กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--บียอนด์ โซลูชันส์
เปิดมิติใหม่แห่งนวัตกรรมเพื่อปฏิรูปผลิกโฉมกระบวนการแสดงความคิดเห็นร่างกฎหมายพัฒนาแพลตฟอร์ม การแสดงความคิดเห็นด้านกฎหมายให้ทันสมัยและนำไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมมือกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)(สพร.) จัดงาน "Law ฟัง YOU" เพื่อให้ภาคประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการแสดงความคิดเห็นทางกฎหมายใหม่ที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกเพศ ทุกวัย อัน เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการผ่านร่างกฎหมายของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย
ด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 6 แนว นโยบายแห่งรัฐ มาตรา 77 ความตอนหนึ่งว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟัง ความคิดเห็นและ การวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน”
การร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เพื่อให้เกิดการดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย พ.ศ. 2562 อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายเชื่อมโยงในลักษณะของระบบกลาง เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางด้านกฎหมายของประเทศ รวมถึงเป็นช่องทางสำหรับรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายด้วย ซึ่งช่องทางนี้จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ในการมีส่วนร่วมและติดตามตรวจสอบการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของประเทศได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ริเริ่มช่องทางกลางสำหรับการแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อร่าง กฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ www.Krisdika.go.th แต่ช่องทางดังกล่าวยังไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อให้ช่องทางดังกล่าวมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานในวงกว้างมากยิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลจัดงาน LAW ฟัง YOU เปิดโอกาสให้ ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาชาอาชีพได้มาเสนอแนวคิดและนวัตกรรมเพื่อผลิกโฉมปฏิรูประบบการแสดงความคิดเห็นร่างกฎหมายให้ทันสมัยและนำไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ผ่านกระบวนการการ ออกแบบ User Experience ที่เน้นผู้ใช้งานเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านกฎหมาย ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม มาให้ความรู้เพื่อต่อยอดพัฒนาแนวคิดของผู้เข้าร่วมงานให้สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้อย่างยั่งยืน
นับว่าเป็นอีกก้าวสำคัญของภาครัฐที่พร้อมเปิดรับความคิดเห็นและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในกระบวนการออกกฎหมาย โดยอาศัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใน การผลักดันในประเทศไทยเข้าสู่สังคมดิจิทัลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐรวมถึงสามารถแสดงความ คิดเห็น และใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
About Us
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการกฤษฎีกา สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีความรับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการพัฒนากฎหมายและศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย ช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการร่างกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีภารกิจเกี่ยวกับการจัดทำกฎหมาย การใช้กฎหมายและการพัฒนากฎหมายให้ถูกต้อง สร้างความเป็นธรรมและส่งเสริมการพัฒนาประเทศและประโยชน์สุขของประชาชน
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) หรือ สพร. เป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล ทำหน้าที่ให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์ในการ พัฒนา บริหารจัดการ และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบการให้ บริการหรือ แอปพลิเคชันพื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลดิจิทัล ส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทะเบียนข้อมูลดิจิทัลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนและในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการจัดทำกรอบการจัดสรรงบประมาณ บูรณาการประจำปีที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านรัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและแผนระดับชาติที่เกี่ยวกับรัฐบาลดิจิทัล (กฎหมาย)