ผู้บริโภคชาวไทยห่วงใยสิ่งแวดล้อมมากเพียงใด

ข่าวทั่วไป Tuesday March 11, 2008 15:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 มี.ค.--นีลเส็น
ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 47 ประเทศจากนีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลกเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกพบว่า สถานที่ในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภค บริโภค ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคพิจารณาเป็นลำดับสุดท้ายเมื่อเลือกสถานที่ซื้อของ ในขณะที่ “ความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ” เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคคำนึงเป็นลำดับแรก
ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสิ่งที่ถูกผู้บริโภคคำนึงถึงน้อยที่สุด หากเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคา ความหลากหลายของสินค้าที่มีคุณภาพสูง หรือ สถานที่ตั้งที่สะดวก ในการเลือกร้านค้าที่ขายสินค้าอุปโภค บริโภค จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคทั่วโลกเพียงยี่สิบแปดเปอร์เซ็นต์จัดลำดับสถานที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ถุงและบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลกมากถึงแปดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ให้ความสำคัญกับ “ความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ”
ผลการสำรวจของผู้บริโภคชาวไทย ค่อนข้างสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้บริโภคทั่วโลก กล่าวคือ ผู้บริโภคชาวไทย (88%) คิดว่า “ความคุ้มค่า” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกร้านค้าฯ ในขณะที่ กลุ่มคนน้อยที่สุด (29%) เลือกที่ที่จับจ่ายสินค้าอุปโภค บริโภค เนื่องจากเป็นสถานที่ ที่ใช้ถุงและบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล (ตารางที่1.1)
ในเอเชีย แปซิฟิค ประเทศจีน และอินเดีย จัดอยู่ในลำดับแรกของทวีปที่มีผู้บริโภคจำนวนมากที่สุด (39%เท่ากัน) ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เมื่อเลือกร้านค้าฯ อันดับรองลงมาคือ ผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ (35%) ( ตารางที่ 1.2)
นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ นีลเส็น (ประเทศไทย ) กล่าวว่า “ทั้งๆที่มีผู้บริโภคจำนวนเพิ่มขึ้นที่มีความต้องการให้ร้านค้าดำเนินธุรกิจในเชิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคเองกลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนักเมื่อเลือกสถานที่ในการซื้อของ สิ่งที่น่าสนใจจากการวิจัยนี้ก็คือ เจ็ดประเทศในทวีปเอเชียแปซิฟิคติดอยู่ในสิบอันดับแรกของโลกที่ผู้บริโภคให้การสนับสนุนร้านค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ”
47 Markets Covered: Argentina(Arg), Australia(OZ), Austria(AUT), Belgium(Be), Brazil(BZ), Canada(Ca), Chile(Chi), China(Chn), Czechs Republic(Cze), Denmark(DK), Egypt (EG), Estonia(Est), Finland(Fin), France(Fr), Germany(Ger), Greece(Gre), Hong Kong(HK), Hungary(Hun), India(In), Indonesia(Indo), Ireland(Ire), Italy(It), Japan(Jp), Korea(Kor), Latvia(Lat), Lithuania(Lith), Malaysia(MY), Mexico (MX), Netherlands(NL), New Zealand(NZ), Norway(NW), Philippines(PH), Poland(Po), Portugal(PG), Russia(Ru), Thailand(TH), Singapore(SG), South Africa(SA), Spain(Sp), Sweden(Sw), Switzerland(Swz), Taiwan(TW), Turkey(TK), UAE, United Kingdom(UK), United States (US) and Vietnam(Vn).
ผลการวิจัยของเรายังสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคต่อไปอีกเกี่ยวกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจเลือกสถานที่ซื้อของ และคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์แบบไหนที่ผู้บริโภคยินดีที่จะเลิกใช้หากก่อประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทย ผู้บริโภคยินดีที่จะเลิกใช้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ หากมีผลในการรักษาสิ่งแวดล้อม
1. บรรจุภัณฑ์ ที่สามารถใช้ปรุงอาหาร โดยไม่ต้องเปลี่ยนใส่ภาชนะอื่น หรือสามารถทำเป็นภาชนะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (36%)
2. บรรจุภัณฑ์ที่สะดวกในการถือกลับบ้าน (32%)
3. บรรจุภัณฑ์ที่มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้และการปรุงอาหาร (29%)
4. บรรจุภัณฑ์ที่มีรูปร่างที่สามารถที่จะวางซ้อนกันได้ ซึ่งช่วยในการเก็บที่บ้านได้ง่ายขึ้น (28%)
5. บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาอาหารให้สินค้ามีอายุนานขึ้นหลังจาการซื้อ (27%)
ในขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคดูเหมือนจะไม่อยากเลิกใช้มากที่สุดคือ บรรจุภัณฑ์ที่จะช่วยรักษาให้สินค้าอยู่ในสภาพที่ดี และบรรจุภัณฑ์ที่รักษาสินค้าให้สะอาดและผู้บริโภคคนอื่นๆ ไม่สามารถจับต้องได้ ( เท่ากัน 21%) (ตารางที่2 )
ในเอเชีย แปซิฟิค พบชาวนิวซีแลนด์และชาวออสเตรเลีย จำนวนมากที่สุดที่เต็มใจจะเลิกใช้ บรรจุภัณฑ์ที่มีรูปร่างที่สามารถที่จะจัดเก็บที่บ้านได้ง่าย และบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกในการถือกลับบ้าน โดยชาวนิวซีแลนด์ติดอันดับแรกของโลกที่มีจำนวนคนมากที่สุดที่จะยอมยกเลิกบรรจุภัณฑ์ทุกชนิดเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกดูเหมือนจะไม่อยากเลิกใช้มากที่สุดคือ บรรจุภัณฑ์ที่จะมีผลกระทบกับสภาพอาหารและความสะอาด ผู้บริโภคชาวเวียดนามกว่าครึ่งยอมที่จะไม่ใช้บรรจุภัณฑ์นี้หากมีผลที่จะช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ ในขณะที่ชาวไต้หวันและฮ่องกงเป็นชาติที่พบคนน้อยที่สุดในเอเชีย แปซิฟิค ที่ไม่ต้องการใช้บรรจุภัณฑ์นี้
นางจันทิรา กล่าวเสริมว่า “ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารและนิสัยในการซื้อของในแต่ละสังคมนั้น ส่งผลกระทบต่อความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นของชาวชาวตะวันตกและชาวตะวันออกก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยชาวเอเชียจะให้ความสำคัญน้อยต่อบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยถนอมอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าผู้บริโภคเหล่านี้ซื้อของบ่อยๆ และไม่ค่อยนิยมที่จะซื้อสินค้าที่มีอายุในการเก็บรักษาได้นาน ”
จากนีลเส็น ShopperTrends ชาวเอเชียให้ความสำคัญมากที่สุดกับอาหารสด เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของชาวเอเชียจับจ่ายอาหารสดที่ตลาดสด และพวกเขาซื้อของจากร้านขายของชำประมาณ 10 ครั้งต่อหนึ่งเดือน ขณะที่ชาวยุโรปซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยเฉลี่ยหกถึงแปดครั้งต่อเดือน ในประเทศไทย ผู้บริโภคซื้อของจากตลาดสดประมาณ 14 ครั้งต่อเดือน และร้านขายของชำมากถึง 20 ครั้งต่อเดือน
จากการสำรวจเรื่องบรรจุภัณฑ์ จาก Nielsen packs@work ในเอเชีย พบว่าชาวญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความสวยงาม เป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์ต่างๆ
นางจันทิรากล่าวในตอนท้ายว่า “เนื่องจากความกังวลและความตื่นตัวของคนทั่วโลกเกี่ยวกับความต้องการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังเรียกร้องความรับผิดชอบจากกลุ่มผู้ค้าปลีก และกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค และ ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อผู้บริโภคในปัจจุบัน ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าความต้องการของผู้บริโภคทางด้านอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่กลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจด้านอาหารไม่สามารถที่จะละเลยได้ ”

แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ