กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด
ทุกคนต่างเคยได้ยินเรื่องของการหมัก แต่หลายๆคนอาจยังไม่รู้ว่าจริงๆแล้วกระบวน
การหมักมีวีธิการอย่างไร คุณคงจะพอรู้ว่าหากไม่มีการหมัก คุณก็คงไม่ได้ดื่มด่ำ รสชาติของเบียร์หลังเลิกงาน
หรือไวน์สักแก้วคู่กับอาหารมื้อค่ำ ว่าแต่การหมักคืออะไรกันแน่
มนุษย์นำการหมักมาใช้เป็นเวลาอย่างน้อย 10,000 ปีมาแล้ว โดยในตอนแรกนั้นใช้เป็นวิธีในการถนอมอาหารและทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น การหมักเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ 100% ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อทำอาหารและเครื่องปรุงรสหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโยเกิร์ต กิมจิ หรือซอสถั่วเหลือง ทั้งยังเป็นเคล็ดลับเบื้องหลังการผลิตผงชูรสอีกด้วย
การหมักคืออะไร
หลายคนอาจจะยังสับสนระหว่างการหมักกับการบูดเสียของอาหาร เพราะโดยพื้นฐานแล้ว กลไกสำคัญที่ซ่อนอยู่นั้นเหมือนกัน ลองมาดูตัวอย่างจากนมเพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างนี้กัน
? การหมัก vs. การเสื่อมเสียของอาหาร
อย่างที่รู้กัน หากคุณแช่นมทิ้งไว้ในตู้เย็นจนเลยวันหมดอายุไปแล้ว หรือลืมเอานมใส่ตู้เย็นตั้งแต่แรก นมจะมีรสชาติเปรี้ยว นี่คือตัวอย่างของการบูดเสียที่พบได้บ่อย อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่านมสามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่อร่อยและดีต่อสุขภาพอย่างชีสและโยเกิร์ตได้ด้วย ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างของการหมัก หากพูดตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การบูดเสียของอาหารกับการหมักนั้นมีต้นเหตุเดียวกันคือ จุลินทรีย์
นักวิทยาศาสตร์เพิ่งมาเข้าใจเรื่องนี้ดีในช่วงปี พ.ศ. 2393 ก่อนหน้านั้นพวกเขาเข้าใจว่าการที่นมเปลี่ยนรสชาติเป็นรสเปรี้ยวเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีเท่านั้น หรือพูดง่ายๆก็คือนักวิทยาศาสตร์คิดว่ามีสารเคมีสองตัวทำปฏิกิริยากันเพื่อสร้างสารใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเวลาที่เหล็กเป็นสนิมหรือจุดไม้ขีดไฟ การทำโยเกิร์ตและชีสมีมานานหลายศตวรรษแล้ว แต่ยังไม่มีใครเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่านมสามารถกลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านี้ได้อย่างไร
จนกระทั่งหลุยส์ปาสเตอรหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยใหม่ได้พิสูจน์ว่าจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในนมและแบคทีเรียคือต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนม (แน่นอนว่านี่คือเหตุผลที่นมในปัจจุบันผ่านการ “พาสเจอไรซ์”ซึ่งเป็นกระบวนการให้ความร้อนกับนมเพื่อกำจัดแบคทีเรียและยืดอายุในการเก็บรักษาของนม)
? หลุยส์ ปาสเตอร์
Eat Well, Live Well.
การค้นพบของปาสเตอร์ได้เปลี่ยนโลกใบนี้
และเป็นต้นกำเนิดของสาขาชีวเคมี การค้นพบได้หักล้างทฤษฎี “Spontaneous Generation”
ที่เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้เองจากสิ่งไม่มีชีวิตได้
และยังสร้างรากฐานในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ การพัฒนา
และการผลิตอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย
ปัจจุบัน
การหมักได้รับการนิยามว่าเป็นกระบวนการที่จุลินทรีย์สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ในสารอินทรีย์ตั้งต้น
โดยโยเกิร์ตและชีสถือเป็น “ของหมัก” ไม่ใช่ “ของบูดเสีย”
เพราะมีการตั้งใจใช้จุลินทรีย์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ในนม
อย่างไรก็ตาม แบคทีเรียไม่ใช่จุลินทรีย์เพียงชนิดเดียวที่นำมาใช้ในการหมัก
ยีสต์เป็นตัวอย่างจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่ใช่แบคทีเรียที่ถูกนำมาใช้ในการหมักแป้งในการทำขนมปัง
การหมักแบบกรรไกร vs. การหมักแบบ Pac-Man
โดยทั่วไป
การหมักนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภทตามกระบวนการในการเกิด
เราจะย้อนกลับไปที่ตัวอย่างของนมเพื่ออธิบายให้ชัดเจนขึ้น
? การหมักมีสองประเภท
การหมักประเภทแรกเรียกได้ว่าเป็น “การหมักแบบกรรไกร” เอนไซม์ที่เกิดจากจุลินทรีย์จะตัดโปรตีนในนมให้ขาดออกจากกัน
คุณอาจนึกภาพว่าการหมักประเภทนี้เป็น “การหมักแบบกรรไกร” ก็ได้
เพราะเอนไซม์จะทำหน้าที่เสมือนเป็นกรรไกรที่ตัดโปรตีนให้ขาดออกจากกัน
หากใช้การหมักประเภทนี้กับนม สิ่งที่เราจะได้คือชีส และหากเราใช้ “การหมักแบบกรรไกร”
กับถั่วเหลือง เราก็จะได้ซอสถั่วเหลือง “การหมักแบบกรรไกร”
ทำให้อาหารอร่อยขึ้นเพราะจะไปเพิ่มความเข้มข้นของกรดอะมิโน รวมถึงกลูตาเมต
ซึ่งเป็น “สารที่ให้รสอูมามิ”
การหมักประเภทต่อไปเรียกได้ว่าเป็น “การหมักแบบ Pac-Man” จุลินทรีย์จะกินน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตในนมโดยตรง เหมือนกับ Pac-Man หากใช้การหมักประเภทนี้กับนม สิ่งที่เราจะได้คือโยเกิร์ต และเมื่อใช้ “การหมักแบบ Pac-Man” กับองุ่น เราจะได้ไวน์ นอกจากนี้ การหมักประเภทนี้ยังใช้ในการผลิตผงชูรสอีกด้วย
Eat Well, Live Well.
วัวเปรียบเสมือนเครื่องจักรในการหมัก คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าวัวเปลี่ยนหญ้าให้เป็นนมและกล้ามเนื้อได้อย่างไร แน่นอนว่าคำตอบก็คือการหมัก ในกระเพาะอาหารของวัว (ซึ่งซับซ้อนกว่าของมนุษย์เพราะกระเพาะอาหารของวัวมีทั้งหมดสี่ส่วนด้วยกัน) หญ้าจะถูกจุลินทรีย์ย่อยจนกลายเป็นกรดอะมิโน แล้วกรดอะมิโนก็เรียงตัวต่อกันเป็นโปรตีน ทั้งนมและเนื้อของวัวจึงอุดมไปด้วยโปรตีน วัวไม่ใช่สัตว์เพียงชนิดเดียวที่เป็นเสมือนเครื่องจักรในการหมักที่มีชีวิต สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลายชนิดต่างก็ใช้กระบวนการย่อยแบบเดียวกันนี้ และสัตว์ทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ มีแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่ช่วยเปลี่ยนอาหารให้เป็นสารที่มีประโยชน์โดยใช้วิธีการหมัก
ความเกี่ยวข้องระหว่างการหมักและผงชูรส
ในปีพ.ศ. 2452 ดร. Kikunae Ikeda ผู้คิดค้น AJI-NO-MOTO(R)ทำการแยกกรดกลูตามิกออกจากสาหร่ายทะเลคอมบุ
เขาสังเกตว่าสารนี้มีรสชาติที่ไม่หวาน ไม่เปรี้ยว ไม่เค็ม และไม่ขม เขาจึงตั้งชื่อรสชาติใหม่นี้ว่า
“อูมามิ” การค้นพบของดร. Ikeda นำไปสู่การพัฒนาผงชูรส ที่จะนำรส “อูมามิ”
ไปสู่โต๊ะอาหารของทุกคนในฐานะเครื่องปรุงรส
? ดร. Kikunae Ikeda
แต่การผลิตผงชูรสจำนวนมากนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ซึ่งก็เป็นปัญหาที่การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ทั้งหลายต้องเผชิญ “วิธีการสกัด”
เป็นวิธีที่ใช้ในการผลิตผงชูรสมาเป็นเวลาหลายปี
โดยใช้โปรตีนจากข้าวสาลีที่สกัดจากกลูเตน
แต่กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่สิ้นเปลือง และทำได้ยากหากต้องการผลิตเป็นจำนวนมาก
และยังยากที่จะทำกระบวนการนี้ได้อย่างสม่ำเสมอในโรงงานที่ตั้งอยู่นอกประเทศญี่ปุ่น
โชคดีที่ในช่วงปี 2503
ได้มีการค้นพบแบคทีเรียที่มีหน้าที่สร้างกรดกลูตามิก
การหมักจึงกลายเป็นวิธีการขั้นพื้นฐานในการผลิตผงชูรส ที่สำคัญ การค้นพบนี้ทำให้สามารถผลิตผงชูรสได้ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ จากนั้นไม่นาน
ทั้งโลกก็ได้สัมผัสรสชาติ “อูมามิ” บนโต๊ะอาหาร
วิธีการทำผงชูรส
วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผงชูรสคือวัตถุดิบที่มีน้ำตาลมากที่สุดในพื้นที่ที่ทำการผลิต
ตัวอย่างเช่น ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปอเมริกาใต้ วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่คืออ้อยหรือมันสำปะหลัง
ส่วนในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือนั้น
วัตถุดิบที่ใช้จะเป็นน้ำตาลจากหัวบีทหรือข้าวโพด
? การหมักและการผลิตผงชูรส
“สารตั้งต้น” นี้จะกลายเป็นกลูโคส
ซึ่งจะถูกหมักโดยแบคทีเรียที่สร้างกรดกลูตามิก หลังกระบวนการทำให้เป็นกลาง
สิ่งที่ได้คือผงชูรส เกือบ 100% ของผงชูรสกว่า 3.2 ล้านตันที่ผลิตได้ในแต่ละปีผ่านการผลิตโดยใช้เพียงกระบวนการหมักง่ายๆ
เช่นนี้เอง
เทคโนโลยีในการหมักช่วยให้ผู้คนกินดี มีสุข
Ajinomoto ได้วิจัยการหมักและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากว่า
80 ปี การวิจัยประเภทนี้ได้มอบสิ่งที่มากกว่าแค่กรดอะมิโนและอาหารที่รสชาติดี ตัวอย่างเช่น
การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการหมักที่สร้างกรดกลูตามิกซึ่งใช้ในการผลิตผงชูรส
นำไปสู่การนำวิธีการหมักมาใช้ในการสร้างกรดอะมิโนเกือบทุกชนิด ปัจจุบัน
เทคโนโลยีนี้ใช้สำหรับการผลิต“ชีวเภสัชภัณฑ์”ที่ล้ำสมัยและส่วนที่ดีที่สุดก็คือการหมักเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากเพราะเป็นกระบวนการทางธรรมชาติโดย สมบูรณ์ ผลพลอยได้ (หรือจะพูดให้ถูกกว่านั้นคือ
“ผลิตภัณฑ์ร่วม”)
ของการหมักในโรงงานของเราจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นดินในรูปแบบของปุ๋ย
ซึ่งจะช่วยให้วัตถุดิบอย่างมันสำปะหลังและข้าวโพดเจริญเติบโต
Ajinomoto Group จะยังคงพัฒนาเทคโนโลยีการหมักต่อไป
รวมไปถึงองค์ความรู้และความสามารถอื่นๆ ของเรา เพื่อกิจกรรมทางธุรกิจที่ยั่งยืน และก้าวหน้าต่อไปในทั่วทุกมุมโลก
เกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto Co., Inc.
Ajinomoto Group เป็นบริษัทระดับสากลที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจอาหารและกรดอะมิโนที่นำโดยวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ก้าวล้ำและเทคโนโลยีด้านเคมีที่ดีเยี่ยม
ด้วยการยึดมั่นในสารขององค์กร นั่นคือ “กินดี
อยู่ดี”
ทำให้เรามุ่งสู่ความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ของการใช้กรดอะมิโนในการช่วยส่งเสริมชีวิตที่มีสุขภาพดีของผู้คนทั่วโลก
เรามุ่งเป้าหมายไปยังการเติบโตในอนาคตและการช่วยเหลือสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้คนอยู่ดีมีสุข
โดยการสร้างคุณค่าผ่านทางโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมและยั่งยืน
ให้กับชุมชนและสังคมของเรา
Ajinomoto Group มีสำนักงานอยู่ใน 35 ประเทศและในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก และขายผลิตภัณฑ์ในกว่า 130 ประเทศและในทุกภูมิภาค ในปีงบประมาณ 2018 (พ.ศ. 2561) ยอดขายของเราคือ 1.1274 ล้านล้านเยน (10,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ http://www.ajinomoto.com.