กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
Programmer working at IT company office late at night
Young asian male online merchant blogger recording live vlog video with colorful shopping bag preparing for sale and review goods at home. Online influcencer on social media concept. Focus on camera
Business concept. Business people discussing the charts and graphs showing the results of their successful teamwork. Selective focus.
ปัจจุบันสถาบันการศึกษาไทยหลายแห่ง ได้เปิดกว้างให้เยาวชน ที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 “สายศิลป์” เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาใน “คณะสายวิทยาศาสตร์” เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นทางเลือกแก่น้อง ๆ เยาวชน ให้สามารถวางแผนศึกษาต่อในคณะที่ใช่ และตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด
เช่นเดียวกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หรือ SCI-TU ที่ยินดีต้อนรับน้อง ๆ “สายศิลป์-คำนวณ” เข้ามาศึกษาต่อทั้งใน มธ. ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง เพียงมีคุณสมบัติครบ GPAX ถึงที่กำหนด แต่รายละเอียดหลักสูตรที่เปิดรับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้
หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคปกติ) หลักสูตรที่เปิดสอนใน 2 วิชาเอก คือ 'คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ’ เรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเข้มข้น เพื่อนำไปต่อยอดเป็นระบบ AI กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนา การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ และ 'เทคโนโลยีการเรียนรู้’ ที่เน้นเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย เน้นให้เข้าใจธรรมชาติของการรับรู้-เรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพัฒนาซอฟต์แวร์ ในการสร้างสรรค์และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่น ทั้งการออกแบบ UX/UI หรือการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยมีอาชีพที่น้อง ๆ สามารถเลือกทำอย่างหลากหลาย ได้แก่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือ เว็บแอปพลิเคชัน เกม นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ นักออกแบบ UI/UX ฯลฯ
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cs.tu.ac.th/course.php?gid=35&sid=45 (ภาคปกติ)
หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) หลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับ 'คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แบบกระชับเช่นเดียวกับเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ โดยจะมีวิชาที่เน้นให้พร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งหลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ Tester, Network & System Admin, Data Scientist หรือวิทยาการข้อมูล รวมถึงนักบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง น้อง ๆ จะได้ใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถในด้านต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในสายงานนั้น ๆ อีกด้วย โดยน้อง ๆ ที่เลือกเรียนในหลักสูตรดังกล่าว สามารถต่อยอดในสายอาชีพต่าง ๆ ได้จำนวนมาก ได้แก่ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ ฯลฯ
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cs.tu.ac.th/course.php?gid=36&sid=50 (ภาคพิเศษ)
http://bit.ly/2u9D7TS (ความแตกต่างระหว่างภาคปกติ และภาคพิเศษ)
หลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการ (ภาคพิเศษ) หลักสูตรปริญญาตรีควบโท หลักสูตรมาแรงที่น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนได้ โดยเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะที่หลากหลาย ผ่านการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ สถิติ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการจัดการ เพื่อช่วยในการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดการความเสี่ยง ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดภายใต้สถานการณ์ที่จำกัดได้ รวมถึงแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญที่ทุกองค์กรต้องใช้ ดังนั้น น้อง ๆ ที่เลือกศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ มั่นใจได้เลยว่าจบไปมีงานทำแน่นอน อาทิ สายงานด้านอุตสาหกรรม การจัดการกระบวนการดำเนินงานสายงานด้านโลจิสติกส์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งหรือสายการบิน และสายงานด้านธุรกิจการเงินการวิเคราะห์งบประมาณ การวิเคราะห์การลงทุน การจัดการรายได้
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://math.sci.tu.ac.th/?p=program&type=bsc_immaspecial
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจอย่ารอช้า ร่วมเป็นครอบครัว SCI-TU เพียงตรวจสอบคุณสมบัติ พร้อมยื่นใบสมัครในระบบ TCAS ได้ที่ www.mytcas.com โดยทั้ง 3 หลักสูตรข้างต้น มีกำหนดเปิดรับสมัครในระบบ TCAS จำนวน 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 3 (รับตรงร่วมกัน) ระหว่างวันที่ 17-27 เมษายน 2563 และ TCAS รอบที่ 4 (รับกลางร่วมกัน) ระหว่างวันที่ 7-20 พฤษภาคม 2563
ติดตามรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563 www.tuadmissions.in.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010 เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th
ข้อมูลการรับสมัคร
คุณสมบัติผู้สมัคร ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต เรียนศิลป์-คำนวณ GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75รอบการรับสมัคร TCASรอบที่ 3 (รับตรงร่วมกัน)หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ภาคปกติ ศูนย์รังสิต เปิดรับทั้งหมด 40 ที่นั่งภาคปกติ ศูนย์ลำปาง เปิดรับทั้งหมด 5 ที่นั่งภาคพิเศษ ศูนย์รังสิต เปิดรับทั้งหมด 40 ที่นั่งหลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการ (ตรีควบโท) ภาคพิเศษ เปิดรับทั้งหมด 40 ที่นั่งรอบที่ 4 (รับกลางร่วมกัน) วันที่ 7-20 พฤษภาคม 2563หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ภาคปกติ ศูนย์รังสิต เปิดรับทั้งหมด 20 ที่นั่งภาคปกติ ศูนย์ลำปาง เปิดรับทั้งหมด 5 ที่นั่งภาคพิเศษ ศูนย์รังสิต เปิดรับทั้งหมด 20 ที่นั่งหลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการ (ตรีควบโท) ภาคพิเศษ เปิดรับทั้งหมด 10 ที่นั่ง