 2553 - 2583) โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่า จำนวนประชากรไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 63.8 ล้านคนในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และแตะระดับสูงสุดที่ 66.2 ล้านคนในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) และจากนั้นจะลดลงเป็น 63.8 ล้านคนอีกครั้งในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583)
จากการอ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นขนาด 2.5 เท่า จาก 8.4 ล้านคนในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) เป็น 20.5 ล้านคนในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) ในขณะที่ประชากรที่มีอายุมากกว่า 70 ปีและ 80 ปีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า และประชากรผู้ที่สูงวัยมากสุดจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหนึ่งในสี่ การเปลี่ยนผ่านประชากรอาจถูกคาดได้ว่า จะมีผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงยามชรา ภายในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) อัตราส่วนภาวะต้องพึ่งพิงคาดว่าจะเป็น 58.3% สื่อว่าอัตราส่วนคือ ประชากรวัยทำงาน 2 คนต่อการดูแลประชากรสูงวัย 1 คน เมื่อเทียบกับ 7 คนในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ถ้าไม่มีนโยบายที่คิดขึ้นใหม่ประเทศไทยจะต้องรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากรดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศจะต้องเผชิญกับ (ก) การเติบโตของเศรษฐกิจที่ช้าลง (ข) แรงงานที่ลดลงอยู่เรื่อยๆ (ค) การเกิดของการละเลยผู้สูงวัยที่มากขึ้น ถ้าประชากรชาวไทยมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้และมีอัตราการออมที่ต่ำ รัฐบาลไทยควรจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความมั่นใจว่าประชากรไทย จะมีความพร้อมทางด้านการเงินสำหรับช่วงสูงวัย ส่งเสริมการออมภาคครัวเรือนและสร้างประกันสังคมช่วงสูงวัย สภาพแวดล้อมทางการเงินที่ดีและการจัดการทางการเงินที่ดีจำเป็นที่จะต้องถูกจัดให้เหมาะ เพื่อกระตุ้นการออมภาคครัวเรือน