กยท. แจง สร้างถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ ตามคู่มือปฏิบัติงานฯ ประกาศโดย กษ. ตามหลักเกณฑ์และข้อแนะนำ จาก ก.คมนาคม

ข่าวทั่วไป Friday February 28, 2020 15:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.พ.--การยางแห่งประเทศไทย การยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงการสร้างถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ตามคู่มือปฏิบัติงานฯ ที่ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะพิจารณารับรองคุณภาพน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่มที่ใช้ทำถนนเท่านั้น โดยไม่ระบุสูตรน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่ม เพียงแต่ให้ผ่านเกณฑ์กำหนดของคู่มือปฏิบัติงานฯ เท่านั้น นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อแก้ไขราคายางตกต่ำ และเพื่อยกระดับราคายางพารา ในการดำเนินการทำถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมขาติ เพื่อใช้แทนถนนลูกรังในชนบททั่วประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม สำหรับการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ เพื่อให้การพิจารณารับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม สำหรับการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ เป็นไปตามคู่มือปฏิบัติงานฯ ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นคู่มือปฏิบัติงานฯ ที่จัดทำโดยกระทรวงคมนาคม หน่วยงานกลางในเรื่องการสร้างถนน การจัดตั้งคณะกรรมการฯ เป็นการดำเนินการตามคำแนะนำของคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการของกรมบัญชีกลาง ประกอบด้วยนักวิชาการวิศวกรรมจากหน่วยงานราชการ เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมทหารช่าง เป็นต้น เพื่อรับรองคุณภาพน้ำยางที่จะใช้ผสมกับยางพาราเพื่อนำมาทำถนน ซึ่งเป็นเพียงคำแนะนำให้แก่หน่วยงานที่จะดำเนินการสร้างถนน นางณพรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การยางแห่งประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณารับรองมาตรฐานฯ และคณะอนุกรรมการพิจารณาการรับรองมาตรฐาน โดยจะพิจารณารับรองมาตรฐานและคุณภาพวัสดุน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม ในด้านสมบัติทางกายภาพและเคมี รวมทั้งสมบัติเชิงวิศวกรรมจากก้อนตัวอย่างดินซีเมนต์ผสมยางพารา ตามคู่มือปฏิบัติงานฯ ข้างต้น โดยไม่ระบุสูตรน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่ม เพียงแต่ให้ผ่านเกณฑ์กำหนดของคู่มือปฏิบัติงานฯ เท่านั้น ในส่วนการดำเนินการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ จะมีความแข็งแรงหรือทนทานตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ 1. วัสดุที่ใช้ต้องได้มาตรฐาน 2. การควบคุมคุณภาพในการก่อสร้างถนน 3. ขั้นตอนการทำถนนต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นถนนเส้นใดสายใดเสียหายก่อนครบสัญญาจ้าง อาจเกิดจากการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามขั้นตอนในคู่มือปฏิบัติงานฯ ไม่ใช่เกิดจากคุณภาพน้ำยางเพียงอย่างเดียว สำหรับการจัดจ้างก่อสร้างถนนยางพาราซอยซีเมนต์เป็นการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ ผู้มีอำนาจลงนามจะเป็นหัวหน้าหน่วยงานแต่ละหน่วย ไม่เกี่ยวข้องกับระดับนโยบาย ดังนั้น หากพบว่าหน่วยงานใดทุจริต สามารถส่งหลักฐานให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ดำเนินการตรวจสอบต่อไป โครงการถนนพาราซอยซีเมนต์ เป็นนโยบายที่ใช้ในการแก้ปัญหาราคายางสนับสนุนให้เกิดการใช้ยางพาราในประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยให้ได้รับประโยชน์โดยตรง cof cof

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ