กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--ฟิทช์ เรทติ้งส์
ฟิทช์ เรทติ้งส์
ประกาศลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign
Currency IDR) ของธนาคารกรุงเทพ
จำกัด (มหาชน) เป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’
และคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่
'F2’
และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่
'AA+(tha)’
โดยแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ในขณะเดียวกันฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิตสากลของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
เป็น 'BBB’
จาก
'BBB+’
และปรับลดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เป็น 'BB+ ' จาก 'BBB’ และยกเลิกสถานะ
“อยู่ระหว่างสังเกตการณ์ผลกระทบจากการปรับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิต” (Under
Criteria Observation)
ฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิตของ
BBL
สะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่กระจายไปในวงกว้าง
โดยผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้
แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการงินที่อ่อนแอหรือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธาคารไทยสามารถดูได้จาก
“Coronavirus
Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563
เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัส
ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นคุณภาพของสินทรัพย์รวมถึงผลการดำเนินงานของ
BBL
อาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงระยะเวลา
2
ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2562
โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว
รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว
อีกทั้งฐานะเงินกองทุนที่จะอ่อนแอลงจากการเข้าซื้อกิจการธนาคาร PT Bank
Permata Tbk (Permata: AAA(idn)/เครดิจพินิจเป็นลบ) ในประเทศอินโดนีเซีย
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL พิจารณาจากโครงสร้างเครดิตของตัวธนาคารเอง
ซึ่งสะท้อนในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating หรือ VR)
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิมีสถานะเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคารซึ่งมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคาร
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตและรวมการพิจารณาโครงสร้างด้านการระดมทุนและสภาพคล่องของธนาคารที่ระดับ
'bbb+’
การคงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ต่อโครงสร้างเครดิตของ
BBL
ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศแม้ว่าอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารจะถูกปรับลดอันดับลง
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ
BBL
สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งในประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านธุรกิจรายใหญ่และกิจการธนาคารต่างประเทศ
นอกจากนี้อันดับเครดิตยังสะท้อนมุมมองของฟิทช์ต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่จะอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการชะลอตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจไทย
อันดับเครดิตยังรวมถึงความเชื่อของฟิทช์ว่ากำไรของธนาคารจะอ่อนตัวลงจากอุปสรรคต่างๆ
ดังที่กล่าวมา
รวมทั้งการด้อยคุณภาพของสินทรัพย์น่าจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้การซื้อกิจการ Permata อาจทำให้ BBL ต้องเผชิญความเสี่ยงจากความผันผวนของกำไรที่มากขึ้นในระยะกลางจากการเพิ่มสัดส่วนความเสี่ยงของธนาคารจากธุรกิจที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ด้อยกว่า
การซื้อกิจการ Permata น่าจะแล้วเสร็จในปี
2563
โดยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common
Equity Tier 1: CET1) น่าจะปรับตัวลดลงประมาณ 3%
หลังจากธุรกรรมเสร็จสิ้น
โดยธนาคารคาดว่าจะทยอยเพิ่มเงินกองทุนให้กลับขึ้นมาจากกำไรสะสมของธนาคารแต่อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ท้าทายน่าจะกดดันความสามารถในการสะสมเงินกองทุนของธนาคารอย่างน้อยในช่วงระยะสั้น
ดังนั้นฟิทช์จึงเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของฐานะเงินกองทุนจะเป็นไปได้ช้ากว่าที่คาด
BBL ยังคงมีโครงสร้างเครดิตที่ดีกว่าและมีความสามารถในการรองรับผลกระทบเชิงลบที่มากกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานในระดับเดียวกัน
ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันเชิงลบต่ออันดับเครดิตของธนาคารในช่วงระยะเวลา 12-18 เดือนข้างหน้า
โดยสภาพคล่องของธนาคารและอัตราส่วนการสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Loan Loss
Coverage Ratio) ที่สูงกว่าธนาคารอื่นน่าจะสนับสนุนความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นจากสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตสนับสนุน
(Support
Rating) และ
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ
BBL
สะท้อนถึงความสำคัญของธนาคารต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย
ในฐานะที่ธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดลูกค้าเงินฝาก 17% ณ สิ้นปี 2562
ฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารหากจำเป็น
เนื่องจากธนาคารมีบทบาทในฐานะสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบของประเทศไทย
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
การปรับลดอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
(ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่2 ภายใต้หลักเกณฑ์บาเซล 3
และที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่2 ซึ่งไม่สอดคล้องตามเกณฑ์บาเซล 3) ของ BBL เป็น 'BB+’ จาก 'BBB’ เนื่องจากการปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารซึ่งเป็นอันดับเครดิตอ้างอิง
(anchor
rating) และการเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตสำหรับตราสารหนี้ด้อยสิทธิ
(ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2) เป็น 2 อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง (anchor
rating) ซึ่งจากเดิมคือที่ 1 หรือ 2
อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง
ทั้งนี้เพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ
ทั้งนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ
(going-concern
loss absorption) จึงไม่ได้ถูกปรับลดอันดับเพิ่มเติมเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ดาดการณ์
(non-performance
risk)
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร
การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินน่าจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิได้รับการปรับเพิ่มอันดับ
การเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์ที่มีต่อโครงสร้างเครดิตของ
BBL
เมื่อเทียบกับอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารหรือบริษัทอื่นอาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของ
BBL
อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของ
BBL
ไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างอันดับเครดิตของธนาคารเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นในประเทศ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินจะส่งผลในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของธนาคารแม้ว่าความเสี่ยงในเชิงลบต่ออันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
มีค่อนข้างจำกัด โดยอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอยู่ที่ 'BBB-’ อันดับเครดิตภายในประเทศอาจได้รับการปรับลดอันดับหากฟิทช์มองว่าโครงสร้างเครดิตของธนาคารอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นในประเทศ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับเป็น
'bbb+’
หากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารจัดอยู่ในระดับสอดคล้องกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ระดับเดียวกัน
(ที่ bbb)
เช่นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อต่ำกว่า
3%
อีกทั้งยังมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่แข็งแกร่งในด้านของสำรองหนี้สูญต่อสินเชื้อด้อยคุณภาพและเงินกองทุน
(เช่น CET1 อยู่ที่ระดับ 16%
อย่างต่อเนื่อง)
ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนโดยที่ไม่ได้ยอมรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเนื่องจากความสามารถดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสามารถในการสะสมเงินกองทุนของธนาคาร
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งของธนาคารอาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น
'bbb-'
หากฐานะเงินกองทุนของธนาคารปรับตัวด้อยลงอย่างต่อเนื่องจนไม่เพียงพอที่จะรองรับคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง
เช่น การที่อัตราส่วน CET1 ของธนาคารปรับตัวลดลงต่ำกว่า 13%
ในช่วงสองปีข้างหน้า
โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นสูงกว่า 6%
และอัตราส่วนสำรองหนี้เสียต่อสินเชื้อด้อยคุณภาพต่ำกว่า 120% ในความเห็นของฟิทช์เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้หากผลประกอบการ
และกำไรของธนาคารยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากการลดลงของอัตรากำไรและคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง
ซึ่งสะท้อนถึงสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่ท้าทายและการยอมรับความเสี่ยงของธนาคารที่เพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสมากขึ้นที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ
(D-SIB)
ซึ่งรวมถึง
BBL
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ 'BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ก็อาจบ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนธนาคาร (รวมถึง BBL) แต่การพิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำต้องคำนึงถึงการที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารไม่มีการปรับตัวลดลง
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจถูกปรับลดอันดับหากฟิทช์เชื่อว่าความสามารถที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารนั้นลดลง
เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหากอันอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับ
นอกจากนี้การปรับลดอันดับเครดิตยังอาจเกิดได้หากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสลดลงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ
(รวมถึง BBL)
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ
BBL
จะได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารได้รับการปรับเพิ่มอันดับ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ
BBL
จะได้รับการปรับลดอันดับหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารได้รับการปรับลดอันดับ
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้
แสดงว่าธนาคารมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต
ไม่เกินระดับ 3
ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร
ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ปรับลดอันดับเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F2’อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน ปรับลดอันดับเป็น 'bbb’ จาก 'bbb+’อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ '2’อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ 'BBB-’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)’อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ปรับลดอันดับเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิปรับลดอันดับเป็น 'BB+’ จาก 'BBB’