ไอบีเอ็มรั้งผู้นำสิทธิบัตรสหรัฐฯ ต่อเนื่อง 27 ปี ชูผลงานนวัตกรรมเอไอ บล็อกเชน คลาวด์ ควอนตัมคอมพิวติ้ง และซิเคียวริตี้

ข่าวเทคโนโลยี Thursday January 23, 2020 13:28 —ThaiPR.net

ไอบีเอ็มรั้งผู้นำสิทธิบัตรสหรัฐฯ ต่อเนื่อง 27 ปี ชูผลงานนวัตกรรมเอไอ บล็อกเชน คลาวด์ ควอนตัมคอมพิวติ้ง และซิเคียวริตี้ กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--IBM Thailand ในปี 2562 นักวิจัยของไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฯ มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 9,262 ฉบับ ถือเป็นบริษัทสหรัฐฯ ที่ได้รับสิทธิบัตรมากที่สุด และส่งผลให้บริษัทครองตำแหน่งผู้นำสิทธิบัตรต่อเนื่องเป็นปีที่ 27 ครอบคลุมเทคโนโลยีสาขาสำคัญต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) บล็อกเชนลาวด์ ควอนตัมคอมพิวติ้ง และซิเคียวริตี้ - ไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรด้านเอไอมากกว่า 1,800 ฉบับ โดยหนึ่งในนั้นคือวิธีการสอนให้ระบบเอไอเข้าใจและสามารถแยกแยะความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ และความหมายโดยนัยของข้อความหรือวลีบางคำผ่านการวิเคราะห์เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังเป็นผู้นำสิทธิบัตรด้านบล็อกเชน ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตรหลายฉบับที่ได้จากการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายบล็อกเชน โดยหนึ่งในเทคนิคที่ได้รับสิทธิบัตรคือ การช่วยต่อต้าน "การโจมตีด้วยการส่งข้อมูลซ้ำ" (Replay Attack) ซึ่งเป็นลักษณะที่ผู้โจมตีคัดลอกและใช้ข้อมูลลายมือชื่อจากธุรกรรมรายการหนึ่งบนบล็อกเชน เพื่อทำธุรกรรมอื่นบนบล็อกเชนในภายหลังทั้งที่ไม่ได้รับอนุญาต - นักวิจัยของไอบีเอ็มยังได้รับสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์กว่า 2,500 ฉบับ ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตรเกี่ยวกับวิธีการจัดการร่วมกันระหว่างแพลตฟอร์มการประมวลผลทั้งในและนอกระบบคลาวด์ ด้วยวิธีการทำงานร่วมกับพอร์ทัลแบบรวม จึงทำให้เทคนิคนี้ได้รับงานและคำขอทั้งในและนอกระบบคลาวด์เข้ามา จากนั้นจึงทำการจัดระบบและช่วยลดขั้นตอนของงานและคำขอดังกล่าว และช่วยให้องค์กรสามารถย้ายสู่แพลตฟอร์มคลาวด์แบบไฮบริดได้อย่างง่ายดาย - โปรแกรมควอนตัมคอมพิวติ้งของไอบีเอ็มยังคงเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปี 2562 ซึ่งครอบคลุมถึงนวัตกรรม อาทิ การกำหนดขนาดของคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อรองรับคิวบิทเพิ่มเติม รวมทั้งช่วยให้สามารถสร้างวิธีการในการจำลองโมเลกุลที่ก้าวล้ำ - ในบรรดาสิทธิบัตรด้านซิเคียวริตี้ที่ไอบีเอ็มได้รับในปี 2562 ยังครอบคลุมถึงการบุกเบิกการเข้ารหัสแบบโฮโมมอร์ฟิค (Homomorphic Encryption) ซึ่งเป็นเทคนิคที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับข้อมูลที่เข้ารหัสโดยไม่จำเป็นต้องถอดรหัสนั้นก่อน ไอบีเอ็มยังได้รับสิทธิบัตรเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการบนพื้นฐานของลายมือชื่อสำหรับฟังก์ชันการเข้ารหัสข้อความแบบโฮโมมอร์ฟิค ซึ่งช่วยให้มั่นใจในเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล "ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ การประมวลผลแบบคลาวด์ หรือควอนตัมคอมพิวติง ทั้งหมดนี้จะนำสู่การแก้ไขปัญหาท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ธุรกิจและสังคมของเรากำลังเผชิญอยู่" นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว "วันนี้ธุรกิจทั่วโลกในเกือบทุกอุตสาหกรรม ใช้เทคโนโลยีของไอบีเอ็มเพื่อรองรับแอพพลิเคชันสำคัญต่างๆ และเพื่อการสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ไอบีเอ็มมีความภูมิใจที่ในวันนี้ บุคลากรของเราได้มีส่วนร่วมในการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงโลกและประเทศของเรา" นับแต่ปี พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา ไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฯ มาแล้วมากกว่า 140,000 ฉบับ โดยสิทธิบัตรต่างๆ ที่ไอบีเอ็มได้รับในปีนี้ เป็นผลจากการมีส่วนร่วมของนักวิจัยไอบีเอ็มกว่า 8,500 คน ที่อยู่ใน 54 ประเทศ หมายเหตุ: ข้อมูลสิทธิบัตรประจำปี 2019 จาก IFI CLAIMS Patent Services (http://www.ificlaims.com)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ