กรุงเทพฯ--11 มี.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์
ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ 'AA(tha)’ แก่หุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทของบริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (Maybank Kim Eng Securities(Thailand) Public Company Limited หรือ MBKET; AA+(tha)/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิคือเพื่อนำไปใช้ในการบริหารสภาพคล่องและการระดมทุนของบริษัท
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวอยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง(anchorrating) ซึ่งคือ'AA+(tha)’อยู่ 1 อันดับ ซึ่งอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวที่อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง1อันดับเป็นการสะท้อนถึงความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severityrisks) ของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีมากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิเนื่องจากผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิจะมีลำดับสิทธิในการเรียกร้อง (priority ofclaims) ด้อยกว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิและเจ้าหนี้สามัญอื่นๆของบริษัท (seniorcreditors) นอกจากนี้อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงการที่หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ(going-concernloss absorption features) และไม่มีคุณสมบัติการแปลงเป็นทุน (equityconversion) ฟิทช์พิจารณาให้หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวมีส่วนของหนี้ที่คิดเป็นทุน(equitycredit) ที่0%เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวมีอายุค่อนข้างสั้นและไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเงินทุนของบริษัท
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของMBKETที่ 'AA+(tha)’ เป็นอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงในการพิจารณาอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าว อันดับเครดิตภายในประเทศของ MBKET พิจารณาจากปัจจัยสนับสนุนจากธนาคารแม่เนื่องจากฟิทช์มองว่า MBKET เป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อธนาคารแม่และกลุ่มซึ่งคือMalayanBanking Berhad (Maybank, A-/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ทั้งนี้ Maybank เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในMBKET
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของMBKETน่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิชุดนี้ในขณะเดียวกันอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ MBKET อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสนับสนุนจากธนาคารแม่ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของธนาคารแม่และโอกาสที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษที่นอกเหนือจากการสนับสนุนในด้านการดำเนินงานปรกติ(extraordinary support) ในกรณีที่มีความจำเป็น