มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู้ภัย COVID-19 ออกมาตรการผ่อนชำระค่าเรียน ค่าหอพัก พร้อมวางระบบไอทีรองรับ e-Learning และ Work from Home ในวิกฤติเราต้องไปต่อ

ข่าวทั่วไป Friday April 3, 2020 14:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกมาตรการช่วยเหลือให้นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ขอขยายระยะเวลา หรือผ่อนชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา รวมถึงค่าหอพักได้ พร้อมทั้งปรับการเรียนการสอนให้เป็นระบบออนไลน์ และดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับนักศึกษาและบุคลากร ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ให้นักศึกษาสามารถแจ้งความประสงค์ขอขยายระยะเวลา หรือขอผ่อนชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา รวมถึงค่าหอพักได้ตั้งแต่ภาคเรียนฤดูร้อน (2562) นี้เป็นต้นไป โดยครอบคลุมถึงนักศึกษาใหม่ที่กำลังจะเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2563 เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้นักศึกษาสามารถศึกษาต่อได้จนสำเร็จการศึกษาแม้อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่คับขันจัดหาโปรแกรมสำหรับการสอนและการประชุมออนไลน์ ได้แก่ โปรแกรม Zoom แบบไม่จำกัดผู้ใช้ (Unlimited Users) และโปรแกรม Microsoft Team สำหรับนักศึกษาและบุคลากรให้สามารถเรียนและทำงานได้อย่างต่อเนื่องจากที่สถานที่ต่าง ๆ เพิ่ม Zoom Pro ให้อาจารย์และบุคลากรเข้าใช้งาน 3,000 licenses ผ่านบัญชีอีเมล @cmu.ac.th ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยใช้แนวปฏิบัติ Work from Home เพื่อสนับสนุนมาตรการ Social Distancingหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดให้บริการสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา แต่เพิ่มการควบคุมโอกาสติดเชื้อด้วยการจำกัดการเข้า–ออกทางเดียว การคัดกรองโรคด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และทำความสะอาดอาคารและอุปกรณ์ภายในด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น และสำหรับร้านอาหารภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจำหน่ายอาหารเฉพาะแบบนำกลับไปรับประทานเท่านั้นตั้งชุดเฉพาะกิจเตรียมความพร้อมหากเกิดการระบาดของ COVID-19 ในระยะที่ 3 จำนวน 2 ชุด ได้แก่ คณะทำงานคัดกรองนักศึกษาและบุคลากรเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 และคณะทำงานปฏิบัติการดูแลนักศึกษาและบุคลากรที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 พร้อมทั้งจัดเตรียมพื้นที่กักตัวสำหรับกลุ่มเสี่ยงปานกลาง (Intermediate Risk) และกลุ่มเสี่ยงสูง (High Risk) ทั้งยังจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operating Center; EOC) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้นเพื่อให้มาตรการต่าง ๆ สามารถดำเนินการไปได้ด้วยความรวดเร็ว นอกจากนั้น ภาคส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังได้จับมือร่วมสู้ภัย COVID-19 ครั้งนี้ โดยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศูนย์ศรีพัฒน์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ได้แยกคลินิกคัดกรอง COVID-19 (PUI Clinic) สำหรับผู้ป่วยที่ต้องสงสัยออกจากจากคลินิกทั่วไป จัดเตรียมหอผู้ป่วย และห้องแยกเฉพาะความดันลบ (Negative Pressure Room) สำหรับผู้ติดเชื้อ COVID-19 ไว้โดยเฉพาะ ในส่วนของคณะพยาบาลศาสตร์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการช่วยคัดกรองผู้ป่วย คณะเภสัชศาสตร์เป็นกำลังหลักในการผลิตแอลกอฮอล์เจล และแอลกอฮอล์ชนิดน้ำ 70% เพื่อให้ส่วนงานในมหาวิทยาลัยนำไปใช้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ได้จัดสถานที่สำหรับจัดเก็บแอลกอฮอล์ 95% และดำเนินการจัดส่งให้คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตรนำไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์เจล และแอลกอฮอล์ชนิดน้ำ 70% และคณะสาธารณสุขศาสตร์ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาได้พัฒนาแอปพลิเคชันแบบคัดกรองตนเองเบื้องต้น 3 ภาษา เพื่อประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้สงสัยที่จะติดเชื้อ COVID-19 พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวของแต่ละระดับความเสี่ยง โดยแอปพลิเคชั่นนี้มีผู้ใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และได้ขยายผลไปใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย รวมถึงพัฒนาแบบบันทึกสุขภาพ COVID-19 ภาษาไทย อังกฤษ จีน ติดตามผู้เดินทางจากประเทศเฝ้าระวัง 14 วัน หากมีอาการเข้าข่าย โปรแกรมจะเตือนให้ทราบทันที พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวและพบแพทย์ ช่วยลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ ปัจจุบันมีการนำไปใช้ติดตามคนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน รวมทั้งส่วนกลางนำไปใช้ติดตามผู้เดินทางที่ลงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ เป็นต้น สามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19 จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ที่เว็บไซต์ www.cmu.ac.th เฟซบุ๊ค cmuofficial และไลน์ @cmuthailand

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ