กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
ขอแสดงความยินดีและปรบมือให้กับ ดร.กิตติพงศ์ เจียมวิทยานุกูล ผู้จัดการอาวุโส งานยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP (Registered Technology Transfer Professional) จาก The Alliance of Technology Transfer Professionals (ATTP) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของพันธมิตร (Alliance) จาก 14 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั่วโลก ที่ทำหน้าที่พัฒนาบุคคลากรด้าน Knowledge exchange, Knowledge transfer และ Technology transfer เช่น AUTM, ASTP, ISTA, KCA และ PRAXIS AURIL เป็นต้น
โดยดร.กิตติพงศ์ เจียมวิทยานุกูล ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นผู้มี Core competencies และประสบการณ์ในการทำงานด้าน Technology transfer โดย Core competencies ที่สำคัญได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาธุรกิจ Start-up การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ การเจรจาต่อรองถ่ายทอดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคม
ในการยื่นขึ้นทะเบียนรับการรับรอง RTTP มีขั้นตอนและมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่จัดขึ้นโดย Associations ที่เป็น Alliance ของ ATTP สำหรับประเทศไทย สามารถเข้ารับการอบรมได้จากโครงการ APEC Biomedical Technology Commercialization Training Center (TCTC) ซึ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ได้ก่อตั้งขึ้นผ่านการสนับสนุนของ AUTM จากเวทีการประชุม APEC ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับเครดิตจาก AUTM ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมและสะสมเครดิตจนได้จำนวนอย่างน้อย 60 เครดิต (ชั่วโมง) และมีประสบการณ์ทำงานในสายงานด้าน Knowledge transfer และ Technology transfer เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป และเขียนบทความ (Essay) เป็นภาษาอังกฤษ ที่แสดงถึงการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ทำงานในอาชีพดังกล่าวอย่างประสบความสำเร็จ โดยส่งบทความภาษาอังกฤษ พร้อมหลักฐานต่างๆ ไปที่ ATTP และจะมีการประเมิน (Review) อย่างเข้มข้นด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ หากผู้ใดผ่านการประเมิน จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP พร้อมทั้งได้รับใบ Certificate และเข็มกลัดจาก ATTP
ในปัจจุบันมีผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น RTTP แล้วทั่วโลกประมาณ 500 คน มีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหลักสูตร TCTC แล้วจำนวน 4 ท่าน คือ ดร.เลอสรร ธนสุกาณจน์, Ms. Eliza Stefaniw ดร.พัชราภรณ์ วงษา และดร.กิตติพงศ์ เจียมวิทยานุกูล โดย ดร.กิตติพงศ์ เจียมวิทยานุกูล เป็นคนไทยคนที่ 4 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน RTTP จากหลักสูตร TCTC