กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--ฟิทช์ เรทติ้งส์
ฟิทช์ เรทติ้งส์
ประกาศลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term
Foreign-Currency IDR) ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank เป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น (Short-Term
Foreign-Currency IDR) เป็น 'F3’ จาก 'F2’ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
(Viability
Rating) เป็น
'bbb’
จาก
'bbb+’
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์
ไม่มีหลักประกัน เป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินต่างประเทศที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่
2
ตามเกณฑ์บาเซิล 3 เป็น 'BB+’ จาก 'BBB’ และยกเลิกสถานะอันดับเครดิตที่เป็นอันดับเครดิตที่อยู่ระหว่างการทบทวนที่เกิดจากการประกาศใช้หลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับใหม่
(Under
Criteria Observation) ในขณะเดียวกันฟิทช์คงอันดับเครดิตในประเทศระยะยาว
(National
Long-Term Rating) ของ KBank ที่ 'AA+(tha)’ และอันดับเครดิตในประเทศระยะยาวของบริษัทย่อยซึ่งคือ
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KS) ที่ 'AA(tha)’ รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้าย
การปรับลดอันดับเครดิตสะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่
KBank
กำลังเผชิญและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่กระจายเป็นวงกว้าง
ซึ่งผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้
แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ KBank มีฐานลูกค้าค่อนข้างมาก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารไทยสามารถดูได้จาก
“Coronavirus
Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563
เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ยังมีความไม่แน่นอน
ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นคุณภาพของสินทรัพย์รวมถึงผลการดำเนินงานของ KBank อาจได้รับผลกระทบมากในช่วงระยะเวลา
2
ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2562
โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว
รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ
รวมถึงรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ KBank พิจารณาจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร
(Viability
Rating หรือ VR) ซึ่งประเมินจากความแข็งแกร่งทางธุรกิจของธนาคาร
(Standalone
Profile) นอกจากนี้การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างโครงสร้างเครดิตของธนาคารและธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยรายอื่นยังเป็นปัจจัยในการพิจารณาอันดับเครดิตภายในประเทศของ
KBank
ด้วยเช่นกัน
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นสะท้อนถึงหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตและฟิทช์พิจารณาประกอบกับโครงสร้างการระดมทุนและสภาพคล่องของธนาคารที่ระดับ
'bbb’
การคงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ต่อโครงสร้างเครดิตของ
KBank
ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศแม้ว่าอันดับเครดิตสากลของธนาคารจะถูกปรับลดอันดับลง
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ
KBank
พิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันของธนาคารในฐานะหนึ่งในธนาคารชั้นนำของอุตสาหกรรมธนาคารไทยโดยธนาคารมีเครือข่ายธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากฐานธุรกิจที่มีเสถียรภาพและมีขนาดใหญ่โดยมีจุดแข็งในด้านบริการธนาคารดิจิทัลและการให้บริการด้านธุรกรรมธนาคาร
(Transactional
banking) อีกทั้งธนาคารมีบริการด้านการธนาคารที่ครบวงจรรวมถึงมีการให้บริการลูกค้าในหลากหลายกลุ่มลูกค้า
อย่างไรก็ตาม KBank
ยังมีฐานลูกค้าในกลุ่มธุรกิจสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs)
ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่รายอี่นซึ่งจะทำให้มีแรงกดดันต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารในช่วงเวลาปัจจุบันของวัฏจักรธุรกิจและจะทำให้มีแรงกดดันเพิ่มเติมต่อผลกำไรจากการดำเนินงานของธนาคารซึ่งในปัจจุบันระดับผลกำไรดังกล่าวอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
(risk
appetite) ของการดำเนินธุรกิจของธนาคารซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับกับธนาคารอื่น
ธนาคารยังคงมีโครงสร้างเครดิตที่ดีกว่าและมีความสามารถในการรองรับผลกระทบเชิงลบที่มากกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่า
ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันเชิงลบต่ออันดับเครดิตของธนาคารในช่วงระยะเวลา 12-18 เดือนข้างหน้า
ระดับเงินกองทุนของ KBank ที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมซึ่งพิจารณาจากระดับของเงินกองทุนชั้นที่
1
ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (common-equity Tier-1) ของธนาคารที่ 16.2% ในปี 2562 น่าจะช่วยสนับสนุนโครงสร้างเครดิตของธนาคารที่ระดับอันดับเครดิตในปัจจุบันได้
ฟิทช์ยังคาดว่าระดับของสำรองหนี้สูญ (loan loss reserve) ต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่
149%
และระดับของหลักประกันของเงินกู้ที่เพียงพอโดยเฉพาะของสินเชื่อ SME จะช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดจากคุณภาพของสินเชื่อที่อาจปรับตัวอ่อนลงได้บางส่วน
อีกทั้งสภาพคล่องและการระดมทุนในประเทศของ KBank ได้รับแรงสนับสนุนจากการที่ธนาคารมีฐานเงินฝากบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์
(CASA)
ในสัดส่วนสูงที่
77% ของฐานเงินฝาก
ณ สิ้นปี 2562
ซึ่งสนับสนุนให้ธนาคารมีต้นทุนการระดมเงินทุนที่ต่ำจากแหล่งระดมทุนที่มีเสถียรภาพ
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตสนับสนุน
(Support
Rating) และ
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ
KBank
สะท้อนถึงการที่ธนาคารมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย
โดยส่วนแบ่งทางการตลาดของ KBank ในด้านเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 15%
ของระบบธนาคารพาณิชย์ โดย KBank เป็นหนึ่งในธนาคารพาณิชย์ 5
แห่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยและฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ
(extraordinary
support) แก่ธนาคารในกรณีที่จำเป็น
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่
2 ตามเกณฑ์บาเซล
3 ของ KBank ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้เสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ
ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตภายในประเทศอยู่ 2 อันดับ
เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตในกรณีฐาน (baseline) ของอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของธนาคารฉบับใหม่ เพื่อสะท้อนมุมมองของฟิทช์ที่ตราสารประเภทดังกล่าวมีโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้คืน
(recovery
rate) ในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับตราสารที่ไม่ด้อยสิทธิ
ทั้งนี้
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ดังกล่าวไม่ได้ถูกปรับลดอันดับเพิ่มเติมเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์
(non-performance
risk) เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ
(going-concern
loss absorption)
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
บริษัทร่วมและบริษัทย่อย
การประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศของ
KS
สะท้อนถึงมุมองของฟิทช์ว่าโอกาสในการให้การสนับสนุนจากธนาคารแม่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป โดย KS ยังคงเป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อ
KBank
เนื่องจากการถือหุ้นเกือบทั้งหมดโดยบริษัทแม่
อีกทั้งยังใช้ชื่อที่ใกล้เคียง มีการควบคุมจากธนาคารแม่และยังมีบทบาทที่สำคัญในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจรูปแบบธนาคารครบวงจร
(universal
banking strategy) ของธนาคารแม่ การที่อันดับเครดิตอยู่ต่ำกว่า KBank อยู่ 1
อันดับเนื่องจากบริษัทลูกมีขนาดเล็กและมีผลกำไรที่คิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับผลกำไรของกลุ่ม
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ KBank จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์ที่มีต่อโครงสร้างทางเครดิตของ KBank เมื่อเทียบกับอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารอื่นในประเทศไทยอาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของ
KBank
ได้
การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ
KBank
จะส่งผลในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ในขณะที่การปรับเพิ่มอันดับเครดิตของธนาคารหรือความแข็งแรงในด้านการระดมทุนและสภาพคล่องของธนาคารที่สูงขึ้นในมุมมองของฟิทช์ก็อาจส่งผลให้อันดับเครดิตระยะสั้นได้รับการปรับเพิ่มอันดับได้
สำหรับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank นั้นมีโอกาสจำกัดโดยพิจารณาจากระดับความแข็งแกร่งของธนาคารของตัวธนาคารในระดับปัจจุบันและเมื่อเทียบเคียงกับธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นในประเทศ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ
KBank
อาจส่งผลในทิศทางเดียวกับต่ออันดับเครดิตระยะยาวและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร
อันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารอาจถูกปรับลดอันดับเป็น 'AA (tha)’ ได้หากระดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารถูกปรับลดอันดับลงอีก
หรือฟิทช์มีความเห็นว่าโครงสร้างเครดิตของธนาคารปรับตัวอ่อนลงเมื่อพิจารณาเทียบกับสถาบันการเงินอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ
KBank
อาจได้รับการปรับอันดับกลับไปที่
'bbb+’
หากอัตราส่วนแสดงฐานะทางการเงินที่สำคัญอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่าซึ่งดำเนินธุรกิจในสภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในระดับเดียวกัน
(ซึ่งคือในระดับ 'bbb’) ซึ่งรวมถึงการคงอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPL)
ที่ต่ำกว่า
3%
ในขณะที่มีระดับสำรองหนี้สูญและระดับของเงินกองทุนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เช่น
ระดับของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (common-equity
Tier-1) อยู่ในระดับที่สูงกว่า
16%
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษาคุณภาพสินทรัพย์ในระดับที่ดียิ่งขึ้นนั้นจะช่วยสนับสนุนอัตรากำไรและส่งผลให้การสะสมทุนดีขึ้นและมีระดับเงินกองทุนที่สูงขึ้น
ฟิทช์มองว่าระดับผลกำไรของธนาคารอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับอันดับเครดิตและระดับความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจที่ยอมรับได้ของธนาคารในปัจจุบัน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การที่ระดับเงินกองทุนของธนาคารลดลงจนไม่เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากคุณภาพของสินทรัพย์ที่อ่อนตัวอาจส่งผลให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินถูกปรับลดอันดับลงเป็น
'bbb-'
เช่น
ระดับของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของลดลงต่ำกว่าระดับ 13%
ในขณะที่ระดับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงกว่า 6%
และสำรองหนี้สูญที่ต่ำกว่า 120% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า
ซึ่งกรณีดังกล่าวก็จะสะท้อนในระดับกำไรที่ต่ำกว่าระดับที่ฟิทช์คาดหวังในกรณีฐาน
โดยปัจจัยเหล่านี้
ฟิทช์ใช้เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มธนาคารที่มีขนาดใหญ่ของประเทศ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
ฟิทช์อาจต้องทบทวนการประเมินอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ
KBank
ใหม่
หากมีการเปลี่ยนแปลงในความสามารถหรือโอกาสของรัฐบาลในการให้การสนับสนุนแก่ธนาคารพาณิชย์
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากฟิทช์พิจารณาแล้วเห็นว่าโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนต่อธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
(ซึ่งรวมถึง KBank)
มีเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามฟิทช์คิดว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะกลาง สำหรับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของประเทศไทยที่ปัจจุบันอันดับเครดิตอยู่ที่
'BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
นั้นอาจแสดงถึงความสามารถในการสนับสนุนธนาคาร (ซึ่งรวมถึง KBank) ที่สูงขึ้น
แต่ต้องพิจารณาภายใต้เงื่อนไขที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารของรัฐบาลจะต้องไม่ลดลง
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ
KBank
จะได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มอันดับเครดิตอ้างอิง
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ KBank จะได้รับผลกระทบจากการปรับลดอันดับเครดิตอ้างอิง
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
บริษัทร่วมและบริษัทย่อย
การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตของธนาคารแม่น่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศของ
KS
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
ฟิทช์อาจทำการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของ
KS
หาก
KBank
แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการให้การสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากระดับที่ฟิทช์ประเมินในปัจจุบัน
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหากพิจารณาว่า KS มีมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นต่อการดำเนินงานของธนาคาร
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
ความสามารถในการให้การสนับสนุนของ
KBank
หรือโอกาสที่
KBank
จะให้การสนับสนุน
KS
ที่ลดลงจะส่งผลลบต่ออันดับเครดิตของ
KS
เช่น
หากมีการลดการถือหุ้นในบริษัทลูกอย่างมากหรือมีการลดลงของการให้การสนับสนุนด้านการเงิน
ด้านการดำเนินธุรกิจ
หรือระดับความใกล้ชิดหรือความเชื่อมโยงในด้านการตลาดและการบริหารงานที่ลดลง
อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
KBank:
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ปรับลดอันดับเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น ปรับลดอันดับเป็น 'F3’ จาก 'F2’อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน ปรับลดอันดับเป็น 'bbb’ จาก 'bbb+’อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ '2’อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ 'BBB-’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)’อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการหุ้นกู้ Euro Medium-Term Note ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับลดอันดับเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ปรับลดอันดับเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’อันดับเครดิตสากลระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (ตามเกณฑ์บาเซล 3) ปรับลดอันดับเป็น 'BB+’ จาก 'BBB’ และยกเลิกสถานะอันดับเครดิตที่เป็นอันดับเครดิตที่อยู่ระหว่างการทบทวนที่เกิดจากการประกาศใช้หลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับใหม่ (Under Criteria Observation)อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (ตามเกณฑ์บาเซล 3) ปรับลดอันดับเป็น 'AA-(tha)’ จาก 'AA(tha)’
KS:
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)’