พีบีไอซี มธ. เผยภาคธุรกิจอินเดียหนุนใช้แรงงานคุณภาพไทย ผนึกภาคการศึกษาเดินหน้าเชื่อมโยง “ไทย – อินเดีย” รับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ข่าวทั่วไป Wednesday March 18, 2020 13:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ พีบีไอซี มธ. จัดกิจกรรม “เอกอัครราชทูตสนทนา” (Ambassador’s Talk) ปาฐกถากระชับความสัมพันธ์ไทย – อินเดีย พร้อมมอบทุนการศึกษานักศึกษาโครงการอินเดียศึกษา เดินหน้าผลิตบัณฑิตป้อนตลาดแรงงานภาคธุรกิจอินเดีย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พีบีไอซี) จัดพิธีมอบทุนการศึกษาและขอบคุณผู้ให้ทุนการศึกษา โดยนักศึกษาโครงการอินเดียศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างไทย และอินเดีย โดยทุนการศึกษาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากนักธุรกิจชาวอินเดีย ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศโดยเฉพาะ เพื่อป้อนตลาดแรงงานภาคธุรกิจขนาดใหญ่ของอินเดีย นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแนะนำรายละเอียดที่น่าสนใจของหลักสูตรอินเดียศึกษา พีบีไอซี พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ร่วมแสดงปาฐกถาพิเศษในชุดโครงการ “เอกอัครราชทูตสนทนา” (Ambassador’s Talk) ในหัวข้อ “ความสัมพันธ์ไทย – อินเดีย และความร่วมมือในทศวรรษใหม่” ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสครบรอบ 12 ปีของการก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ ดึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. (พีบีไอซี) กล่าวว่า วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. (พีบีไอซี) เปิดหลักสูตร “อินเดียศึกษา” (Indian Studies) ขึ้นเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญรอบด้านเกี่ยวกับประเทศอินเดีย ซึ่งมีมิติการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนยังขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในทุกมิติของอินเดียอย่างลึกซึ้ง โดยการเรียนการสอนตลอด 4 ปี ของหลักสูตรอินเดียศึกษา พีบีไอซี มีความน่าสนใจทั้งในด้านโครงสร้างวิชา โอกาสการศึกษาแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาชั้นนำในประเทศอินเดีย รวมถึงกิจกรรมด้านวิชาการที่วิทยาลัยจัดขึ้นตลอดปี ผศ.ดร.นิธินันท์ กล่าวเพิ่มว่า นอกเหนือจากความเข้มข้นของการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเดียศึกษาแล้ว พีบีไอซียังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยมาโดยตลอด โดยสถานทูตฯ อินเดียให้การสนับสนุนโอกาสการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมอินเดียให้แก่นักศึกษาหลักสูตรอินเดียศึกษา พีบีไอซี ผ่านการส่งเสริมบุคลากรด้านการสอนภาษาฮินดี การเชื่อมโยงเครือข่ายมหาวิทยาลัยคู่สัญญาชั้นนำในอินเดีย เพื่อส่งเสริมโอกาสการศึกษาแลกเปลี่ยนให้แก่นักศึกษา รวมถึงการจัดกิจกรรมด้านวิชาการ การเสวนาพิเศษในหัวข้อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือที่น่าสนใจระหว่างอินเดียและไทย ตลอดจนกิจกรรมสานสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมอย่างงานวันภาษาฮินดีสากล (World Hindi Day) เพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมอินเดียในหมู่นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยล่าสุด สถานทูตฯ อินเดียได้เชื่อมโยงให้เกิดโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี แก่นักศึกษาอินเดียศึกษา พีบีไอซี โดยการดึงดูดกลุ่มนักธุรกิจชาวอินเดีย ที่มีความสนใจสร้างสรรค์ความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทุกมิติของอินเดีย รวมถึงมีความเข้าใจในบริบทการทำงานด้านธุรกิจร่วมกับชาวอินเดีย โดยที่ผ่านมามีนักศึกษาโครงการอินเดียศึกษาได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรจากนักธุรกิจชาวอินเดีย จำนวน 17 คน และในปีนี้ สถานทูตฯ อินเดียยังคงเดินหน้าเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการสนับสนุนทุนการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตบัณฑิตป้อนตลาดแรงงานในภาคธุรกิจของอินเดียอย่างยั่งยืน ผศ.ดร.นิธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้ พีบีไอซีได้จัดงานพิธีมอบทุนการศึกษาและขอบคุณผู้ให้ทุนการศึกษาตลอดจนการรายงานผลความสำเร็จด้านวิชาการของนักศึกษาโครงการอินเดียศึกษาตลอด 4ปี และยังได้รับเกียรติจาก นางสุจิตราดูไร (H.E. Ms. Suchitra Durai) เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เข้าร่วมแสดงปาฐกถาในชุดโครงการ “เอกอัครราชทูตสนทนา(Ambassador Talk)” ในหัวข้อ “ความสัมพันธ์ไทย – อินเดียและความร่วมมือในทศวรรษใหม่” ที่ครอบคลุมประเด็นความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองเศรษฐกิจ การค้า ตลอดจนความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและอินเดียซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสครบรอบ 12 ปีของการก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ดึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.pbic.tu.ac.th หรือเฟซบุ๊ก facebook.com/PBIC.TU

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ