กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกมาตรการการช่วยเหลือทุกกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ให้พักชำระหนี้เป็นเวลา 3 เดือน สามารถยื่นคำขอได้สะดวก เพียงดาวน์โหลดใบคำขออนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ฯ ผ่านทางเว็บไซต์ www.ibank.co.th และส่งกลับมายังอีเมล COVID19@ibank.co.th ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563
สำหรับมาตรการฯ นี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือทุกกลุ่มลูกค้าของธนาคาร ทั้งลูกค้ารายย่อย สินเชื่อบุคคล สินเชื่อธุรกิจ รวมทั้งธุรกิจ MSMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ (สงครามการค้าภัยแล้ง และโควิด-19) ด้วยการลดภาระผ่อนค่างวดเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยลูกค้าที่จะได้รับความช่วยเหลือภายใต้มาตรการนี้ต้องเป็นลูกค้าปัจจุบันของธนาคารที่ได้รับผลกระทบ และไม่มีสถานะเป็น NPF ณ วันที่ยื่นขอรับมาตรการ โดยมีมาตรการความช่วยเหลือตามประเภทสินเชื่อ ดังนี้
ประเภทสินเชื่อ มาตรการให้ความช่วยเหลือ
สินเชื่อบุคคล พักชำระหนี้เงินต้นและกำไร ระยะเวลา 3 เดือน
- สินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) พักชำระค่างวด ระยะเวลา 3 เดือน
วงเงินไม่เกิน 250,000 บาท
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย พักชำระหนี้เงินต้นและให้ชำระเฉพาะกำไร ระยะเวลา 3 เดือน
- สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรวมถึงสินเชื่อ อเนกประสงค์ที่นำที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักประกัน เช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ พักชำระหนี้เงินต้นและให้ชำระเฉพาะกำไร ระยะเวลา 3 เดือน
- สินเชื่อธุรกิจแบบมีกำหนดระยะเวลา
- สินเชื่อธุรกิจ MSMEs
วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท
ลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมมาตรการ สามารถดาวน์โหลดใบคำขออนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้มาตรการช่วยเหลือฯ ได้ที่ www.ibank.co.th >คลิกเมนูโปรโมชั่นสินเชื่อ >คลิกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยชั้นดี > คลิกดาวน์โหลดแบบฟอร์ม กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนพร้อมลงนามในเอกสาร และส่งมาที่อีเมล COVID19@ibank.co.th หรือยื่นขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ที่ไอแบงก์ทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563 (ระยะเวลาในการดำเนินการตามมาตรการรวมถึงการจัดทำนิติกรรมสัญญาให้เสร็จสิ้นไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ) แล้วรอผลการพิจารณาผ่านทางเอสเอ็มเอสมือถือ (SMS) ของลูกค้า สอบถามเพิ่มเติม ibank Call Center 1302
*หมายเหตุ:
1. "อัตรากำไร/ผลตอบแทน ผลิตภัณฑ์ธนาคารมิใช่ดอกเบี้ยหรือเป็นคำเรียกแทนดอกเบี้ย แต่มาจากหลักการที่ใช้ในการทำธุรกรรมที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม"
2. อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ คืออัตราที่คำนวณได้จากประมาณการรายได้ของธนาคารและอัตราสัดส่วนการแบ่งผลตอบแทนเงินฝาก ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับอาจจะต่ำกว่าหรือสูงกว่าอัตราผลตอบแทนเงินฝากที่ธนาคารประกาศเมื่อครบกำหนดการฝาก