คนสตาร์ทอัพเปิดเพจ “เป็ดไทยสู้ภัย” ใช้นวัตกรรมต้านภัย COVID-19

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 20, 2020 10:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--มีดี พีอาร์ เริ่มแล้ว !! คนสตาร์ทอัพรวมใจจัดทำเพจ “เป็ดไทยสู้ภัย” หวังนำนวัตกรรมสร้างความรู้และคัดกรองต้านภัย COVID-19 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) โดยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและขยายวงกว้างไปแล้วใน 158 ประเทศ ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและมีรายงานการคาดการณ์การระบาดจากศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขว่าอาจจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก จากเหตุการณ์ที่ได้กล่าวมา เราต่างตระหนักถึงการเฝ้าระวัง การคัดกรองโรคและการรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะนี้ และตระหนักถึงความจำเป็นในการตรวจหาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้าง กลุ่มสตาร์ทอัพไทย จึงรวมตัวกันในนามของสมาคมไทยเทคสตาร์ทอัพ (TTSA) และได้ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa) สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชน โดยจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผ่าน Facebook page ในชื่อ 'เป็ดไทยสู้ภัย’ และ Twitter ชื่อแอคเคาท์ @Pedthaisuphai ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมาช่วยแก้ปัญหาสังคม ทั้งการช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ช่วยลดภาระการทำงานของบุคคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงช่วยเหลือภาครัฐในการรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 โดยมีขอบเขตและแนวทางการกฎิบัติภารกิจร่วมกัน ดังนี้ นำเทคโนโลยีมาร่วมตรวจสอบข่าวเท็จ (Fake news) เพื่อเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพื่อการปฏิบัติตัวและรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคอย่างมีสติ ผ่านแอคเคาท์ Facebook page 'เป็ดไทยสู้ภัย’ และ Twitter @Pedthaisuphai ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ด้วย 'ระบบคัดกรองผู้ป่วย’ ผ่านแบบฟอร์ม 'การประเมินความเสี่ยงติดไวรัส COVID-19’ โดยประชาชนสามารถเข้าไปทำแบบประเมินอาการขั้นต้นด้วยตนเอง ซึ่งผลการประเมิน จะแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ โดยขั้นตอนหลังจากนี้ จะมีทีมแพทย์อาสาจากสตาร์ทอัพด้าน Health Tech เข้ามาร่วมคัดกรองและให้คำปรึกษาเบื้องต้นผ่านระบบออนไลน์ หรือที่เรียกว่า 'Teleconsult’ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโรคระหว่างการเดินทาง ลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ที่สำคัญบริการนี้จะช่วยให้แพทย์และพยาบาลได้มุ่งรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลอย่างเต็มกำลัง นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน Logistic และบริการทางด้าน Healthcare มาร่วมแก้ปัญหาการเดินทาง ด้วยระบบจัด-ส่งยารักษาโรค รวมไปถึงการจัดส่งอาหารและของใช้จำเป็นในระหว่างการกักกันที่บ้านด้วยตัวเองเพื่อเฝ้าระวังติดตามอาการนำเทคโนโลยีจากสตาร์ทอัพเข้ามาร่วมติดตามผลการรักษาและหาแนวทางช่วยเหลือในขั้นต่อไป เพื่อบรรลุต่อเจตนารมณ์ภารกิจและการปฏิบัติงานของทีมงาน 'เป็ดไทยสู้ภัย’ ในการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทีมงานจึงใคร่ขอเชิญชวนท่าน ในฐานะ 'สื่อ’ ที่มีความน่าเชื่อถือ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์กิจกรรมและเผยแพร่ข่าวสารจาก Facbook page 'เป็ดไทยสู้ภัย’ ในการปฏิบัติงานระยะนี้ ทางทีมงานได้เริ่มดำเนินกิจกรรมไปแล้ว 2 กิจกรรม ได้แก่ เปิดรับสมัครแพทย์และพยาบาลจิตอาสา โดยเปิดโอกาสให้แพทย์และพยาบาลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม สามารถเข้ามาให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ (Teleconsult) เกี่ยวกับไวรัส COVID-19 โดยแพทย์และพยาบาลที่สนใจจะสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ โดยลงทะเบียนได้ ที่นี่: http://covid19.thaitechstartup.org/'ระบบคัดกรองผู้ป่วย’ ผ่านแบบฟอร์ม 'การประเมินความเสี่ยงติดไวรัส COVID-19’ ซึ่งเป็นแบบประเมินอาการขั้นต้นด้วยตัวเอง เพื่อตรวจสอบว่าเราอยู่ในความเสี่ยงที่จะติดไวรัส COVID-19 หรือไม่ โดยผลการประเมินจะแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ โดยผลลัพธ์ในทุกระดับจะได้รับคำแนะนำและการหาทางออกให้ในทุกระดับความเสี่ยง ซึ่งเบื้องต้นเราจะมีทีมแพทย์และพยาบาลจิตอาสามาร่วมให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มีความเสี่ยง ผ่านระดับ Teleconsult หากมีอาการเข้าข่าย สามารถสำรวจตัวเองผ่านแบบสำรวจนี้ https://bit.ly/2U9NBLY นอกจากนี้ ยังสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมที่อัพเดททุกวัน ผ่านช่องทาง Facebook https://web.facebook.com/pedthaisupai

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ