กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธุรกิจบัณฑิตย์ ตอบโจทย์ สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์คนรุ่นใหม่สู่ สมาร์ท ซิติเซ่น เร่งปรับเปลี่ยนทักษะเพื่อให้เท่าทันเทคโนโลยี และก้าวเป็นกำลังสำคัญให้กับตลาดแรงงานในอนาคต
เด็กรุ่นใหม่ต้องเตรียมตัวอย่างในในสภาวะที่การแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติคนว่างงานเป็นกว่าแสนคนต่อปี ผู้ประกอบการมีโอกาสเลือกเยอะ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
คนที่กำลังก้าวสู่แรงงานต้องแข่งกับคนด้วยกันเอง ทั้งยังต้องแข่งกับเทคโนโลยี ทำอย่างไรไม่ให้ตัวเองก้าวข้ามสถานการณ์นี้ได้ แล้วการแข่งขันในตลาดแรงงาน ระหว่าง "คน" กับ "เทคโนโลยี" จะเป็นอย่างไรได้บ้างในอนาคต ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดี สายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมในการสร้าง "คนเก่ง" ให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งปัจจุบันและในอนาคตเป็นแนวทางที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ
เมื่อเทคโนโลยี (Disruptive Technology) ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานอย่างมากในหลายธุรกิจ สำหรับภาคการศึกษาถึงแม้จะรับผลกระทบไม่มากเท่ากับธุรกิจแต่การเตรียมพร้อมรับมือก็เป็นเรื่องที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงเริ่มเห็นแล้วในองค์กรธุรกิจโดยได้เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงานในองค์กรเพียงบางส่วน ไปจนถึงการทดแทนการทำงานของคนอย่างสมบูรณ์แบบ
"จำนวนเด็กตกงาน เป็นเรื่องที่พอจะคาดเดากันได้ว่าในยุคของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี แต่ในมุมมองคิดว่าสถานการณ์คงไม่เร็วไปกว่านี้ ถ้าไม่มีประเด็นอื่นๆ มาส่งผล ทั้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน และปัจจัยอื่นๆ เพราะมองแล้วในอนาคต "งาน" บางอย่างจะถูกแทนที่ด้วย AI(Artificial Intelligence)"
ตัวเลขคนตกงานไม่ใช่ผลจากเทคโนโลยี หรือสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่เป็นเพียงปัจจัยเร่งให้ปฏิกิริยาให้เร็วขึ้นเห็นได้จากผลกระทบเรื่องการลงทุน จากการสู้กันเรื่องนี้ ก็ต้องดูว่าเป็นโปรดักท์อะไร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พอเกิดสงครามการค้า การค้าการลงทุนทั่วโลกกระทบ ตลาดหุ้น ค่าเงิน มองสถานการณ์แล้วผลกระทบน่ามีขึ้น 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย"
อย่างไรก็ดี ภาวะการตกงานที่เกิดขึ้นในไทย อาจเกิดได้ในสองปัจจัย อย่างแรกตามที่ได้กล่าวไว้คือผลกระทบจากสงครามการค้า อีกประเด็นน่าจะส่งผลในระยะยาวมาจาก "การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี"
แนวทางที่ DPU ให้ความสำคัญ เริ่มที่การปรับมุมมองให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการทำงานและใช้ชีวิต ทั้งปัจจุบันและอนาคต
ในอีกด้าน บทบาทของมหาวิทยาลัยก็ปรับการสอนและมองหาเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาทำให้การเรียนรู้และพัฒนาทักษะ "คนรุ่นใหม่" เหล่านี้ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต
"ทักษะไหน ฝึกเด็กออกไปแล้วจะไม่ตกงาน สิ่งที่บอกได้เลยก็คือในช่วง 5-10 ปีนี้ คือ ทักษะ โรบอท เอไอ บิ๊กดาต้า เป็นเทคโนโลยีที่เด็กรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้งานให้เป็น ถ้าทำไม่ได้ คนที่ทำได้ดีกว่าจะทำงานได้ปริมาณมากกว่า และแข่งขันได้
ตอนนี้คนจะอยู่รอดได้ต้องรู้ว่า เทคโนโลยีอะไรจะเข้ามามีบทบาทและปรับใช้เทคโนโลยีนั้นมาก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียน ทำงาน และสร้างอาชีพได้อย่างไร จากเคยใช้เวลา 10 ชั่วโมง อาจเหลือแค่ชั่วโมงเดียว ทำงานให้เร็ว และง่ายขึ้น ถ้าทำไม่ได้ ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะต่อสู้กับคนที่สร้างProductivity ได้มากกว่า"
ในแนวทางของ DPU นอกจากปรับวิธีคิดและมุมมองให้กับคนรุ่นใหม่แล้ว สิ่งสำคัญคือการสร้างกระบวนคิดและการเรียนรู้ใหม่ๆ ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอน ยกตัวอย่างให้เห็น จากเดิมที่สอนเป็นรายวิชาแบ่งเป็นหมวดหัวข้อ วันนี้การสอนตามสถานการณ์ และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเทคโนโลยีเข้าไป เน้นกระตุ้นให้เกิดการสร้าง Innovation และ Technology เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ได้มองเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจได้ตั้งแต่ยังเรียน
"ทุกอย่างฝึกให้คิดและลงมือทำจริง เช่นใน Capstone Class จะมีหัวข้อให้นักศึกษาได้เลือกทำ และผลักดันเป็นโครงงานของตัวเองแล้วต่อยอดให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปร่างขึ้นมา
คนเหล่านี้ที่ถูกฝึกการใช้เทคโนโลยี utilize technology ได้ง่ายกว่า คนต้องฝึกให้เรียนรู้กับเทคโนโลยี เทคโนโลยีมีอะไรบ้าง ความคล่อง ความชาญฉลาด ต้องกำหนดว่า skill set ที่ต้องการคืออะไร Critical thinking เป็นเป้าหมายที่เราต้องการ ความสามารถในการสร้างคอนเนคชั่น การทำงานเป็นทีม ทักษะพวกนี้ สร้างยากเพราะไม่เกิดจากการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียวได้"
ดร.พัทธนันท์ กล่าวว่า ในกระบวนคิดของมหาวิทยาลัยที่ว่า ถ้าผลิตคนออกมาในชุดความรู้แบบเดิม จบออกไปก็ไม่ใช่ทักษะแรงงานที่จะเป็นกำลังหลักของแรงงานในอนาคตได้ นอกจากที่กล่าวมา ทักษะสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ ความชาญฉลาดในการเลือกใช้เทคโนโลยี เพื่อทำให้งานเกิดProductivity ได้มากที่สุด ใช้เวลาเท่าเดิม แต่ได้งานมากขึ้น ซึ่งคนที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีมาเป็นอาวุธให้เพื่อให้เราทำงานได้เร็วขึ้น ชาญฉลาดมากขึ้น
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า การเป็นมหาวิทยาลัยยืนหนึ่งเรื่องธุรกิจของ DPU กับ การสร้างแนวคิด ทักษะที่จำเป็น การรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่เปรียบเป็นอาวุธสำคัญสำหรับการทำงานยุคใหม่ในแบบที่รบชนะได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้