มาสเตอร์การ์ดชี้ เงินมีส่วนแต่ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงผันตัวเป็นเจ้าของธุรกิจ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 9, 2020 10:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค บทความโดย จูเลียน โลห์ รองประธานกรรมการบริหารความร่วมมือระหว่างองค์กร ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด สังคมในปัจจุบันเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงโอกาสนั้นได้ แม้ว่าจำนวนของนักธุรกิจหญิงทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา 1 แต่การเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการสร้างธุรกิจของตัวเอง อาทิ เงินทุน ระบบโลจิสติกส์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้หญิง และยังแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ มาสเตอร์การ์ดต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนผู้หญิงที่ต้องการประกอบธุรกิจส่วนตัว และช่วยให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้มาสเตอร์การ์ดพยายามหาข้อมูลเชิงลึกและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของผู้หญิงทั่วโลกและได้จัดทำดัชนีผู้ประกอบการสตรีขึ้น ล่าสุดมาส เตอร์การ์ดได้เปิดเผยรายงานดัชนีผู้ประกอบการสตรีประจำปี พ.ศ. 2562 2 (Mastercard Index of Women Entrepreneurs; MIWE) ซึ่งเป็นผลสำรวจที่รวบรวมข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ในระดับนานาชาติ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของนักธุรกิจหญิงและเจ้าของธุรกิจหญิงใน 58 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 80% ของแรงงานหญิงทั่วโลก จากการประมวลผลข้อมูลในปีที่ผ่านมา พบว่าการมีฐานรายได้สูงและสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้หญิงผันตัวเป็นเจ้าของธุรกิจเสมอไป แต่เป็นเพราะสภาวะแวดล้อมทางสังคม การมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ หรือค่านิยมทางสังคม การเติบโตด้านเศรษฐกิจอาจไม่ใช่ทุกอย่าง การอาศัยอยู่ในประเทศที่มีฐานรายได้สูงและมีความเจริญทางเศรษฐกิจนับว่ามีส่วนกระตุ้นให้ผู้หญิงอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผลสำรวจพบว่า หนึ่งในสามของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งติดอันดับ 20 ประเทศที่ส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีนั้น เป็นประเทศที่มีฐานรายได้สูงและเป็นประเทศที่เจริญแล้ว อาทิ ไต้หวัน สิงคโปร์ และฮ่องกง โดยประเทศเหล่านี้มีระบบการศึกษา การจัดการสินทรัพย์ทางการเงินและสภาพแวดล้อมโดยรวมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจที่ดีกว่าประเทศที่มีฐานรายได้ต่ำ?แต่อย่างไรก็ตาม รายได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการผันตัวเป็นนักธุรกิจหญิงเท่านั้น จะเห็นได้จากผลสำรวจถึงแม้ว่า ประเทศไทย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม จะไม่ได้เป็นประเทศที่มีฐานรายได้สูง แต่กลับได้คะแนนเกณฑ์การสนับสนุนนักธุรกิจหญิงที่สูงจากผลสำรวจ MIWE ในขณะที่ประเทศที่มีฐานรายได้สูงและเจริญแล้วอย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้คะแนน สำหรับเกณฑ์การสนับสนุนนักธุรกิจหญิงค่อนข้างต่ำ (ติดอันดับที่ 36 และ 46 ตามลำดับ) เหตุผลในการเริ่มต้นธุรกิจ: ความแตกต่างระหว่างโอกาสและความจำเป็น ผู้หญิงเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองด้วยผลเหตุมากมายที่แตกต่างกันออกไป หนึ่งในนั้น คือ โอกาส (Opportunity) ผู้หญิงกลุ่มนี้รู้ว่าอยากจะพัฒนาธุรกิจหรืออุตสาหกรรมไปในทิศทางใดและมั่นใจว่าตัวเองสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ทั้งยังต้องการอิสระในการทำงาน และบางรายต้องการเพิ่มรายได้หรือเพิ่มสถานะทางการเงินของตนเอง ซึ่งความตั้งใจเหล่านี้มากพอที่จะทำให้ผู้หญิงกลุ่มนี้ก้าวข้ามผ่านความกลัวต่อความล้มเหลวในการทำธุรกิจ (Fear of Failing Rate) และคอยมองหาช่องทางเพื่อประกอบธุรกิจของตนเอง อย่างประเทศเวียดนามแ ละออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราความกลัวต่อความล้มเหลวสูง (46.6% และ 41.4% ตามลำดับ) แต่กลับมีอัตราส่วนของนักธุรกิจหญิงสูง (27.0% และ 30.9% ตามลำดับ) อีกหนึ่งแรงผลักดันคือ ความจำเป็น (Necessity) หากสถานที่ทำงานเดิมไม่มีการส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการทำงาน และผลตอบแทนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต หรือการศึกษาความรู้ความสามารถที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวอาจทำให้พวกเธอประสบความสำเร็จมากกว่า แต่ในทางกลับกันหากหน้าที่การงานตอบโจทย์ ทั้งเงินเดือนและสวัสดิการที่ดีพอ ความคิดที่จะเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวของผู้หญิงอาจดูไกลออกไป โดยเฉพาะถ้าการเริ่มต้นธุรกิจนั้นๆ จะต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ที่ตัวเองไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ การกู้ยืมเงิน หน่วยชี้วัดความสามารถของผู้หญิงในการขึ้นเป็นนักธุรกิจชั้นนำ บุคลากรเฉพาะทาง ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนร่วมในตลาดแรงงานชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นำโดย 4 ประเทศที่ติด 10 อันดับประเทศ จากการจัดอันดับทั่วโลกในกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (ติดอันดับที่ 1) ไทย (4) เวียดนาม (7) และ นิวซีแลนด์ ค่านิยมทางสังคม: ดาบสองคมที่ทั้งสร้างและทำลาย เป็นที่รู้กันดีว่าความเหลื่อมล้ำทางเพศยังมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การเข้าถึงบริการทางการเงิน บทบาทหน้าที่ในที่ทำงาน และอีกมากมายที่ผู้หญิงได้รับโอกาสน้อยกว่าผู้ชาย จากผลการสำรวจพบว่า ประเทศที่มีค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สนับสนุนให้ผู้หญิงทำงานและมีความฝัน ถึงแม้ว่าประเทศเหล่านั้นจะส่งเสริมการประกอบธุรกิจส่วนตัวและสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายก็ตาม แต่ผู้หญิงเหล่านั้นก็ไม่คิดที่จะทำธุรกิจเป็นของตัวเองหรือแม้กระทั่งทำงานในตำแหน่งระดับผู้บริหาร ทั้งนี้เกิดจากความกลัวต่อความล้มเหลวในการทำธุรกิจที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากค่านิยมทางวัฒนธรรมและกฎระเบียบดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อด้านการทำธุรกิจ มีสัดส่วนของนักธุรกิจที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับมีสัดส่วนของนักธุรกิจหญิงเพียง 7%เท่านั้น จากข้อมูลดังกล่าว เราจะช่วยเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง จากข้อมูลทั้งหมด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจก็คือ ปัจจัยด้านการเงิน เพราะการเข้าถึงบริการทางเงินช่วยให้ผู้หญิงสามารถเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองและมีอิสระต่อชีวิตของตัวเองมากขึ้นไม่ว่าพวกเธอจะอาศัยอยู่ที่ใดก็ตาม ผู้ตั้งกฎระเบียบของสังคมควรนึกถึงสตรีเสมอเพื่อให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในสังคม เพื่อทำให้เกิดการเติบโตของสังคมที่ยั่งยืน ซึ่งนั่นหมายถึงเราต้องมั่นใจว่าผู้หญิงทุกคน ไม่ว่าจะมีรายได้หรือโอกาสมากน้อยแค่ไหนจะสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานได้ อาทิเช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การกู้ยืมเงินและการทำประกัน โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มาสเตอร์การ์ดสามารถให้ความช่วยเหลือด้านการอบรมทักษะในการใช้สินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เพื่อช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่ไม่ใช่แค่เพื่อการอยู่รอด แต่เพื่อสร้างชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้หญิงทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน สามารถดาวน์โหลด รายงานดัชนีผู้ประกอบการสตรีฉบับเต็ม ได้ที่นี่ วิธีการรวบรวมผลสำรวจ ดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ด ประจำปี พ.ศ. 2562 เป็นรายงานฉบับที่ 3 ที่ติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงใน 58 ประเทศทั่วโลก ด้วยการเพิ่มสาธารณรัฐแองโกลาในฐานข้อมูลของกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา ดัชนีนี้ได้ขยายความพยายามที่จะติดตามปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางเพศของผู้ประกอบการ ผลการศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวะความแตกต่างของแรงงานหญิงใน 58 ประเทศใน 3 มิติ ได้แก่ 1) ความก้าวหน้าทางอาชีพของสตรี 2) สินทรัพย์ด้านความรู้และการเข้าถึงทางการเงิน และ 3) สภาพที่เอื้อต่อการประกอบกิจการ และยังชี้ให้เห็นถึงปัจจัยและสภาวะต่างๆ ที่สำคัญที่ช่วยลดช่องว่างทางเพศของผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิง รวมถึงปัจจัยและสภาวะที่จำกัดและกีดกันความสามารถของผู้หญิงในการทำธุรกิจ เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด Mastercard (NYSE: MA) www.mastercard.com เป็นบริษัทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการชำระเงินระดับโลก เครือข่ายการประมวลผลการชำระเงินทั่วโลกของเราเชื่อมต่อผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐบาล และธุรกิจในกว่า 210 ประเทศและดินแดนต่างๆ ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ และการจัดการทางการเงิน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตามเราได้บนทวิตเตอร์ @MastercardAP หรือร่วมสนทนากับเราที่ Beyond the Transaction Blog และ subscribe เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดผ่าน Engagement Bureau

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ