กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์
คุณภาพสินทรัพย์และรายได้ของธนาคารไทยน่าจะปรับตัวลดลงอย่างมากในปี2563และสถานะทางเครดิตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยน่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสตามความเห็นของนักวิเคราะห์จากฟิทช์ เรทติ้งส์ในการสัมมนาออนไลน์ที่จัดโดย ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ในวันนี้
“เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวและภาคการส่งออกในระดับสูง” กล่าวโดย คุณเจอรามีซูกค์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดอันดับเครดิตประเทศของฟิทช์ เรทติ้งส์ ทั้งนี้ฟิทช์เพิ่งได้มีการปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น 'มีเสถียรภาพ’ จาก 'แนวโน้มเป็นบวก’ เนื่องจากคาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการแพร่ระบาดของไวรัสมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและความไม่แน่นอนในด้านการเมืองของไทยที่ยังคงมีต่อเนื่องฟิทช์ประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 2563 ที่ 1%โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยวรวมทั้งภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ภัยแล้ง ทั้งนี้มีความเป็นไปได้พอสมควรที่การประมาณการดังกล่าวจะถูกปรับลดลงอีกเนื่องจากมาตรการการกักตัวนักท่องเที่ยวที่อาจมีความเข้มงวดมากขึ้นและการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อCOVID-19ในประเทศจะส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศปรับตัวแย่ลง แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจะยังคงเผชิญกับความท้าทายในระยะสั้นแต่ในมุมมองของฟิทช์เชื่อว่าประเทศไทยยังคงมีความแข็งแกร่งทางการเงินภาคต่างประเทศ (External Finance)และภาคการคลังสาธารณะ(PublicFinance) ซึ่งน่าจะช่วยรองรับความเสี่ยงจากภาวะการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจและการเงินซึ่งสอดคล้องกันอันดับเครดิตของประเทศไทยที่ 'BBB+’ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากประกาศหัวข้อ“FitchRevises Outlook on Thailand to Stable; Affirms at 'BBB+'” ลงวันที่ 17 มีนาคม 2563
คุณโอบบุญ ถิรจิตผู้อำนวยการฝ่ายจัดอันดับเครดิตภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของ ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)เตือนบริษัทที่ออกหุ้นกู้และนักลงทุนว่าสถานะทางเครดิตของบริษัทในธุรกิจภาคอุตสาหกรรมของไทย น่าจะเผชิญความท้าทายในปี 2563จากปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวมและปัจจัยเฉพาะที่กระทบต่ออุตสาหกรรมนั้นๆ ก่อนหน้าสถานะการโคโรน่าไวรัสบริษัทในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรฐกิจและกำไรที่มีการเติบโตในระดับต่ำ การหดตัวของเศรษฐกิจที่มากกว่าที่คาดจากการแพร่ระบาดโคโรนาไวรัสและการเติบโตของรายได้ที่ช้ากว่าที่คาดน่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อสถานะทางเครดิตของบริษัทที่มีอัตราส่วนหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงฟิทช์คาดว่าการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตในเชิงลบน่าจะยังคงเพิ่มขึ้นในปี 2563เนื่องจากสัดส่วนของบริษัทที่มีแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นและมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามบริษัทส่วนใหญ่ที่ฟิทช์จัดอันดับจะยังคงมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพเนื่องจากบริษัทเหล่านั้นมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงดังกล่าว และมีระดับหนี้สินไม่สูงมาก
สำหรับในปี 2563 อุตสาหกรรม น้ำมันก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี น่าจะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากอุปสงค์ที่ลดลงจากสถานะการโคโรนาไวรัสและราคาน้ำมันที่ลดลงจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามบางบริษัทอาจสามารถลดผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวจากกลยุทธ์และทรัพยากรของบริษัทหรือบริษัทมีระดับหนี้สินที่อยู่ในระดับต่ำซึ่งสามารถป้องกันผลกระทบต่ออันดับเครดิตได้ในระยะสั้นสำหรับธุรกิจวัสดุก่อสร้างผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่ของประเทศมีอัตราส่วนหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับระดับที่เหมาะสมกับอันดับเครดิตปัจจุบันเนื่องจากการเข้าซื้อกิจการและการลงทุนที่สูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการเติบโตของความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ที่ช้ากว่าที่คาดและกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับสูงกว่าความต้องการใช้งานน่าจะทำให้การปรับตัวลดลงของอัตราส่วนหนี้สินช้ากว่าที่คาดสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมผู้ประกอบการมีการลงทุนที่อยู่ในระดับสูงและน่าจะสูงขึ้นในช่วง1-2 ปีข้างหน้าจากการลงทุนก่อสร้างระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G นอกจากนี้การแข่งขันด้านราคาน่าจะยังคงกดดันรายได้และการเติบโตของรายได้ของผู้ประกอบการ
คุณพาสันติ์ สิงหะผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดอันดับเครดิตสถาบันการเงินของฟิทช์ เรทติ้งส์(ประเทศไทย) กล่าวว่าธนาคารไทยกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทั้งนี้ระดับของผลกระทบต่อธนาคารจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและระยะเวลาของการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์และรายได้ของธนาคารไทยน่าจะปรับตัวลดลงอย่างมากในปี2563 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยกลุ่มลูกหนี้ SME ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3ของสินเชื่อรวมของภาคธนาคารและเป็นกลุ่มที่มีความมีความเปราะบางค่อนข้างมากโดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรง นอกจากนี้แม้ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสรายได้ของธนาคารโดยรวมได้เผชิญกับแรงกดดันจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำและการเติบโตที่ต่ำของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมาแล้ว ในขณะที่ภาวะธุรกิจของภาคธนาคารมีแนวโน้มที่ไม่ดีนักแต่อย่างไรก็ตามภาคธนาคารไทยยังคงมีความสามารถที่จะรับมือกับความเสี่ยงได้ในระดับที่ใช้ได้และน่าจะช่วยป้องกันผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้บ้าง เช่น ณ สิ้นปี 2562 ธนาคารไทยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Core Equity Tier 1) ของอยู่ในที่ 16.0%และมีอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 145% อีกทั้งภาวะสภาพคล่องภายในประเทศยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง